WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2580

GOV 5

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี .. 2564 – 2580

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้

          1. อนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี .. 2564 - 2580 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ]

          2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (ผู้มีความสามารถพิเศษฯ) ในภาพรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น

          3. ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (ศธ.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) [กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)] เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ศธ. รายงานว่า

          1. บุคลากรวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีจำนวนนักวิจัยชั้นนำและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงไม่เพียงพอที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและนวัตกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเร่งรัดการสรรหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาที่มีความสามารถผลิตผลงานวิจัย ยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานโลก (World class) และทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ จึงเปรียบเสมือนแผนที่นำทางในการบริหาร การพัฒนา และการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพในทุกช่วงชั้นอย่างเป็นระบบ และมีการส่งต่อผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่แผนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ โดยมุ่งให้เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นำไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมในการค้นหา พัฒนาและส่งเสริมตลอดจนจัดระบบบริหารจัดการผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถสนับสนุนการพัฒนาประเทศเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่อผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้วไปปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมโดยตรง เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป

 

EXIM One 720x90 C J

 

          2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

วิสัยทัศน์

ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม อันนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ บริการใหม่ มากขึ้นตามลำดับในระยะ 20 ปี

พันธกิจ

สรรหา พัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระดับการศึกษาสูงสุด และส่งเสริมให้มีโอกาสในการค้นคว้า วิจัยทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อเป็นนักวิจัยชั้นนำของประเทศ สามารถสร้างองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม เพื่อสนองตอบความต้องการของประเทศ

เป้าหมาย

มุ่งยกระดับการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีความต่อเนื่องในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และหลังสำเร็จการศึกษา อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้เข้าสู่การปฏิบัติงานในระบบการพัฒนาวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ โดยตั้งเป้าให้เกิดการผลิตนักวิจัย จำนวน 4,000 คนต่อปี เข้าสู่ภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ

 

GC 720x100

 

                  2.2 ยุทธศาสตร์การสร้างกลไกและการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก สรุปได้ ดังนี้

 

มาตรการ

 

ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น

 

โครงการและการดำเนินการ ที่สำคัญ เช่น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา

เป้าประสงค์

1) พัฒนาและส่งเสริมเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

2) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการเสาะหาและพัฒนาส่งเสริมเยาวชนอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง เหมาะสม และเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล

1) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้เกิดความเบ่งบาน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยสร้างความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครองและชุมชน ให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมเด็กที่มีลักษณะเด่นที่จะแสดงความสามารถพิเศษออกมาได้อย่างถูกต้อง

 

1) จำนวนสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมกระตุ้นการแสดงศักยภาพที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยและสมรรถนะของเด็ก ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียนและมาตรฐานสากล

2) จำนวนครูที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใหม่ๆ รวมทั้งเทคนิคและแนวทางจัดกิจกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการแสดงศักยภาพของเด็ก

 

1) โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2) โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา1 (STEM) สำหรับครูและนักเรียน

2) การจัดการศึกษาในระดับชั้น

ประถมศึกษา บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่น วิทยากร และการร่วมมือกับครูผู้สอน โดยส่งเสริมพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขในการผูกมัดผู้เรียน แต่เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นศักยภาพของเด็กให้ฉายแววความสามารถที่มีอยู่ออกมาครูและผู้ปกครองควรได้รับการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นศักยภาพของเด็ก

 

1) จำนวนเด็กในวัยเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้รับการศึกษา/พัฒนาเต็มศักยภาพ หรือระบุว่าเป็นผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น

2) จำนวนผลงานวิชาการของผู้มีความสามารถพิเศษฯ จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้น

 

1) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2) โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ

3) โครงการพัฒนาหลักสูตรเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

3) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยจัดกิจกรรมเสริมในเวลาเรียนปกติ นอกเวลาเรียนหรือช่วงปิดภาคเรียน และมีครูหรือนักวิชาการเฉพาะทางเป็นพี่เลี้ยงดูแลพิเศษเพื่อมุ่งเน้นกิจกรรมที่บ่มเพาะผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษฯ เกินศักยภาพของโรงเรียนปกติ ควรจัดให้มีโรงเรียนที่เป็นศูนย์รับช่วงต่อ โดยมีโครงการพิเศษรองรับ และควรมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning

