WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564

GOV5 copy copy

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ .. 2560 มาตรา 24 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ .. 2560 มาตรา 25 ที่บัญญัติให้ สศช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 

                 1.1 ผลการประเมินความก้าวหน้าตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น 37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย พบว่า สถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ระดับประเด็นมีการพัฒนาลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 สรุปได้ ดังนี้

                          1.1.1 เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดแล้วมีจำนวน 7 เป้าหมาย (เท่ากับปี 2563) ประกอบด้วย (1) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล (เป้าหมาย : ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น) (2) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เป้าหมาย : การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ) (3) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (เป้าหมาย : คนไทยมีสุขภาวะที่ดีและมีความเป็นอยู่ดีเพิ่มขึ้น) (4) ศักยภาพการกีฬา (เป้าหมาย : คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น มีน้ำใจนักกีฬา และมีวินัย เคารพกติกา) (5) พลังทางสังคม (เป้าหมาย : ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น) (6) การเติบโตอย่างยั่งยืน (เป้าหมาย : สภาพแวดล้อมของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน) และ (7) การบริการประชาชนและประสิทธภาพภาครัฐ (เป้าหมาย : ภาครัฐมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพด้วยการนำนวัตกรรม

                          1.1.2 เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุเป้าหมายต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด จำนวน 15 เป้าหมาย (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 13 เป้าหมาย) โดยมีประเด็นที่มีสถานะการดำเนินการในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มขึ้น) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม (เป้าหมาย : คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มขึ้น) และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (เป้าหมาย : ด้านความมั่นคงด้านน้ำของประเทศเพิ่มขึ้นและแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี) และการบรรลุเป้าหมายระดับเสี่ยง จำนวน 4 เป้าหมาย (ลดลงจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 8 เป้าหมาย) ซึ่งเป็นเป้าหมายระดับเดิมจากปี 2563

                          1.1.3 การบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤต จำนวน 11 เป้าหมาย (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 9 เป้าหมาย) เช่น อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (เป้าหมาย : ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการเพิ่มขึ้น) และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (เป้าหมาย : ผลิตภาพของน้ำทั้งระบบเพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างประหยัดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำ

 

sme 720x100

 

                 1.2 ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น

 

มิติ

 

ประเด็นท้าทายที่สำคัญ

1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย : ประชาชนไทยมีความอยู่ดีและมีความสุขลดลงจากปี 2563 เล็กน้อย

 

- การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ประชาชนประสบปัญหาภาวะว่างงานเพิ่มขึ้นและรายได้ลดลงรวมทั้งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น ปัญหาความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต

- ความพร้อมของบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสมรรถภาพในการรับมือภัยความมั่นคงที่มีความซับซ้อน อาจส่งผลต่อการป้องกันภัยในรูปแบบต่างๆ แก่ประชาชน

2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ : ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 2563

 

- การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงตามวิถีใหม่ส่งผลต่อรายได้ภาพรวมของประเทศ

- เศรษฐกิจชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19

- การแข่งขันทางการค้าในรูปแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางกลุ่มไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปได้

3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ : คนไทยมีคุณภาพชีวิต สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นจากปี 2563

 

- ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เช่น ความพร้อมและอุปกรณ์การเรียนของเด็กและเยาวชน

- ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางครอบครัวเริ่มลดลงและเกิดความเหลื่อมล้ำทางการรักษาพยาบาล

4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม : ภาพรวมปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติลดลงจากปี 2563

 

- สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยไม่มีเงินออมเพียงพอ

- กลุ่มคนเปราะบางต้องการความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำในสิทธิการรักษาพยาบาลและสิทธิอื่นๆ

- การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

5. ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ : การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากปี 2563

 

- ปริมาณของขยะติดเชื้อและพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ

- ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งที่มีความรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อปริมาณการผลิตภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม

6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการภาครัฐ : ประสิทธิภาพภาครัฐในการตอบสนองความต้องการของประชาชนมีการพัฒนาค่อนข้างคงที่จากปี 2563

 

- บุคลากรไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล

- การขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการภาครัฐส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

- การขาดการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานทำให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งบทบาทและภารกิจ

 

                  1.3 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการระยะต่อไป หน่วยงานของรัฐควรดำเนินการตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น

