WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น

GOV 3

สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐเนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสหกรรมประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือในภาคพลังงาน การส่งเลริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของทั้งสองประเทศ และข้อริเริ่ม Asia-Japan Investing for the Future Initiative (AJIF) ของประเทศญี่ปุ่น (คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 มกราคม 2565) เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น] ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น

                 1.1 ความร่วมมือด้านพลังงาน

 

ผลการหารือ

ฝ่ายไทย

 

ฝ่ายญี่ปุ่น

- กล่าวขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศไทยในด้านต่างๆ เช่น โครงการศึกษาการขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ภาคพลังงานของไทยซึ่งจะช่วยในการจัดทำแผนพลังงานชาติ รวมถึงความร่วมมือและการสนับสนุนการพัฒนาเทคนโลยีและตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลกและเป็นจุดโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค

- จะดำเนินนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานและมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง

 

- กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยที่ตอบรับการหารือในครั้งนี้ และแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์ใหม่

- ยินดีจะให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงานกับไทยผ่านกลไกข้อริเริ่มด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานแห่งเอเชีย (Asia Energy Transition Initiative: AETI) ที่ได้ดำเนินการร่วมกันอยู่แล้ว

- เสนอแนะให้ไทยส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดในช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

 

BANPU 720x100

 

                  1.2 ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน

 

ผลการหารือ

ฝ่ายไทย

 

ฝ่ายญี่ปุ่น

- ยินดีและขอบคุณสำหรับข้อริเริ่ม AJIF ของญี่ปุ่นที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือในการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงและการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน

- ขอบคุณผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ไว้ใจเลือกไทยเป็นฐานการผลิตและดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ในอนาคตไทยวางแผนที่จะพานักธุรกิจไทยไปพบปะนักธุรกิจญี่ปุ่นเพื่อหารือเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ อาจจะมีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเพื่อเปิดรับนักลงทุนหรือชาวญี่ปุ่นที่เกษียณแล้วให้มาพำนักในไทยได้ในระยะยาว

 

- ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นสนใจลงทุนในไทยเป็นจำนวนมากเนื่องจากไทยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนผู้ประกอบการของญี่ปุ่นเป็นอย่างดี โดยแนวคิดข้อริเริ่ม AJIF จะช่วยส่งเสริมการลงทุนให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

- ญี่ปุ่นมีแผนการสนับสนุนอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ในไทยโดยบริษัทญี่ปุ่นในไทยให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ส่งเสริมนโยบายการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน รวมถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ของไทย

 

          2. การลงนามเอกสารต่างๆ

                 2.1 การลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งอนาคต ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศในอนาคต

                 2.2 การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในไทย สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศผ่านความร่วมมือต่างๆ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่บริษัทญี่ปุ่นเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย การลงทุนในต้านเทคโนโลยีขั้นสูงและการวิจัยและพัฒนา

                 ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เห็นชอบในหลักการของบันทึกข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นจาก กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ซึ่งหากไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจาก กต. ทั้งสองฝ่ายจะถือว่าบันทึกข้อตกลงฯ ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 มีผลบังคับใช้

 

QIC 720x100

 

                 2.3 การลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย โดยการสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และช่องทางการลงทุน การผลักดันการลงทุนโดยมุ่งเน้นเทคโนโสยีขั้นสูงและการต่อยอดการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น กลุ่มสุขภาพดิจิทัลและการลงทุนคาร์บอนต่ำ

          3. ถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายไทยเกี่ยวกับข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การลงทุนในอนาคต มีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อริเริ่ม AJIF เพื่อส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุน การเพิ่มมูลค่า และการสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมถึงการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ แห่งอนาคต หุ่นยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีดิจิทัล การขนส่ง เวชภัณฑ์และสุขภาพ การเกษตรที่ทันสมัย และเทคโนโลยีอาหารและชีวภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2603

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!