WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย

GOV4 copy

แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 ของไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 6-15 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งในการประชุมฯ มีการนำเสนอ (1) รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 ระดับชาติ โดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 ของไทย (2) การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF และ (3) รายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 มิถุนายน 2564 และ 13 กรกฎาคม 2564) เห็นชอบรายงาน VNR ประจำปี 2564 และร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF ประจำปี .. 2021] ตามที่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญสรุป ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ/การดำเนินการที่สำคัญ

1. การนำเสนอรายงาน VNR ประจำปี 2564 ต่อที่ประชุม HLPF ของไทย

 

1.1 ไทยย้ำว่า ทั่วโลกต้องระดมความคิดเพื่อหาทางรับมือกับความเหลื่อมล้ำซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นสืบเนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล ความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความสมดุลของทุกสิ่งไม่เฉพาะแต่ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แต่รวมถึงการกระจายรายได้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม และความปลอดภัยสำหรับทุกคน ดังนั้น ไทยจึงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาของไทยมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันในรูปแบบของโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว

1.2 รายงานฯ มีสาระครอบคลุมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของไทยทั้ง 17 เป้าหมาย เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย และการลดความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำความสำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม SDGs อย่างบูรณาการโดยทุกภาคส่วนในประเทศ และความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมาย โดยนำเสนอตัวอย่างบทบาทของภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ เครือข่ายเยาวชน และประชาชนทั่วไปในการขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม

2. การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุม HLPF

 

2.1 ที่ประชุม HLPF รับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ (ไม่มีการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนสาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564) มีสาระสำคัญย้ำความมุ่งมั่นและความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศ ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ และ SGDs ที่มีการทบทวนเชิงลึก ในปี 2564 จำนวน 9 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 (ขจัดความยากจน) เป้าหมายที่ 2 (ขจัดความหิวโหย) เป้าหมายที่ 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) เป้าหมายที่ 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เป้าหมายที่ 16 (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง) และเป้าหมายที่ 17 (ภาคีเพื่อการพัฒนา) และย้ำความสำคัญของหลักการ/ประเด็นต่างๆ เช่น การไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการส่งเสริมความเข้มแข็งของสตรี ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา

2.2 ปฏิญญาฯ ระบุถ้อยคำ/ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ เช่น การแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาที่เป็นของตนเองในการเร่งรัดการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเท่าเทียม บทบาทของอาสาสมัครในการดำเนินการตาม SDGs ความท้าทายและความจำเป็นในการสนับสนุนประเทศรายได้ปานกลางในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ความสำคัญของความร่วมมือใต้-ใต้ และความร่วมมือไตรภาคี นอกจากนี้ ไทยสามารถผลักดันให้มีการบรรลุถ้อยคำเกี่ยวกับมิติด้านสาธารณสุขของ Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030 ตามหลักการกรุงเทพฯ* ในปฏิญญาฯ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

3. การรายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อน SDGs

 

- ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน SDGs กับภาคีเพื่อการพัฒนา ดังนี้

3.1 บทบาทของภาคเอกชน ภาคเอกชนเป็นภาคีเพื่อการพัฒนาที่มีศักยภาพอย่างยิ่งในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการดำเนินงานและการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและ SDGs จึงถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบรรลุ SDGs ของไทย

3.2 บทบาทอาสาสมัคร อาสาสมัครเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และการบรรลุ SDGs โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ และการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางในสังคม งานอาสาสมัครจึงควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการคุ้มครอง และพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล

3.3 การเสริมสร้างความตระหนัก ความท้าทายสำคัญในการขับเคลื่อน SDGs ของไทย คือ สาธารณชน รวมทั้งเยาวชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ SDGs ดังนั้น การให้ความรู้เรื่อง SDGs ผ่านช่องทางต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเอื้อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และการบรรลุ SDGs โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับประเด็นท้าทายของประเทศ และของโลก และมีความสนใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงและการขับเคลื่อนวาระสำคัญต่างๆ ในสังคม

4. แนวทางการขับเคลื่อน SDGs ของไทย

 

- ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 กพย. มีมติเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ในระยะต่อไป โดยให้ กต. ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 ของไทยในกรอบสหประชาชาติ ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการเผยแพร่รายงาน VNR ของไทย และผลการนำเสนอรายงาน VNR แก่ภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับ SDGs รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมและความรู้สึกการเป็นเจ้าของในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศและ SDGs โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการขจัดอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ในการขับเคลื่อน SDGs เช่น ความยากจนอันเกิดจากโครงสร้างทางสังคมที่เหลื่อมล้ำและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งดำเนินการเชิงรุกในการขับเคลื่อน SDGs ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคเอกชน อาสาสมัคร และเยาวชน ในการขับเคลื่อน SDGs มากขึ้น

_____________________________

*หลักการกรุงเทพฯ ว่าด้วยการดำเนินการด้านสาธารณสุขตามกรอบเซนไคเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ .. 2015 -2030” ได้รับการรองเพื่อเป็นแนวทางในการบูรณาการด้านสาธารณสุขในการวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติโดยที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการด้านสาธารณสุขตามกรอบเซนไคเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ .. 2015 - 2030 ที่กรุงเพทฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งไทยจัดขึ้นร่วมกับ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2606

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!