WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564

GOV3 copy copy

ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

          1. อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

          2. อนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท

          3. อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ซึ่งต่อมา กษ. ขอแก้ไขข้อเสนอเป็นอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ในส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ดังนี้

                 3.1 แหล่งสินเชื่อ

                          จากเดิม ผู้ประกอบการต้องมีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนกับสถาบันการเงิน ตามรายชื่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน (เฉพาะกิจ) ที่สนับสนุนสินเชื่อภายใต้โครงการ

                          เป็น ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและหรือสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ กับสถาบันการเงินตามรายชื่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน (เฉพาะกิจ) ที่สนับสนุนสินเชื่อภายใต้โครงการ

                 3.2 ชดเชยดอกเบี้ย

                          จากเดิม รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท

                          เป็น รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท โดยชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง และหรือชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ที่ตั้งเดิมหรือที่ตั้งใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ

          4. อนุมัติเพิ่มองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายการยางธรรมชาติ (กนย.) 

 

BANPU 720x100

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กษ. รายงานว่า

          1. ในคราวประชุม กนย. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติในเรื่องต่างๆ ดังนี้

                 1.1 ขออนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

                          มติ กนย.

                          1.1.1 เห็นชอบในหลักการโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 - ธันวาคม 2565 ระยะเวลาในการชดเชยดอกเบี้ย ตามโครงการฯ 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติ แต่ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2565 กรอบวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 603.50 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในการซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

2. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการยาง (ยางแห้ง) และภาครัฐ

เป้าหมาย

ผู้ประกอบกิจการยางสามารถซื้อผลผลิตยางแห้งของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางไม่น้อยกว่า 350,000 ตัน (คิดเป็นราคาเฉลี่ยปี 2564 ยางแผ่นดิบราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม)

คุณสมบัติ

ของผู้ประกอบการ

1. เป็นผู้ประกอบกิจการแปรรูปยางแห้ง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง)

2. เป็นผู้ประกอบการซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่า ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว

3. เป็นผู้ประกอบการที่ยื่นความจำนงและสมัครเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์และรายละเอียดของโครงการและขอรับการสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยที่การยางแห่ง ประเทศไทย (กยท.)

ระยะเวลา

ดำเนินการ

1. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 - ธันวาคม 2565

2. ระยะเวลาในการสมัครเข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด

3. ระยะเวลาในการอนุมัติวงเงินที่เข้าโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ 1 ปี แต่ไม่เกินเดือนธันวาคม 2565

งบประมาณ

และแหล่งที่มา

1. แหล่งสินเชื่อ ผู้ประกอบการสามารถขอรับสินเชื่อได้ทุกสถาบันการเงิน แต่สถาบันการเงินนั้นจะต้องรับทราบและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ

2. รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน ไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท โดยให้ กยท. ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการ

3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเป็นเงิน 3.5 ล้านบาท ในการประชุมชี้แจงโครงการค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย การบริหารงาน การติดตาม การตรวจปริมาณยาง ให้คำปรึกษาแนะนำและประชาสัมพันธ์สำหรับ กยท. คณะกรรมการ คณะทำงานต่างๆ โดยใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ประเภทสินเชื่อ

1. ประเภทสินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี

2. อัตราดอกเบี้ย พิจารณาตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

การชดเชย

ดอกเบี้ย

1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต (รายเดือน) เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยราคาซื้อเฉลี่ยรายเดือนไม่ต่ำกว่าราคาประกาศเฉลี่ยของ กยท. และหากผู้เข้าร่วมโครงการไม่มีการซื้อยางก็จะไม่ได้รับการชดเชยในเดือนนั้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด

2. การตรวจสอบหลักฐานและเอกสารในการชดเชยดอกเบี้ย

       (1) หลักฐานการซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในแต่ละเดือน

       (2) เอกสารบัญชียางของกรมวิชาการเกษตร ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง .. 2542

       (3) เอกสารและหลักฐานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด

3. รัฐบาลจะสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ทั้งนี้ กยท. ขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้จ่ายจากรายจ่ายประจำปีตามรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยไม่รวมรายจ่ายชำระต้นเงินกู้และไม่รวมถึงการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยประมาณการค่าใช้จ่ายระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 600 ล้านบาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เสริมสร้างศักยภาพโครงสร้างอุตสาหกรรมยาง ทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพ มากขึ้น เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. ผู้ประกอบกิจการยาง มีสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ สามารถฟื้นฟูและมีความพร้อมในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศและต่างประเทศในสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลง

3. ภาคอุตสาหกรรมยางพาราภายในประเทศมีการขยายตัวมากขึ้นส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

 

                          1.1.2 มอบหมายให้ กษ. (กยท.) หารือกับกระทรวงการคลัง (กค.) และ สงป. เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ให้ชัดเจน ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

                          1.1.3 มอบหมายให้ กษ. (กยท.) แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการฯ และจัดทำรายละเอียดโครงการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

 

QIC 720x100

 

                 1.2 ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท

                          มติ กนย. โดยเห็นชอบการมอบหมายให้ กยท. ทำหน้าที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ (เดิมมอบหมายให้ กยท. ประสานขอความร่วมมือจากธนาคารของรัฐเพื่อเป็นหน่วยรับชดเชยดอกเบี้ย)

                 1.3 ขออนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์

                          มติ กนย.

                          1.3.1 เห็นชอบเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ได้แก่

                                   (1) ชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง และหรือชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ที่ตั้งเดิมหรือที่ตั้งใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ

                                   (2) ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและหรือสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์กับสถาบันการเงิน

                 1.4 ขออนุมัติเพิ่มองค์ประกอบใน กนย.

                          มติ กนย. เห็นชอบให้เพิ่มนายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เป็นกรรมการในองค์ประกอบ กนย

          2. กษ. (กนย.) ได้รายงานผลการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการตามมติ กนย. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ร่วมกับ กค. สงป. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสรุปได้ ดังนี้

 

มติ กนย.

ความเห็นที่ประชุม

กค.

สงป.

1. ขออนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

เห็นชอบในหลักการโครงการ และมอบหมายให้ กษ. (กยท.) หารือกับ กค. และ สงป. เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ให้ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และจัดทำรายละเอียดโครงการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

ไม่ขัดข้อง

ให้เป็นไปตาม

มติ กนย.

2. ขออนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ (ตามข้อ 1.3)

เห็นชอบเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ พร้อมมอบนโยบายให้ กษ. (กยท.) หารือกับ กค. ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ

ไม่ขัดข้อง

-

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2616

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!