WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

GOV 7

กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

          คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50

          2. เห็นชอบในหลักการต่อร่างข้อมมติและข้อตัดสินใจ 17 เรื่อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก

          3. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยร่วมอุปถัมภ์ (Co-sponsor) ข้อมติที่ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอย่างโดดเด่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ดังนี้ (1) Draft resolution on the Sound Management of Chemicals and Waste (2) Draft resolution for a Science-Policy Panel to support action on chemicals, waste and pollution (3) Draft resolution on Green recovery และ (4) Draft resolution on Circular Economy

          4. เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration) 

          5. อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Draft Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง (Draft Political Declaration) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

          สาระสำคัญ

         1. กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเสษ UNEP@50 จะดำเนินการบนพื้นฐานความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) ซึ่งขยายการบังคับใช้แผนถึง .. 2565 และหมุดหมายในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ตลอดจนแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          2. การประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50 ประเทศสมาชิกจะร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่

                 2.1 ข้อมติ (Resolution) และข้อตัดสินใจ (Decision) จำนวน 17 ข้อมมติ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในการสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีความท้าทาย และจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ซึ่งประเทศสมาชิกที่ยกร่างข้อมติ (Resolution) ได้ทาบทามให้ประเทศไทยร่วมอุปถัมภ์ข้อมติ (Co-sponsor) ที่สำคัญ ได้แก่

 

GC 720x100TU720x100

 

                          (1) ร่างข้อมติการจัดการมลพิษจากพลาสติกและการจัดการขยะทะเล 2 ข้อมติ ได้แก่ Draft resolution on an internationally legally binding instrument on plastic pollution โดยสาธารณรัฐรวันดาและสาธารณรัฐเปรู และ Draft resolution on an international legally binding instrument on marine plastic pollution โดยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร่างข้อมติทั้งสองฉบับมีวัตถุประสงค์เดียวกันในการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการเจรจา (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) เพื่อจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ ด้านการจัดการมลพิษจากพลาสติกและการจัดการขยะทะเลที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน โดยร่างข้อมติที่เสนอโดยสาธารณรัฐรวันดาและสาธารณรัฐเปรูมีเป้าหมายในการจัดการพลาสติกครอบคลุมทั้งวงจรชีวิต (Life Cycle Approach) ตระหนักถึงภาพรวมของมลพิษในสิ่งแวดล้อม และมีการระบุให้มีการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยี การเสริมสร้างสมรรถนะและการเงิน ซึ่งต่างจากร่างข้อมติที่เสนอโดยประเทศญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นเฉพาะขยะพลาสติกที่จะลงสู่ทะเล (Downstream Approach) โดยมิได้มีการกล่าวถึงการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา แต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ ประธานร่วม (Co-chair facilitators) ของกลุ่มการจัดการพลาสติกและการจัดการขยะทะเลอยู่ระหว่างการหารือกับผู้แทนสาธารณรัฐรวันดา สาธารณรัฐเปรู และญี่ปุ่น เพื่อรวมข้อมติทั้งสอง เป็นเอกสาร Consolidated Text ฉบับเดียวเพื่อใช้เป็นเอกสารพื้นฐานของการเจรจา

                          (2) ร่างข้อมติด้านการจัดการสารเคมี 2 ข้อมติ เสนอโดยสมาพันธรัฐสวิส ได้แก่ Draft resolution on the Sound Management of Chemicals and Waste ซึ่งเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนจัดทำและใช้ประโยชน์จากยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีระหว่างประเทศฉบับใหม่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างเหมาะสมภายหลังปี .. 2020 ตามแนวทางวัฏจักรชีวิต และการบริโภค และการผลิตอย่างยั่งยืน และ Draft resolution for a Science-Policy Panel to support action on chemicals, waste and pollution เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กับนโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสารเคมี ของเสีย และมลพิษ

                          (3) ร่างข้อมติ Draft resolution on Green recovery และ Draft resolution on Circular Economy เสนอโดยสาธารณรัฐเอริเทรียในนามกลุ่มแอฟริกัน ซึ่งเป็นข้อมติสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยในการขับเคลื่อน BCG Economy Model แบบองค์รวม ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญต่อการฟื้นฟูประเทศจากโควิด 19 ให้กลับมาเข้มแข็งและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์กับกลุ่มแอฟริกัน

                 2.2 ปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration of the United Nations Environment Assembly at its resumed fifth session “Strengthening Actions for Nature to Achieve The Sustainable Development Goals”) มีสาระสำคัญมุ่งเน้นการดำเนินงานร่วมกันเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเด็นต่างๆ อาทิ การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร การฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของดิน การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันมลพิษและการจัดการสารเคมี การจัดการมลพิษพลาสติก และขยะทะเล เป็นต้น

                 2.3 ปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration of the Special Session of the United Nations Environment Assembly to commemorate the fiftieth anniversary of the establishment of the United Nations Environment Programme) มีเนื้อหาเน้นย้ำถึงการให้คำมั่นที่จะเสริมสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับนโยบายและโครงการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้ทุกภาคส่วน โดยให้สอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 และให้การรับรองบทบาทของ UNEA ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมระดับโลก และเรียกร้องให้ UNEP ยกระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเด็นสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของข้อตกลง พหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2607

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!