WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation)

GOV9

ขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงาน (รง.) ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กระทรวงแรงงานได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue (ADD) ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ซึ่งสำนักเลขาธิการ ADD ได้นำเสนอระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2564 นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (โปรแกรม Zoom) ซึ่งการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD เป็นการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกกระบวนการโคลัมโบ (ประเทศผู้ส่งแรงงาน) 12 ประเทศ กับกลุ่มประเทศรอบอ่าวอาหรับ (ประเทศผู้รับแรงงาน) รวม 7 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงาน ประเทศปลายทาง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไปทำงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต้นทางที่ส่งออกและประเทศปลายทางที่รับแรงงาน โดยภายหลังจากการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 6 เสร็จสิ้น สำนักงานเลขาธิการ ADD ได้นำส่งร่างปฏิญญาร่วมฯ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติมและรับรองร่างปฏิญญาร่วมฯ ก่อนนำไปใช้ปฏิบัติเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางผู้ส่งแรงงานและประเทศปลายทางผู้รับแรงงานต่อไป (ไม่มีการลงนามและไม่ได้กำหนดเวลาในการรับรอง) โดยร่างปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือที่ ADD จะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต สรุปได้ ดังนี้

          1. ความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว (2) การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (3) การแก้ไขปัญหาข้อท้าทายที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (โรคโควิด 19) (4) การบูรณาการเพศภาวะในนโยบายด้านการส่งเสริมการจ้างงาน และ (5) การส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ระหว่างภูมิภาค และระหว่างประเทศ

 

TU720x100sme 720x100

 

          2. การแสดงความชื่นชม/ยินดี (1) ความสำเร็จในการเป็นประธาน ADD ของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมารวมถึงการบริหารจัดการอย่างดียิ่งในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี (2) ยินดีต้อนรับและขอบคุณรัฐบาลปากีสถานที่เข้ารับตำแหน่งประธาน ADD วาระถัดไปเป็นเวลา 2 ปี (3) ความสำเร็จของประเทศสมาชิกที่พยายามลดผลกระทบจากโรคโควิด 19 ที่มีต่อแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว ผ่านการให้ความช่วยเหลือเชิงสังคมและเศรษฐกิจ การมีโครงการให้เข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพและวัคซีนป้องกันโรคโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และการให้ความช่วยเหลือด้านการย้ายคืนถิ่นและการบูรณาการกลับสู่สังคม

          3. ความตระหนัก/เน้นย้ำ/รำลึก (1) บทบาทที่สำคัญของสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ได้มีการศึกษาและให้คำจำกัดความเพิ่มเติมในหัวข้อและประเด็นสำคัญของผลลัพธ์จากการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (2) บทบาทที่สำคัญของนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัย ในการพิจารณาและจัดทำร่างงานวิจัยรายสาขารวมถึงอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง (3) บทบาทที่สำคัญของผู้แทนจากประเทศผู้สังเกตุการณ์ หน่วยงานในเครือรัฐบาล สหภาพระหว่างประเทศ ประชาสังคมระหว่างรัฐบาล หน่วยงานความร่วมมือระดับภูมิภาคที่นำโดยรัฐ องค์กรบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เยาวชน ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ (4) บทบาทที่สำคัญของหน้าที่ของความร่วมมือ ADD ในการพัฒนาผลลัพธ์ชั่วคราวของนโยบายการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาค และการสร้างผลกระทบทางบวกในเชิงเศรษฐกิจให้กับแรงงาน และครอบครัวของแรงงาน (5) การนำความริเริ่มร่วมกันใดๆ ที่ผ่านการรับรองโดยเอกฉันท์แล้วไปปฏิบัตินั้น ให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ และการตัดสินใจใดๆ จะกระทำโดยเคารพอำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิก (6) คุณค่าที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ADD ในการเป็นเวทีเจรจาประเด็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศต้นทางผู้ส่งแรงงานและประเทศปลายทางผู้รับแรงงาน อีกทั้ง อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และแนวการปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน

          4. ข้อเสนอแนะ 

                 1) เห็นควรให้มีการศึกษาและการประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ (1) การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว (2) การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (3) การแก้ไขปัญหาข้อท้าทายที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 (4) การบูรณาการเพศภาวะในนโยบายด้านการส่งเสริมการจ้างงาน (5) การส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ระหว่างภูมิภาค และระหว่างประเทศ

                 2) ขอให้คณะกรรมการที่ปรึกษาเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อเสนอแนะเหล่านี้

                 3) การแบ่งปันข้อมูล หลักฐาน แนวปฏิบัติที่ดี นวัตกรรม และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติไปปฏิบัติ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3312

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!