WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565

GOV 9

รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ..) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เสนอรายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ครั้งที่ 1/2565 (ศอตช. จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 358/2562 เรื่อง จัดตั้ง ศอตช. ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2562 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 213/2563 เรื่อง เพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 5 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศอตช. ดังนี้

 

คณะอนุกรรมการ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

1) คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ

 

ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันของ ศอตช. ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและสื่อสำนักข่าวออนไลน์ ทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวม 30 ครั้ง โดยทำการเผยแพร่ภาคภาษาอังกฤษไปยังหอการค้าไทย-ต่างประเทศ จำนวน 32 แห่งทั่วโลก และรายงานผลการดำเนินงานด้านป้องกันเชิงรุกในโครงการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 จำนวน 12 โครงการ งบประมาณ 38,740 ล้านบาท ใน 67 จังหวัด

2) คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

 

ได้ร่วมพิจารณาและกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) เป็น 2 ส่วน คือ การดำเนินการระยะสั้น ซึ่งกำหนดเป็นข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ .. 2565 และการดำเนินการระยะยาว กำหนดเป็นแผนการดำเนินการขับเคลื่อนฯ ในระยะ 3 หรือ 5 ปี โดยสำนักงาน ... จะหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันต่อไป และขับเคลื่อนการดำเนินการกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 โดยกำหนดให้หน่วยงานจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโครงการขนาดใหญ่ 500 ล้านบาทขึ้นไป*

3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ

 

ได้ดำเนินการติดตาม เร่งรัดและตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบูรณาการการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว ได้แก่

       (1) ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องร้องเรียน ศอตช. และติดตามคดีสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือสร้างความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จำนวน 6 คดี

       (2) ติดตามการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาฯ .. 2563

       (3) ติดตามการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

       (4) ติดตามการดำเนินมาตรการทางวินัย ปกครองและอาญาของหน่วยงานของรัฐในกรณีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)โดยข้อมูล วันที่ 30 กันยายน 2564 สำนักงาน ... รับรายงานจาก ศปท. ทุกหน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557-30 กันยายน 2564 รวมทั้งสิ้น 2,423 เรื่อง

       (5) ติดตามการดำเนินงานติดตามโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ วงเงิน 45,000 ล้านบาท

       (6) สนับสนุน ติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงาน ... ในการประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลกับกรมบัญชีกลาง เพื่อนำข้อมูลจากระบบความรับผิดทางละเมิดและแพ่งของกรมบัญชีกลาง มาเชื่อมโยงกับข้อมูลจากระบบรายงานข้อร้องเรียนฯ ของสำนักงาน ... (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานฯ)

4) คณะอนุกรรมการเสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม

 

ได้ดำเนินโครงการ "มีดีต้องแชร์" เพื่อรวบรวมเครื่องมือหรือกลไกในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตจากหน่วยงานรัฐเพื่อเป็นฐานข้อมูลเชื่อมโยงทั้งระบบ ภายใต้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ จากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และองค์การมหาชน จำนวน 312 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 2,375 เครื่องมือ

5) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศปท.

 

ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติราชการของ ศปท. ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น

       (1) ร่วมกันติดตาม เร่งรัดการดำเนินการทางวินัย ปกครอง อาญา ของหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับในกรณีมีเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานฯ

       (2) ขับเคลื่อนเรื่องการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของ ศปท. ทุกหน่วยงาน และหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับ ประจำปีงบประมาณ .. 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายรวม 406 หน่วยงาน

       (3) ติดตามและสนับสนุนมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านการทุจริตของ ศปท. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ปีงบประมาณ .. 2560-2562 และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านการทุจริต

 

          2. ศอตช. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นการเฉพาะ ซึ่งดำเนินงานได้ทันทีและตลอดเวลา ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2563-31 ธันวาคม 2564 รับเรื่องร้องเรียน จำนวน 1,050 เรื่อง (ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 426 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 624 เรื่อง)

          3. การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รวม 8 คำสั่ง จำนวน 400 ราย (ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 357 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 43 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีคำสั่ง จำนวน 13 ราย)

____________________

* สำนักงาน ... ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 กุมภาพันธ์ 2565) 1)รับทราบรายงานผลการวิเคราะห์ CPI ประจำปี .. 2564 2) รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการยกระดับคะแนน CPI และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป และ 3) ให้หน่วยงานที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ (รายการในงบลงทุน วงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง) จัดทำการประเมินตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงเชิงนโยบาย ส่งพร้อมคำขอไปยังสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อให้ สงป. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ตามคู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3319

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!