สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 15 March 2022 22:41
- Hits: 5160
สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 11 ด้าน
นโยบายหลัก |
มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ |
|||||||||||||||||||||||||
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
1.1) กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 โดย แจกต้นกล้าให้แก่กำลังพลที่มาร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 1,000 ต้น และให้กำลังพลดังกล่าวรับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรในหัวข้อเรื่อง “ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ การพัฒนาที่ดิน” และเรื่อง “โครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับดิน” 1.2) โครงการวิทยากรส่งเสริมคุณธรรม Sustainability c Moral “ตามรอยพระราชา” สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากศาสตร์พระราชา โดย การอบรมพัฒนาวิทยากรจากแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศตามเส้นทางในหนังสือเดินทางตามรอยพระราชา จำนวน 30 คน 1.3) การประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 “41 ปี ด้วยพระเมตตาแห่งการศึกษาพัฒนาวิชาการ-จริยธรรม งานการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร” โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานการประชุมวิชาการฯ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และทรงบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาเด็กและเยาวชนหลังโควิด-19” 1.4) รางวัลพระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2563 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์เพื่อพระราชทานรางวัล แก่นักเรียน นักศึกษาซึ่งเรียนดี ประพฤติดี และผู้แทนสถานศึกษาที่จัดการศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานดีเด่นของแต่ละปีการศึกษาทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 342 คน |
|||||||||||||||||||||||||
2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
2.1) ผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ไทย-เกาหลี ในด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือทางทหาร และการสนับสนุนการฉีดวัคซีน 2.2) จัดตั้ง “ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน” เพื่อเฝ้าระวัง ผู้พ้นโทษไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ตามปกติ 2.3) ปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย โดยดำเนินการจับกุมคดียาเสพติดในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 72,270 คดี จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 293 ครั้ง และตรวจพบ การกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากร 1,509 คดี |
|||||||||||||||||||||||||
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม |
3.1) กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ประกอบด้วย (1) กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565 ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในต่างประเทศ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ (2) ผลิตสื่อสวดมนต์ข้ามปีเสริมสิริมงคลทั่วไป ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่รูปแบบ Web Application เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ได้อย่างทั่วถึง 3.2) กิจกรรมท่องเที่ยววัฒนธรรม ท่องเที่ยววิถีใหม่ ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนอัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในงาน “เที่ยวทั่วไทย สไตล์พรีเมี่ยม” ครั้งที่ 27 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วประเทศ และ (2) จัดทำแอปพลิเคชัน “เที่ยวเท่ๆ เสน่ห์เมืองไทย” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว พร้อมระบบการนำทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 3.3) ขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งรับรองโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 |
|||||||||||||||||||||||||
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก |
คำปราศรัยเนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี การเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำความพร้อมเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือและคงบทบาท “เข้มแข็ง สร้างสรรค์ และต่อเนื่อง” ภายใต้ 3 เสาหลัก* ของสหประชาชาติ และเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี 2573
|
|||||||||||||||||||||||||
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
|
|||||||||||||||||||||||||
6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญ สู่ภูมิภาค |
6.1) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) และในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) 10 จังหวัด (จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย ตราด ตาก นครพนม มุกดาหาร สงขลา สระแก้ว หนองคาย และนราธิวาส) 6.2) มอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย เช่น ขอนแก่น เมืองอัจฉริยะ และฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวน่าลงทุน |
|||||||||||||||||||||||||
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก |
7.1) อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาผ้าไทย เช่น ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ลายผ้าพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” โดยมีผลจากการจำหน่าย จำนวน 500 ล้านบาท 7.2) ขับเคลื่อนนโยบายการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การตรวจสอบข้อมูลเป้าหมายจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) จำนวน 983,316 คน (568,047 ครัวเรือน) โดยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลแล้ว จำนวน 566,678 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.76 |
|||||||||||||||||||||||||
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
8.1) ค้นหาและติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา “สพฐ. ห่วงใย ปักหมุด นำนักเรียนไทย กลับสู่ห้องเรียน” ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่ง 8.2) สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส “กศน. ปักหมุดบ้านคนพิการและผู้ด้อยโอกาส อายุ 18 ปีขึ้นไป” 12,649 คน ให้เข้าสู่ระบบการศึกษา 8.3) ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น Re-Skill, Up-Skill และ New-Skill แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน 38,500 คน |
|||||||||||||||||||||||||
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
