WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41

GOV 5

ผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41

          คณะรัฐมนตรีมีมติมีมติรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 24 พฤศจิกายน 2564 องค์การยูเนสโกสำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อกำหนดแผนงานและงบประมาณในการดำเนินงานขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) หรือยูเนสโก ระยะ 2 ปี รวมทั้งพิจารณากำหนดนโยบายต่างๆ ของยูเนสโก เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

          1. การรับรองร่างแผนยุทธศาสตร์ระยะกลาง ปี 2565 – 2572 และร่างโครงการและงบประมาณ ปี 2565 - 2568 โดยยุทธศาสตร์ของยูเนสโกเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการและข้ามสาขา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนา .. 2030 หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มประเทศแอฟริกา ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เยาวชน และกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงการพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก

 

ais 720x100

 

          2. ผลการประชุมคณะกรรมาธิการทั้ง 6 ด้าน ของยูเนสโก

 

คณะกรรมาธิการ

ผลการประชุม

ด้านการศึกษา

เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาการศึกษา เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิการศึกษาที่เท่าเทียมและครอบคลุม โดยคำนึงถึงกลุ่มชายขอบ1 และบริบทปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการศึกษา รวมถึงแผนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการหลักด้านการศึกษาในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 42 การเปิดตัวกรอบการทำงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโกสำหรับปี .. 2030 และการเสริมสร้างพลังคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นและแนวคิดสำหรับแก้ไขปัญหาในระดับโลกได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

ด้านวิทยาศาสตร์

(1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เกี่ยวกับการสนับสนุนประเทศสมาชิกในการสร้างความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัยและวิศวกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงฟื้นฟูผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (2) รับรองร่างข้อเสนอแนะว่าด้วยวิทยาการแบบเปิด เกี่ยวกับการส่งเสริมแนวคิดวัฒนธรรมของการเปิดกว้างในการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากขึ้น อีกทั้งยังคำนึงถึงความจำเป็นในการรับมือกับปัญหาที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนำไปสู่การสร้างชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว

ด้านสังคมศาสตร์

(1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาสังคมและมนุษยศาสตร์ เกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพของประเทศสมาชิกให้มีความก้าวหน้าด้านนโยบายและการปฏิบัติเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุม ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม การขจัดการเลือกปฏิบัติและการเหยียดเชื้อชาติในรูปแบบต่างๆ และ (2) รับรองร่างข้อเสนอแนะว่าด้วยจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางค่านิยม หลักการ และมาตรการเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมด้านจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และคาดว่าจะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของการกำหนดบรรทัดฐานทางจริยธรรมของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของ AI

ด้านวัฒนธรรม

เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาวัฒนธรรม เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางมรดกและวัฒนธรรม ส่งเสริมบทบาทขององค์กรทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อมรดกโลก ส่งเสริมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมบทบาทสถาบันการศึกษาและวัฒนธรรมในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมปฏิญญาสากลและอนุสัญญาหลายฉบับ

ด้านสื่อสารมวลชน

(1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาสื่อสารมวลชน เกี่ยวกับการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพของสื่อมวลชน ความปลอดภัยของนักข่าว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ (2) รับรองระเบียบฉบับปรับปรุงของโครงการนานาชาติ เพื่อพัฒนาการสื่อสาร เป็นการเพิ่มโอกาสให้สื่อในประเด็นด้านเสรีภาพ อิสรภาพ และความหลากหลาย รวมถึงตอบสนองต่อความท้าทายของสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ และ (3) รายงานผลการดำเนินการจากการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ และความมุ่งมั่นในการควบคุมศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านการเงินการบริหารและความร่วมมือ

(1) อนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี .. 2565 – 2566 จำนวน 1,447.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการด้านต่างๆ ของยูเนสโกที่สำคัญ เช่น ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และในส่วนของเงินค่าบำรุงสมาชิก ยูเนสโกย้ำประเทศสมาชิกเกี่ยวกับกำหนดการจ่ายเงินที่ตรงเวลาและเต็มจำนวน (ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี) โดยในช่วงปี 2022 - 2024 (.. 2565-2567) ยูเนสโกจะใช้อัตราค่าบำรุงสมาชิกใหม่อ้างอิงจากสหประชาชาติ โดยประเทศไทยจะจ่ายค่าสมาชิกจากเดิมร้อยละ 0.396 เป็น 0.475 ของงบประมาณยูเนสโก ทั้งนี้ การจ่ายไม่ครบหรือช้ากว่ากำหนดจะมีความเสี่ยงต่อสิทธิในการโหวตช่วงการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโกและการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและ (2) รับรองการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกในปี 2565 - 2566 ซึ่งประเทศไทยมี 2 รายการ ได้แก่ การเฉลิมฉลองวันครบรอบ 200 ปีชาตกาล พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

NHA720x100

 

          3. การเลือกตั้งต่างๆ ของยูเนสโก

                 3.1 การเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก วาระปี 2564 – 2568 เนื่องจากผู้อำนวยการใหญ่ฯ คนปัจจุบัน (นาง Audrey Azoulay) ครบวาระการดำรงตำแหน่งในปี 2564 ยูเนสโกจึงดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ฯ ซึ่งนาง Audrey Azoulay ได้ลงสมัครตำแหน่งดังกล่าวและเป็นผู้สมัครเพียงผู้เดียว และได้รับคะแนนเสียงจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศ จากสมาชิกทั้งหมด 58 ประเทศ ดังนั้น ที่ประชุมสมัยสามัญองค์การยูเนสโกครั้งนี้จึงได้มีมติรับรอง นาง Audrey Azoulay เป็นผู้อำนวยการใหญ่ องค์การยูเนสโก

                 3.2 การเลือกตั้งคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการนุษย์และชีวมณฑล วาระ 4 ปี (.. 2564 - 2568) ของกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก มีผู้สมัครจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (ถอนตัวภายหลัง) ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย โดยประเทศที่ได้รับเลือกคือ สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่น

________________________

1กลุ่มชายขอบหรือประชากรชายขอบ เช่น ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ ประชากรที่อาศัยอยู่ในสลัม ชาวนา ชาวไร่ชนบท แรงงานไร้ทักษะฝีมือ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม คนกลุ่มนี้ขาดอำนาจการต่อรอง ขาดการศึกษา ขาดเครื่องมือที่เข้าถึงอำนาจ และถูกกีดกันออกจากระบบการต่อรองอำนาจ โดยลักษณะของกลุ่มประชากรชายขอบอาจจะแตกต่างจากประชากรส่วนใหญ่ของสังคมในแง่ของชาติพันธุ์ ผิวพรรณ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคม

2เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2604

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!