WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

GOV1 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          สาระสำคัญ

          พม. ได้ประชุมหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยที่ประชุมเห็นว่ารายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประโยชน์และสามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงานได้ ซึ่งขณะนี้ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1) แนวทางการค้นหาข้อเท็จจริง

       ควรมีการศึกษาเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรง ว่าเหตุใดจึงถูกกระทำ หรือถูกกระทำด้วยวิธีใด และศึกษาในตัวผู้กระทำว่ากระทำด้วยสาเหตุอะไร และวิธีการใด

 

- พม. ได้มีการสำรวจรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว .. 2550 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ประจำทุกปี ได้แก่ สาเหตุ/ปัจจัยของการกระทำความรุนแรง และประเภทของการกระทำความรุนแรง

2) แนวทางการช่วยเหลือ เยียวยา

       2.1 เมื่อพบเห็นเหตุการณ์กระทำความรุนแรงต่อเด็ก จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือ และควรตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็กด้วยการทำงานในเชิงรุก โดยใช้กระบวนการจากทีมสหวิชาชีพดำเนินการช่วยเหลือ เยียวยา

       2.2 ศูนย์ข้อมูลกลาง ควรมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวอย่างเป็นระบบ โดยอาจใช้ฐานจากศูนย์พึ่งได้ สธ.” เป็นแหล่งรวบรวมกลางควรปรับทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว โดยเน้นฐานชุมชนและการทำงานเชิงรุก และการคุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกกระทำ ต้องมีสถานที่รองรับ โดยอาศัยทีมสหวิชาชีพเข้าร่วมให้คำปรึกษาและเยียวยาอย่างทันท่วงที

 

- มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัว ในลักษณะสหวิชาชีพ ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ และพนักงานสอบสวน เข้าไปสืบเสาะข้อเท็จจริง และระงับเหตุคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาครอบครัว และกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้จัดให้มีแอปพลิเคชั่น (Application) “คุ้มครองเด็กและเว็บไซต์ https//cpis.dcy go.th เพื่อแจ้งข้อมูลผ่านระบบแจ้งเหตุ

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่ และทีมสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ให้มีบทบาทในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และประสานการดำเนินงานกับทีมสหวิชาชีพเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่

- พม. ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลครอบครัว (Family Big Data) โดยบูรณาการด้านข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์พึ่งได้ สธ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มท. สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลเยาวชนและครอบครัวมีการจัดตั้งและผลักดันการดำเนินงานของกลไกชุมชน คือ ศพค. ที่มีทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- การคุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกกระทำ พม. มีหน่วยงานบ้านพัก เด็กและครอบครัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดรองรับและให้การคุ้มครองผู้ถูกกระทำ โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว .. 2550 และทีมสหวิชาชีพ ช่วยเหลือเยียวยา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำ

3) แนวทางป้องกัน

       3.1 มิติครอบครัว การเตรียมความพร้อมครอบครัวรุ่นใหม่ ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มชุมชนคนยากจนในเมืองเพิ่มขึ้น ควรส่งเสริมให้ส่วนราชการหรือองค์กรรัฐวิสาหกิจมีเนอร์สเซอรี่เพื่อให้แม่มีโอกาสใกล้ชิดบุตร และส่งเสริมให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ฐานศูนย์พึ่งได้ สธ. (OSCC) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนและองค์กรภาคเอกชน และการพัฒนาระบบโปรแกรม MySis ให้คำปรึกษาด้านครอบครัว โดยใช้ Chatbot ในการสนทนาโต้ตอบ

 

- พม. มีการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวลดความรุนแรงในเด็กเล็ก ในพื้นที่เป้าหมาย 23 จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้ครอบครัวมีศักยภาพ สามารถเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กเล็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง และได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีการจัดสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือเนอร์สเซอรี่ และได้ประกาศเจตนารมณ์การเสริมพลังบทบาทหญิงและชายเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ

- การให้คำปรึกษามีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีระบบเพื่อนครอบครัว (Family line) ให้คำปรึกษา ทั้งนี้ พม. จะพัฒนาระบบให้คำปรึกษา Chatbot ในการสนทนาโต้ตอบต่อไป ทั้งนี้ พม. มีแผนปฏิบัติการด้านครอบครัว .. 2563 - 2565 คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพของครอบครัว ส่งเสริมให้ครอบครัวมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีสัมพันธภาพที่ดี และยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนลดพื้นที่เสี่ยง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัย สร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับครอบครัวผ่านการดำเนินการในโครงการ/กิจกรรมต่างๆ

