WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

GOV 5

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ .. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ .. 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (...) เสนอ ดังนี้

          1. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ .. 2564 และเห็นชอบข้อเสนอแนะของ ... โดยให้รัฐมนตรีหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และจังหวัดที่มีประเด็นสมควรปรับปรุงแก้ไขรับข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการ พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อ ... คณะต่างๆ ต่อไป

          2. รับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ... ประจำปีงบประมาณ .. 2564 และให้คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ... ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

           1. ... ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ .. 2564 ซึ่ง ... ได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการในลักษณะของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)1 โดยแบ่งเป็น (1) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) และ (2) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการตามประเด็นการตรวจสอบหลัก รวม 8 ประเด็นหลัก เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงมาตรการของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการและแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

EXIM One 720x90 C J

 

                 1.1 รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) เป็นข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบสำคัญที่เป็นข้อจำกัด/ปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการแก้ไขภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่ง ... ได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีข้อสั่งการให้แจ้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้

 

เรื่องที่ 1 การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา Phuket Smart City เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ กรณีที่มีการเปิดประเทศและนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต

ข้อเสนอแนะ เช่น

 

ผลการดำเนินการ

การดำเนินการตามแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 ในระยะที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ควรพิจารณาให้ความสำคัญต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยวและบริการเป็นอันดับแรก และพิจารณาแนวทางการให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19

 

สธ. ดำเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว

เรื่องที่ 2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจกรณีกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวและกลุ่ม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่รอดและการเติบโตของ SMEs โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย และเป็นการเรียกความเชื่อมั่นในด้านการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ของประเทศในภาพรวม

ข้อเสนอแนะ เช่น

 

ผลการดำเนินการ

กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณากำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดการชำระค่าเช่าอาคารสถานที่ให้กับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเปิดให้บริการหรือประกอบธุรกิจได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

 

กค. โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการผ่านการชำระภาษีเงินได้หัก ที่จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยกรณีที่ผู้เช่าชำระภาษีเงินได้ผ่านระบบดังกล่าวจะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ที่จ่าย จากเดิมอัตราร้อยละ 5 หรือร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2

 

GC 720x100

 

                  1.2 รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการตามประเด็นการตรวจสอบหลัก ซึ่งมีความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561-2580) สรุปได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะ เช่น

 

ผลการดำเนินการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

   

ประเด็นการตรวจสอบที่ 1 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

   

1.1 เร่งผลักดันให้เกิดการบูรณาการฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและปรับปรุงช่องทางบริการการเดินทางเข้าประเทศให้สะดวกรวดเร็วโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น TAGTHAi ในการให้ข้อมูลการท่องเที่ยว โดยบูรณาการและการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างชัดเจน กำหนดแนวทางในการพลิกโฉมการท่องเที่ยวโดยยึดหลัก Bio-Circular-Green Economy (BCG) ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)

1.2 กำหนดมาตรการทางการเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อ ต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น

 

กก. กค.

1.3 ปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมประเภทของโรงแรมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน และการขอใบอนุญาตประกอบกิจการให้ครอบคลุมกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อให้ความสามารถขอรับมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ได้

 

กระทรวงมหาดไทย (มท.)

1.4 วางแผนการร่วมมือแบบบูรณาการในการเตรียมแรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

 

กก. กระทรวงแรงงาน (รง.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

1.5 ยกระดับความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวให้มากขึ้น โดยการดำเนินการและประสานกับตำรวจท่องเที่ยว

 

กก.

1.6 ศึกษารูปแบบโมเดลของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ในการพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานการสร้างสมดุลและสานพลังระหว่างภาคส่วนต่างๆ การสร้างนวัตกรรมในเรื่องของการบริหารจัดการของพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวและการบริการประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงหรือสภาวะวิกฤตในอนาคต

 

มท.

ประเด็นการตรวจสอบที่ 2 การขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (OTOP/SMEs)

2.1 ให้หน่วยงานที่มีภารกิจหลักในแต่ละด้านเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมตัวชี้วัดและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมากำหนดผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน เช่น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจด้านการบริการ ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และจัดลำดับความสำคัญของอุตสาหกรรม S-Curve กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดเกี่ยวกับด้านรายรับที่สามารถวัดผลลัพธ์เรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจฐานรากถึงรายได้ของคนในพื้นที่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นสร้างรายได้ให้กับประชาชนเท่าใด รวมถึงประสานการทำงานเพื่อให้มีข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์พฤติกรรมและกำลังซื้อการจับจ่ายใช้สอยในระดับพื้นที่จากระบบ payment system ที่ใช้ในการชำระสินค้า หรือการทำรายการต่างๆ ผ่าน application

 

กค. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

2.2 ปรับกลไกและบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยเป็นเจ้าภาพหลักในการหารือร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับหมู่บ้านและตำบลให้เป็นรูปธรรม รวมถึงการปรับกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระดับพื้นที่

 

มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

2.3 ศึกษาและวางแผนการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดสินค้าส่งออกและสนับสนุนภาคบริการที่มีศักยภาพและโดดเด่นให้สามารถขยายตัวในตลาดต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง

 

พณ.

2.4 จัดทำแผนพัฒนาการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งศึกษา ออกแบบระบบข้อมูลและสร้าง application ที่ใช้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่เป้าหมาย

 

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา platform กลางที่ใช้ในการซื้อขายสินค้า

 

ดศ.

2.6 สร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ดังนี้

          2.6.1 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ขยายผล OTOP โดยให้มีการคัดเลือกพื้นที่ในการจะส่งเสริมธุรกิจด้านการบริการสุขภาพทำเป็น Sandbox ของการพัฒนาในเชิงรูปแบบร่วมกันระหว่าง Area และ Function และให้ท้องถิ่นสามารถเสนอแนะความต้องการของชุมชน รวมทั้งมีบทบาทเป็นเจ้าภาพที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด โดยการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ให้เป็น One plan อย่างแท้จริง

 

มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

          2.6.2 สนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) ให้กับ กอ.นตผ. โดยเน้นภารกิจที่เชื่อมโยงกับโครงการ OTOP รวมถึงส่งเสริมการใช้สินค้า บริการ หรือท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

มท. (กรมการพัฒนาชุมชน)

          2.6.3 กำหนดแนวทางในการพัฒนา SMEs ที่จะเชื่อมโยงไปกับอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ โดยจัดทำเป็นโครงการนำร่องภายใน 1-2 ปี เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรโดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านสุขภาพและการท่องเที่ยวในพื้นที่

 

สสว.

ประเด็นการตรวจสอบที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เพื่อเตรียมไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ

3.1 กำหนดกลไกที่สร้างความเข้าใจในความหมายและเป้าหมายเรื่องการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อเตรียมไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ตรงกัน และให้มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) โดยร่วมกันกำหนดและแผนในลักษณะการบูรณาการเพื่อกำนหดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

สำนักงบประมาณ (สงป.) สศช.

3.2 กำหนดกลไกและวิธีการทำงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรร่วมกันอย่างบูรณการทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่

 

กษ. สงป. สศช. สำนักงาน ...

3.3 สนับสนุนการพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One) ให้เป็นฐานข้อมูลหลักของเกษตรกร

 

กษ. พณ.

3.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิตเพื่อให้เป็นกรณีศึกษา

   

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

   

ประเด็นการตรวจสอบที่ 4 การพัฒนาศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4.1 กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักในระดับนโยบายที่ดูแลในเชิงบูรณาการ ดำเนินการกำหนดนิยามและขอบเขตของการพัฒนากำหนดมาตรฐานของเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ กำกับ ควบคุมความเชื่อมโยงและความสอดคล้องการพัฒนาในระดับพื้นที่กับระดับประเทศ และปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สนับสนุนต่อการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

 

ดศ. [สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)] มท.

4.2 กำกับให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นเจ้าภาพหลักในระดับพื้นที่ร่วมกับ อปท. อื่นๆ ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขนาดใหญ่

 

มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)

4.3 สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะให้แก้ อปท.

 

กระทรวงการอุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

4.4 กำหนดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนให้ความร่วมมือสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

กค.(สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) สำนักงาน ... [คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.)]

4.5 ดำนเนิการจำกัดพื้นที่ทดลอง (Sandbox) ในจังหวัดภูเก็ตเพื่อทดลองให้ อปท. จัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน City Data Platform รวมทั้งการทดลองปลดล็อกในการเข้าถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ

 

ดส. [สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)] มท.

4.6 จัดสรรงบประมาณการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ลงสู่พื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจนและตรงกับความต้องการของพื้นที่ โดยจัดสรรงบประมาณการพัฒนาเมืองให้กับจังหวัด และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน

 

สงป.

4.7 ปรับแผนดำเนินการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดการขับเคลื่อนตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 6 พื้นที่ และเมืองน่าอยู่อัจริยะ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

ดศ. มท. สศช.

ประเด็นการตรวจสอบที่ 5 การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

5.1 กำหนดนโยบายในการส่งเสริมกลุ่มเปราะบางและกลุ่มด้อยโอกาสให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาว และการดำเนินงานโครงการควรมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยน และช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงวิกฤต/ฉุกเฉิน

 

กค. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

มท. รง.

