WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

(ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 - 2570

GOV8

(ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม .. 2565 - 2570

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม .. 2565 – 2570 [(ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3] และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม .. 2565 – 2570 ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สธ. รายงานว่า

          1. สืบเนื่องมาจากมาตรา 10 (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ .. 2560 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และการบำบัดรักษาและพื้นฟูสุขภาพของผู้เสพติดผลิตภัณฑ์ยาสูบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบมาแล้ว จำนวน 2 ฉบับได้แก่ แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ .. 2555 - 2557 (แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 1) และแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง .. 2559 - 2562 (แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2)

          2. ภายหลังการสิ้นสุดของแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 คณะกรรมการฯ ในการประชุม ครั้งที่ 2/22563 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 มีมติเห็นชอบกรอบการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศไทยและแนวทางการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศ .. 2563 – 2570 โดยเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ .. 2563 - 25641 ซึ่งมียุทธศาสตร์และยุทธวิธีสอดคล้องกับแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 เพื่อให้เกิดความครอบคลุมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งมอบหมายให้ สธ. จัดทำ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 32 ตามกรอบการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่ง สธ. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนดังกล่าวและคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 เห็นชอบด้วยแล้ว

 

NHA720x100

 

          3. (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3 ที่ สธ. ได้เสนอมาในครั้งนี้ต่อเนื่องจาก แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 และแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ .. 2563 - 2564 ซึ่งสิ้นสุดลงแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความชุกของการบริโภคยาสูบของประชากรและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากอันตรายจากควันบุหรี่ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ภายใต้กรอบวงเงิน 498.039 ล้านบาท3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          ยุทธศาสตร์ที่ 1

          สร้างเสริมความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถการควบคุมยาสูบของประเทศ

          ตัวชี้วัด เช่น เกิดความเข้มแข็งของกลไกการควบคุมยาสูบระดับประเทศ จังหวัด ท้องถิ่น มีการพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการควบคุมยาสูบของประเทศ

          งบประมาณรวม : 138.800 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - การผลักดันนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย ระบบการบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินงานของ ทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ (WHO FCTC) รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง (22 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ

          - พัฒนาระบบเฝ้าระวัง วิจัย การจัดการความรู้ การควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผล การควบคุมยาสูบในทุกระดับ (76 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค สำนักงานสถิติแห่งชาติ และมูลนิธิรณรงค์เพื่อ การไม่สูบบุหรี่

          ยุทธศาสตร์ที่ 2

          ป้องกันมิให้เกิดผู้เสพยาสูบรายใหม่ และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบ

          ตัวชี้วัด เช่น เด็กและเยาวชนเข้าถึงบุหรี่จากร้านค้าปลีกลดลง ภาคีเครือข่ายมีความเข้มแข็ง ในการดำเนินงานป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ได้ร้อยละ 70

          งบประมาณรวม : 99.186 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - การให้ความรู้เรื่อง โทษ พิษภัย และผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับเด็กเยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ (60.84 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

          - การเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฎหมาย การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบต่างๆ การตอบโต้ การโฆษณา การสื่อสารการตลาดของกลยุทธ์ อุตสาหกรรมยาสูบ และรู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ (12.03 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ศธ. สธ. กรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          ยุทธศาสตร์ที่ 3

          บำบัดรักษาผู้เสพให้เลิกใช้ยาสูบ

          ตัวชี้วัด เช่น ผู้เสพยาสูบเข้าสู่ระบบบำบัดเลิกเสพได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องใน 6 เดือน ร้อยละ 30 มีระบบการให้บริการเลิกยาสูบที่มีคุณภาพ [คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ร้อยละ 100]

          งบประมาณรวม : 51.832 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - การสร้างเสริมพลังชุมชนและเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อการบำบัดผู้เสพยาสูบ (10 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมการปกครอง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักอนามัย กทม. และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ

          - พัฒนาคุณภาพระบบบริการเลิกยาสูบและสายด่วนเลิกบุหรี่ (27.14 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน

 

เจนเนอราลี่

 

          ยุทธศาสตร์ที่ 4

          การควบคุม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเปิดเผยรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ

          ตัวชี้วัด เช่น ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่จำหน่ายในประเทศไทย ไม่มีสารต้องห้ามตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด มีกระบวนการตรวจสอบส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ/เปิดเผยสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ

          งบประมาณรวม : 12.500 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - ปรับปรุงกฎหมาย/แนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (1.5 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมควบคุมโรค

          - สร้างกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อวัดสารที่อยู่ในยาสูบและสารที่ปล่อยออกมา (5.5 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ WHO Tobacco Laboratory Network (TobLabNet)

          ยุทธศาสตร์ที่ 5

          ทำสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่

          ตัวชี้วัด เช่น มีสถานที่ตามกฎหมายกำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ประชาชนรับรู้/รับทราบ สถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ร้อยละ 80

          งบประมาณรวม : 165.721 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - ออกประกาศกระทรวง กฎ ระเบียบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สถานที่สาธารณะและสถานที่ทำงานทุกแห่งปลอดควันบุหรี่ (ไม่ใช้งบประมาณ)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทุกกระทรวงที่มีกฎหมายเกี่ยวข้อง

          - ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมของการเสพยาสูบ เพื่อให้การไม่สูบบุหรี่ในบ้าน สถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย (100.98 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สธ. กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงคมนาคม (คค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักอนามัย กทม.

          ยุทธศาสตร์ที่ 6

          มาตรการภาษี การป้องกันและปราบปรามเพื่อควบคุมยาสูบ

          ตัวชี้วัด เช่น มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษียาสูบและระบบบริหารการจัดเก็บภาษีที่สามารถควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          งบประมาณรวม 30 ล้านบาท

          ตัวอย่างยุทธวิธี

          - ปรับปรุงโครงสร้างภาษียาสูบและระบบการบริหารการจัดเก็บภาษียาสูบ (ไม่ใช้งบประมาณ)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมควบคุมโรค

          - ป้องกัน ปราบปรามยาสูบที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินการสำหรับผู้กระทำความผิด (30 ล้านบาท)

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมสรรพสามิตและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

          - มาตรการลดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบอันเนื่องมาจากมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

          หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กรมควบคุมโรค

 

EXIM One 720x90 C J

 

          4. การดำเนินการควบคุมปัญหาการบริโภคยาสูบตาม (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบ ฉบับที่ 3 จะส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น (1) ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกิดจากโรคทุกโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบลดลง และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวม (2) ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้สูบบุหรี่สามารถลดละเลิกบุหรี่ได้และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการที่สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่และ (3) ประเทศไทยได้รับการยอมรับการเป็นผู้นำการควบคุมยาสูบในระดับประเทศและนานาชาติ

          5. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการลดบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบของประชาชนและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากอันตรายจากควันบุหรี่ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่ง สธ. (กรมควบคุมโรค) ได้ดำเนินการปรับแก้ไขแผนดังกล่าวตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบการดำเนินการปรับแก้ไขดังกล่าวด้วยแล้ว

_________________

1แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ .. 2563 - 2564 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 ซึ่งสิ้นสุดลงในปี .. 2562 ระหว่างที่ สธ. ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3

2เปลี่ยนชื่อจากแผนยุทธศาสตร์เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 (เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ)

3ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2424

 Click Donate Support Web

GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!