(ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 15 March 2022 21:51
- Hits: 3568
(ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ได้เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 (ครั้งที่ 155) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ในส่วนของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนที่ขอปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 (ครั้งที่ 155) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 |
แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนที่ขอปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 (ครั้งที่ 157) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 |
|
4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้จ่ายได้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ |
4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้จ่ายได้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ |
|
5. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามแนวทางดังนี้ |
|
|
4) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ หากระดับราคายังอยู่ในระดับวิกฤต จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ให้เริ่มดำเนินกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ระดับราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก และเริ่มดำเนินการกู้เงินเพื่อให้กองทุนฯ ไม่ขาดสภาพคล่อง | 4) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบหากระดับราคายังอยู่ในระดับวิกฤต จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ตามมาตรา 26 วรรคสอง หรือ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะ เมื่อใกล้วงเงินกู้ยืมเงินที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ให้เริ่มดำเนินการพิจารณา กลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ระดับราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก และเริ่มดำเนินการกู้เงินเพื่อให้กองทุนฯ ไม่ขาดสภาพคล่อง | |
5) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือ ติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หยุดการชดเชย |
ตัอข้อ 5) ออก- |
สาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความผันผวนจากสถานการณ์ความไม่สงบของต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงต้องรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ให้อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยจ่ายเงินชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยประมาณ 7,250 - 7,600 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นผู้กำกับดูแลในการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนเพื่อลดผลกระทบต่อการดำรงชีพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยสาเหตุของความผันผวนด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) โดยทบทวนหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
1.1 ทบทวนการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากเดิม ข้อ 4. “...การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562...” แก้ไขเป็น “...การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562...”
1.2 ทบทวนกรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ จากเดิม ข้อ 5 4) “...จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ให้เริ่มดำเนินกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต...” แก้ไขเป็น “...จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ตามมาตรา 26 วรรคสอง หรือวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะเมื่อใกล้วงเงินกู้ยืมเงินที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ให้เริ่มดำเนินการพิจารณากลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต...”
1.3 ทบทวนกรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ จากเดิม ข้อ 5 5) “...กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือ ติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหยุดการชดเชย...” แก้ไขเป็น ตัดข้อ 5) ออก
2. กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้เสนอ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก่อนหน่วยงานนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอแนะและให้ความเห็นว่า (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (แผนฯ) เป็นการปรับปรุงในส่วนของหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้หลักเกณฑ์และกลไกที่ใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความยืดหยุ่นในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของแผน ระดับที่ 3 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ประกอบกับเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบการทบทวนแผนฯ ตามขั้นตอนแล้ว จึงเห็นควรให้กระทรวงพลังงานเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับทราบแผนฯ ตามขั้นตอนของมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มีนาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A3547