5.2 กำหนดบทบาทและตัวชี้วัด (KPI) ในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือและลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน รวมทั้งออกแบบนโยบายการจัดบริการสาธารณะทางสังคมและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

 

กค. พม. มท.

5.3 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน และสามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก

 

ดศ.

5.4 จัดช่องทางในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้ชุมชนเป็นผู้กระจายข่าวสาร และควรมีกลไกในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐที่เป็นเอกภาพ

 

กค. พม. มท. รง. (สำนักงานประกันสังคม) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สธ. สศช.

5.5 กำหนดบทบาทและตัวชี้วัดของกลไกระดับพื้นที่ให้ชัดเจนพร้อมทั้งสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการทำงานและส่งเสริมภาคเอกชน ชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทร่วมทำงานกับภาครัฐในพื้นที่ให้มากขึ้น

 

พม. มท. ศธ. สธ.

5.6 พัฒนาระบบงบประมาณที่ยืดหยุ่น ให้สามารถเบิกจ่ายได้อย่างทันท่วงทีในช่วงวิกฤต และพัฒนารูปแบบการระดมทุนและการดำเนินงานบริการสาธารณะทางสังคมรูปแบบใหม่ๆ

 

กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป.

5.7 ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบเพื่อการช่วยเหลือที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและไม่เกิดการตกหล่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและเตรียมความพร้อมให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง

 

พม. ดศ. มท. รง. ศธ.

5.8 ทบทวนกฎระเบียบให้เอื้อตอ่การดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

 

กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

   

ประเด็นการตรวจสอบที่ 6 การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

6.1 บูรณการและจัดทำแผนโดยมีเป้าหมายสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งในระดับประเทศ หน่วยงาน และระดับพื้นที่ และเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561

 

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

6.2 จัดทำข้อมูลและพัฒนาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลเรื่องการจัดการน้ำระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล

 

อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ) สทนช.

6.3 เชื่อมโยงเป้าหมายเดียวกันในการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ความเสี่ยงสูง (Area base) รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจและความมีส่วนร่วมของโครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่ประชาชนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมและให้ความร่วมมือกับภาครัฐ

 

อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ)

กษ. (กรมชลประทาน)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

(กรมทรัพยากรน้ำ) สทนช.

6.4 ขยายผลการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่ได้ผลดีเป็นแนวทางให้ชุมชนต่างๆ นำไปปรับใช้กับบริบทในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสมและบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

กษ. (กรมชลประทาน)

ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ) สทนช.

6.5 กำหนดกระบวนการถ่ายโอนและรับโอนภารกิจด้านน้ำจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ตลอดจนการบำรุงรักษาแหล่งน้ำ

 

สปน. (คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

   

ประเด็นการตรวจสอบที่ 7 ระบบการบริหารด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)

7.1 กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนให้ทุกหน่วยงานภาครัฐเริ่มจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล โดยอาจร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นเพื่อเร่งให้เกิดการขยายผล รวมถึงมีการติดตตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคเพื่อสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

7.2 จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) แบบสมดุล เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ

   

7.3 ออกแบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) โดยกำหนด Data Classification หรือระดับชั้นความลับ เพื่อช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลและการกำกับข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำชุดข้อมูลมาจัดทำเป็นข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

   

7.4 ถอดบทเรียนองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ นำไปเป็นแนวทางพัฒนาองค์กรต่อไป

   

7.5 พัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) และระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลได้ตลอดทั้งวงจรของการบริหารแผนงาน/โครงการ การใช้โครงสร้างของรหัสเดียวกัน เพื่อให้สามารถอ้างอิงข้อมูลร่วมกันได้ การจัดทำ Dashboard วิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลบูรรการร่วมกับส่วนราชการอื่น เช่น หน่วยงานเจ้าภาพงบประมาณแผนงานของการบูรณาการ

 

กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป. สศช.

7.6 เร่งผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำข้อมูลหลักของหน่วยงาน (Master Data)

 

ดศ. สำนักงาน ... สพร.

7.7 เร่งสร้างและรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมและพัฒนาทักษะ (upskill) และสร้างทักษะใหม่ (reskill) ให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อให้มีศักยภาพในการบริหารและปฏิบัติงานด้านดิจิทัล

 

อว. สำนักงาน .. สพร.

7.8 ศึกษารูปแบบโครงสร้างของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐของประเทศให้มีความเหมาะสม

 

สำนักงาน ... สพร.

7.9 ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลให้มีความชัดเจนเพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานและสอดคล้องกับสถานการณ์

 

ดศ. สคก. สำนักงาน ...