                          1.3.1 มองเป้าหมายการพัฒนาประเทศเป็นเป้าหมายการทำงานร่วมกันของหน่วยงานตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

                          1.3.2 จัดทำแผนระดับที่ 3 โดยเฉพาะแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี และแผนปฏิบัติราชการรายปีที่สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนแม่บทฯ รวมทั้งวางแผนจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง

                          1.3.3 นำเข้าแผนระดับที่ 3 และรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนรวมทั้งโครงการ/การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และรายงานผลการดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

                          1.3.4 นำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการประมวลและวิเคราะห์เชิงลึก รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดทำแผนระดับที่ 3 โครงการ และการดำเนินงานเพื่อปิดช่องว่างการพัฒนา

 

BANPU 720x100

 

          2. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564

                 2.1 การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ แผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ได้กำหนดเป้าหมายอันพึงประสงค์จำนวน 31 เป้าหมาย สรุปได้ ดังนี้

                          2.1.1 สถานะการบรรลุเป้าหมายเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายในปี 2564 พบว่า สถานะการบรรลุเป้าหมายส่วนใหญ่ใกล้เคียงหรือบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 26 เป้าหมายจากเป้าหมายทั้งหมด 31 เป้าหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 84 โดยอยู่ในระดับบรรลุเป้าหมายแล้ว จำนวน 10 เป้าหมาย ระดับใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 16 เป้าหมาย ระดับยังคงมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 3 เป้าหมาย และระดับยังคงมีความเสี่ยงในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 2 เป้าหมาย

                          2.1.2 สถานะการบรรลุเป้าหมายเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายในปี 2565 พบว่า มีเป้าหมายที่บรรลุค่าเป้าหมายแล้ว จำนวน 7 เป้าหมาย ระดับใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 15 เป้าหมาย โดยยังมีเป้าหมายที่ค่าสถานการณ์ยังคงมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 7 เป้าหมาย และอยู่ในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 2 เป้าหมาย ทั้งนี้ จากสถานะการดำเนินงานปัจจุบันเทียบกับการบรรลุค่าเป้าหมายประจำปี 2565 พบว่า มีเป้าหมายที่มีความเสี่ยงหรืออยู่ในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย รวมจำนวน 9 เป้าหมาย เช่น ด้านกฎหมาย (เป้าหมาย : ความสะดวกในการเข้าถึง รับรู้ และปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน) ที่ต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวก และด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เป้าหมาย : เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม) ที่ต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดและสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมและส่งเสริมการนำวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ

                          ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเด็นปฏิรูปส่วนหนึ่งที่ยังคงมีความเสี่ยงและอาจไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ ในปี 2565 จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดมาตรการเป็นการเฉพาะ รวมถึงสรุปประเด็นปัญหาเพื่อนำไปทบทวนและกำหนดวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้เพื่อให้สำเร็จตามเป้าประสงค์ในช่วงเวลาที่กำหนดได้ต่อไป

                          2.1.3 สรุปสถานะความคืบหน้าในการดำเนินงานตามกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) จำนวนทั้งสิ้น 62 กิจกรรม ดำเนินการได้ตามแผน จำนวน 53 กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 85 และดำเนินการได้ล่าช้ากว่าแผน จำนวน 9 กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ประกอบด้วย ด้านการเมือง จำนวน 2 กิจกรรม ด้านกฎหมาย จำนวน 2 กิจกรรม ด้านกระบวนการยุติธรรม จำนวน 1 กิจกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 กิจกรรม และด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จำนวน 2 กิจกรรม ทั้งนี้ จะมีการประสานหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนดต่อไป

                 2.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศเกิดความล่าช้าเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องปรับตัวในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (2) การเร่งรัดดำเนินโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ โดยบางโครงการยังมีการดำเนินการที่ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การดำเนินการไม่บรรลุเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (3) การผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กฎหมาย และกระบวนงานที่มีความล้าสมัยทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการจึงทำให้เกิดความล่าช้า และ (4) หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมวางแผน แก้ไขปัญหา และการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จึงอาจไม่มีการบูรณาการกันอย่างครอบคลุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ

                 2.3 การดำเนินการในระยะต่อไป หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานร่วมดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรประสานและบูรณาการร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยใช้ประโยชน์จากแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ในการกำกับและติดตาม รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อเร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2422

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!