9.1) ดำเนินโครงการบริการด้านสาธารณสุข ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ปี 2565 กรอบวงเงิน 31,662.91 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้สถานพยาบาลตรวจคัดกรอง และรักษาพยาบาลต่างๆ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับประชาชนทั่วไป 9.2) ดำเนินโครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โดยให้ได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 5,000 บาทต่อคน ซึ่งมีการโอนเงินแล้วทั้งสิ้น 35,781 ราย เป็นเงิน 178 ล้านบาท |
|||||||||||||||||||||||||
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน |
10.1) ดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ในช่วงปี 2560-2564 มีอุทยานแห่งชาติเข้าร่วมโครงการฯ 117 แห่ง โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 102 แห่ง 10.2) พัฒนาสวนสัตว์เพื่อความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เช่น (1) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการเรียนรู้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว และ (2) จัดทำแผนปฏิบัติการ Zoo New Norm after COVID-19 |
|||||||||||||||||||||||||
11) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม |
11.1) ดำเนินโครงการศาลทหารต้นแบบ ระยะที่ 3 โดยกำหนดขั้นตอนการบริหารจัดการคดีเพื่อสนับสนุนการพิจารณาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 11.2) ดำเนินโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องไกล่เกลี่ยสำเร็จ 3,019 เรื่อง |
2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน |
มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ |
|
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
1.1) กยศ. ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้แก้ผู้กู้ยืม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี 1.2) ดำเนินโครงการระบบชำระค่าผ่านทางด้วยเทคโนโลยี Europay Mastercard and Visa: EMV Contactless เพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวก ชีวิตสบาย แตะ-จ่าย ด้วยบัตรใบเดียว |
|
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
2.1) ดำเนินโครงการสร้างอาชีพใหม่หลังโควิด-19 เช่น (1) พี่สอนน้องคล่องธุรกิจ พิชิตฝัน (2) การขายของออนไลน์ (E-Commerce) และ (3) สร้างอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 2.2) ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ 47,932.75 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม 141,737.48 ล้านบาท |
|
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม |
3.1) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี 3.59 ล้านราย และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 96,626 ราย ในปีการผลิต 2564 3.2) จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 “กัญชานำไทยสมุนไพรสร้างชาติ” มีการนำเสนอศักยภาพสมุนไพรไทยพลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ นวัตกรรมการบริการและเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอบรมความรู้สมุนไพรต้านภัยโควิด-19 แจกต้นกล้าพันธุ์ไม้สมุนไพรและยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร |
|
4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
4.1) พัฒนาอาชีพภาคการท่องเที่ยว เปิดประตูสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะหรือกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ 21 คน แรงงานในภาคบริการและการท่องเที่ยว 39 คน และแรงงานในภาคการท่องเที่ยวสาขาพนักงานนวดไทย 10 คน 4.2) ดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs รอบที่ 2 เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก-กลางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 21,348 ราย คิดเป็นเม็ดเงินอุดหนุนตลอดโครงการ (2 เดือน) ประมาณ 1,028.08 ล้านบาท |
|
5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
ดำเนินโครงการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเพื่อการขยายธุรกิจสู่สากล (SME SCALE UP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยได้จัดทำฐานข้อมูลหน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษาภาคเอกชน/ศูนย์ความเชี่ยวชาญต่างๆ ในแต่ละสาขาการวิจัย จำนวน 58 หน่วยงาน และมีผู้ได้รับการต่อยอดการพัฒนาโดยการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวทางการพัฒนาต่างๆ ไปใช้ในธุรกิจแล้ว 101 กิจการ และคาดว่าเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 154.57 ล้านบาท |
|
6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรษที่ 21 |
6.1) สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล สื่อออนไลน์ ผ่านโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม และโครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย 6.2) ดำเนินโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด ซึ่งมีจำนวนผู้เรียนมากถึง 1.30 ล้านคน และมีผู้เรียนจบจนได้รับใบประกาศนียบัตรมากกว่า 1.10 ล้านใบ |
|
7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ |
ดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เช่น การจับกุม ยาบ้า 19.61 ล้านเม็ด ยาไอซ์ 604.2 กิโลกรัม และกัญชาแห้ง/กัญชาอัดแท่ง 8,400 กิโลกรัม |
|
8) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
8.1) ดำเนินโครงการ Digital Transcript ยกระดับอุดมศึกษาไทย สู่ยุคดิจิทัล “สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้” โดยลดงบประมาณในการออกเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบกระดาษ มีสถาบันอุดมศึกษาพร้อมให้บริการ 39 แห่ง 8.2) ดำเนินโครงการอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลปีใหม่ 2565 โดยให้บริการจุดพักรถ-พักคน บนถนนสายหลักและสายรอง 225 ศูนย์ทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน เพื่อลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน “ช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย” โดยทีมช่างพันธุ์ R อาชีวะจิตอาสาจาก 100 ศูนย์ Fix it Center ทั่วไทย ออกให้บริการซ่อมถึงบ้านฟรี |
|
9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
9.1) จัดการน้ำท่วมและอุทกภัย โดยดำเนินโครงการต่างๆ เช่น โครงการบรรเทาอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (ระยะที่ 1) และโครงการปรับปรุงคลองยม-น่าน (เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ต่อเนื่องสุโขทัย) 9.2) สนับสนุนวิจัยโครงการส่งน้ำและบำรุงท่อทองแดง เพิ่มปริมาณส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกชลประทานช่วงฤดูแล้ง โดยพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำชลประทาน |
_______________________
* 3 เสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่ ด้านสันติภาพและความมั่งคง ด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการพัฒนา
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มีนาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A3553