ประเด็นการตรวจสอบที่ 8 ประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลในการดำเนินงานสวัสดิการภาครัฐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ

8.1 จัดทำระบบการตรวจสอบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล Fraud Detection and Fraud Analytics โดยใช้ AI และ Machine Learning ทั้งในระดับบุคลและระดับหน่วยบริการ รวมทั้งให้ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเร่งดำเนินการเรื่องการพิสูจน์ตัวตนหรืออัตลักษณ์ของบุคคลก่อนเข้ารับบริการเพื่อการป้องกันการทุจริต

 

กค. (กรมบัญชีกลาง) รง. (สำนักงานประกันสังคม) สธ. [สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)]

8.2 หารือร่วมกับ ดศ. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์กลางภาครัฐ

 

สธ. (สปสช.)

8.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อให้การใช้งานระบบมีความเป็นศูนย์กลางช่วยลดรอยต่อของระบบงาน รวมถึงการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับ Disaster Recovery Site (DR Site) Site การใช้ Hardware Software และการสร้าง Database ควรคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและการต่อยอดในอนาคตตลอดจนต้นทุนในการจัดซื้อใบอนุญาต

 

รง. (สำนักงานประกันสังคม)

8.4 ยกระดับระบบสารสนเทศโดยจัดทำ Disaster Recovery Site (DR Site) เพื่อป้องกันปัญหาความเสียหายจากการสูญเสียข้อมูล

 

กค. (กรมบัญชีกลาง)

8.5 ทบทวนระยะเวลาเพื่อกำหนดรอบการประมวลข้อมูลสถานะของบุคคลในระบบฐานข้อมูลให้เร็วขึ้น รวมถึงให้ สธ. เป็นเจ้าภาพหลักหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ Big data (health information)

 

กค. (กรมบัญชีกลาง) รง. (สำนักงานประกันสังคม) สธ. (สปสช.)

 

TU720x100

 

          2. ... ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 และครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติรับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ... คณะต่างๆ ประจำปีงบประมาณ .. 2564 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สรุปได้ ดังนี้

                 2.1 ผลการประเมินตนเองของ ... .... คณะต่างๆ และ ... ประจำกระทรวง ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ (skill) 2) ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการ (knowledge) 3) การรายงานผลจากการตรวจสอบฯ (output) และ 4) การบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                          (1) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 1 ... มีผลการประเมินตนเองเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.87) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ .... คณะต่างๆ และ ... ประจำกระทรวงมีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.06) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด

                          (2) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 2 ... มีผลการประเมินตนเองเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.02) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ .... คณะต่างๆ และ ... ประจำกระทรวง ผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.14) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด

                          ผลการประเมินตนเองภาพรวมเฉลี่ย ปีงบประมาณ .. 2564 ครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ .. 2564 ครั้งที่ 1 โดยมีผลการประเมินเพิ่มขึ้นในด้านการรายงานผลจากการตรวจสอบ (output) และด้านการบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) เนื่องมาจากการประเมินครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาของการสรุปข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและประเมินผล และในปีงบประมาณ .. 2564 .ตป. ได้จัดทำผลการติดตาม ตรวจสอบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด้นสำคัญเร่งด่วนเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินตนเองในด้านการรายงานผลจากการตรวจสอบฯ (output) และด้านการบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) ที่เพิ่มขึ้น

                 2.2 ความเห็นและข้อเสนอแนะของ ... .... คณะต่างๆ และ ... ประจำกระทรวงงที่มีต่อแนวทางการตรวจสอบและกลไกการดำเนินงาน เช่น ควรมีการกำหนดประเด็นในการติดตามร่วมกัน (Joint Issues) ของ ... ประจำกระทรวง ในประเด็นที่คล้ายคลึงกันเพื่อนำไปสู่การบูรณการการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการประสานการทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ... ประจำกระทรวง และ .... คณะต่างๆ เพื่อให้การติดตตาม ตรวจสอบ และประเมินผลภาคราชการ บรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

                 2.3 ฝ่ายเลขานุการ ... ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ .. 2565 ซึ่ง ... ได้กำหนดให้ ... ประจำกระทรวงร่วมตรวจสอบในประเด็นการตรวจสอบย่อยตามห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ที่ .... กำหนด เพื่อให้การตรวจสอบมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน การจัดทำแผนการประชุมเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง .... และ ... ประจำกระทรวง

_____________________

1เป็นการบูรณาการการตรวจสอบระหว่างคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (....) คณะต่างๆ และ ... ประจำกระทรวง เพื่อให้การตรวจสอบมุ่งไปสู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ในประเด็นการตรวจสอบที่สำคัญ (agenda) นโยบายเร่งด่วน (hot issue) หรือนโยบายสำคัญ (flagship) ที่เชื่อมโยงกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งประเด็นสนับสนุนการฟื้นฟูประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนราชการต้องเร่งแก้ไขและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศต่อไป (post-COVID recovery)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3763

 Click Donate Support Web

sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!