       3.2 มิติทางชุมชน ผลักดันให้ท้องถิ่นมีแผนและกิจกรรมส่งเสริมครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ใช้ฐานชุมชนเป็นตัวตั้งในการป้องกัน เฝ้าระวังค้นหาครอบครัวโดยอาศัยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มทางสังคม และส่งเสริมให้มีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

 

- มท. มีการส่งเสริมให้ อปท. ดำเนินการหรือสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรักและความอบอุ่นในครอบครัว สนับสนุนการใช้ฐานชุมชนเป็นตัวตั้งในการป้องกัน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกในชุมชน รวมทั้งกรมกิจการเด็กและเยาวชนให้มีชุมชนคุ้มครองเด็กระดับตำบล จำนวน 1,762 แห่ง ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กในตำบล เพื่อทำให้เด็กที่ประสบปัญหา/เสี่ยง เข้าสู่สังคมร่วมกับเด็กในกลุ่มปกติได้ และ พม. ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง ศพค. ขึ้นทั่วประเทศ และสนับสนุนงบประมาณให้แก่ ศพค. รวมทั้งสื่อองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน ศพค. อย่างต่อเนื่องทุกปี

       3.3 มิติทางสังคม ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกระบวนการรณรงค์ลดความรุนแรง และจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและบุคคลในครอบครัวและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมควรร่วมมือกับสื่อสารมวลชน เพื่อเสนอสื่อที่ส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ มีพื้นที่การนำเสนอสาระเกี่ยวกับครอบครัวเพิ่มมาก

 

- พม. ได้ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทั้ง มท. โดย อปท. ได้ดำเนินการ/สนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรัก และความอบอุ่นในครอบครัว และ พม. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้เคยร่วมลงนาม MOU การดำเนินงานยุติความรุนแรงในครอบครัว

- พม. ได้สร้างความร่วมมือกับสื่อสารมวลชนในโครงการพลังบวกสาม และเชิญสื่อร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก/ครอบครัว/ผู้ปฏิบัติงาน/บุคคลดีเด่น ที่เป็นตัวแบบของครอบครัวและสังคม เป็นต้น

       3.4 มิติทางการศึกษาสถาบันการศึกษาต้องขับเคลื่อนการรณรงค์ลดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัว รวมถึงผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่รณรงค์ และส่งเสริมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตที่สามารถแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน

 

- พม. ร่วมกับคณะกรรมาธิการ สังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ และโรงเรียนต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “New Gen Say No คนรุ่นใหม่ไร้ความรุนแรงเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการรณรงค์ รวมถึงได้ผลิตสื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงเผยแพร่ในกิจกรรมดังกล่าว และ มท. ได้ให้สถานศึกษาในสังกัด อปท. ระดับปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย .. 2560

       3.5 มิติการสร้างต้นแบบที่ดี บูรณาการระหว่างครอบครัว สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ให้บุคคลเรียนรู้ถึงพิษภัยของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัว

 

- พม. ได้จัดกิจกรรมวันแห่งครอบครัวทั่วประเทศและกระตุ้นให้ เกิดครอบครัวไทยใจอาสา การยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัว/บุคคลให้เป็นต้นแบบ และมีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ในสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมี 3 ระดับคือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดระดับชาติ เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

       3.6 มิติทางกฎหมาย ควรทบทวนพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว .. 2562 การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก .. 2546 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว .. 2550 ให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบมากที่สุดเพื่อคุ้มครองผู้ถูกทำร้ายให้มากที่สุด และผลักดันให้สามีสามารถลาเลี้ยงดูบุตรหลังภรรยาคลอดบุตรตามมติคณะรัฐมนตรี (8 กุมภาพันธ์ 2553) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ .. 2555

 

- พม. อยู่ระหว่างปรับปรุงกฎหมายโดยมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเป็นรายหมวด รวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายออกเป็นสองฉบับ ซึ่งด้านหนึ่งเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง และอีกด้านเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว และประมวลกฎหมายอาญา มีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อคุ้มครองผู้ถูกทำร้ายให้มากที่สุด ส่วนการให้สามีลาเลี้ยงดูบุตรในปี 2563 พม. ร่วมกับองค์กรธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน รวม 17 องค์กร ประกาศเจตนารมณ์การเสริมพลังบทบาทหญิงและชายเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพให้หน่วยงานอนุญาตให้พนักงานชาย (บิดา) สามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลเลี้ยงดูบุตร 15 วัน โดยได้รับค่าจ้าง หรืออนุญาตให้ลาได้มากกว่านั้นตามนโยบายบริษัท

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3114

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!