WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV5 copy copy

ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้

          1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) .. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นการแก้ไขชื่อกฎหมายและความสอดคล้องกันของกฎหมายทั้งฉบับตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

          2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

          3. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา .. 2544 โดยเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา .. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา .. ….” และเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมในชั้นสอบสวน (เดิมคุ้มครองเพียงผู้เสียหายและจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาลเท่านั้น) ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดให้สามารถยื่นคำขอดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญาให้ครอบคลุมทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยที่ถูกควบคุมตั้งแต่ในชั้นสอบสวน และจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาล ให้ได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างสะดวก รวดเร็ว เท่าเทียมและเป็นธรรม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

 

เจนเนอราลี่

EXIM One 720x90 C J

 

          สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

          แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา .. 2544 โดยเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา .. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา . ....” และเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมในชั้นสอบสวน (เดิมคุ้มครองเพียงผู้เสียหายและจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาลเท่านั้น) ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงิน ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดให้สามารถยื่นคำขอดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้

          1. เพิ่มบทนิยามผู้ต้องหาหมายความว่า บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพิ่มการคุ้มครองผู้ต้องหา

          2. แก้ไขบทนิยามค่าทดแทน หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับเนื่องจากตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาและถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีเนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฯ เพิ่มการคุ้มครองผู้ต้องหาและขยายให้จำเลยที่ถูกควบคุมหรือขังในชั้นสอบสวนมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายด้วย

          3. แก้ไขเพิ่มเติมให้เมื่อมีการแจ้งสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาในการได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายแล้ว ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปล่อยตัวแจ้งเป็นหนังสือหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วบันทึกรายละเอียดการแจ้งนั้นไว้ในสำนวนคดีหรือทะเบียนประวัติซึ่งตนรับผิดชอบด้วย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญากำหนด

          4. ขยายการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายจาก 1 ปี เป็น 2 ปี และให้สามารถยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และให้มีระยะเวลาการยื่นคำขอ ดังนี้

                 4.1 ผู้เสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด

                 4.2 ผู้ต้องหาต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องหาทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ

                 4.3 จำเลยต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

          เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์ยื่นคำขอให้มากกว่าเดิมและนำระบบ e-Service มาสนับสนุนการบริการประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3333

 Click Donate Support Web

GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!