Community: PLC) เพื่อสังเกต เก็บข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษฯ ภายในโรงเรียน

 

1) จำนวนสถานศึกษา/สถาบันการศึกษา/องค์กรที่จัดการศึกษาตามรูปแบบ/หลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น

2) จำนวนผลงานวิชาการของผู้มีความสามารถพิเศษฯ จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้น

 

1) โครงการโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง)

2) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนระยะยาว (Junior Science Talent Project: JSTP)

3) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4) โครงการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Mathematical Olympiad: IMO)

5) โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย

4) การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

และควรมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน

 

จำนวนผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมตามศักยภาพเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

 

1) ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน

3) โครงการโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ

5) การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย กำกับตนเองให้ลงมือทำ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ประสบความสำเร็จตามที่ตนตั้งเป้าหมายไว้ วิเคราะห์และมองปัญหาเป็นเรื่องที่ท้าทาย

 

1) จำนวนผู้มีความสามารถ พิเศษฯ ที่สำเร็จการศึกษาได้รับการส่งเสริมและศึกษาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพมาตรฐานตามหลักสูตรที่กำหนด

2) จำนวนผู้มีความสามารถ พิเศษฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

1) โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

2) โครงการอาชีวศึกษายกกำลังสองสู่มิติใหม่ อาชีวศึกษาไทยมุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์(Human Capital)

3) โครงการจัดทัพอาชีวศึกษาสู่การเป็นเกษตรกรแม่นยำ2 (Digital Farming)

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. [สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)] ศธ. [สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สสวท.]

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอุดมศึกษา

เป้าประสงค์

1) ต้องผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีในหลักสูตรที่เข้มข้นและตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับนักเรียนที่สำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประมาณปีละ 21,000 คน จากผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ)

2) ต้องผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท - เอก (หรือผู้มีทักษะการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง) จากผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี นักวิจัย และนักนวัตกรรม เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีเป้าหมายในปี .. 2579 จะต้องผลิตได้ปีละไม่ต่ำกว่า 4,000 คน

1) การจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อให้นิสิต/ นักศึกษาสามารถสร้างมุมมองและค่านิยมใหม่ให้กับตนเอง มีความสามารถในการประสานความคิดที่แตกต่างและจัดการความขัดแย้ง เมื่อเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตหรือความขัดแย้งต่างๆ สามารถฟื้นคืนจากสภาพปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

 

1) ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการผลิตบัณฑิต และวิจัยตามความเชี่ยวชาญ และความเป็นเลิศเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น

2) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่เน้นการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

 

1) โครงการทุนโอลิมปิกวิชาการ

2) โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3) โครงการทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2) การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท - เอก) ให้มีภาวะผู้นำ และมีคุณลักษณะของผู้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบต่อสังคม และสร้างสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน

 

1) จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ตรงตามความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น

2) จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มาจากผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อประชากร 10,000 คน เพิ่มขึ้น

3) จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทรัพย์สินทางปัญญา และรางวัลทางวิชาการที่สร้างสรรค์โดยผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น

 

1) โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก

2) โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (TGIST)

3) โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศูนย์ความเป็นเลิศต่างๆ

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. [สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)] ศธ. (สสวท.) สำนักงาน ..

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสศร์และเทคโนโลยีเข้าปฏิบัติงานในหน่วยวิจัยและนวัตกรรม

เป้าประสงค์

1) มีผู้มีความสามารถพิเศษฯ เป็นกำลังคนที่มีทักษะขั้นสูงด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 ในปี .. 2579 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 200,000 คน โดยมีสัดส่วนบุคลากรภาครัฐ : ภาคเอกชน เป็น 60 : 40

2) มีหน่วยงานรองรับการทำงานผู้สำเร็จการศึกษาที่มีศักยภาพเพียงพอในการส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังคนที่มีทักษะขั้นสูงเหล่านี้ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

1) การเตรียมความพร้อมบัณฑิตผู้มีความสามารถพิเศษฯ ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เช่น จัดให้มีการฝึกประสบการณ์ในหน่วยงานวิจัยหรือศูนย์ความเป็นเลิศก่อนสำเร็จการศึกษา มีการแนะแนวข้อมูลที่เหมาะสมให้กับผู้มีความ สามารถพิเศษฯ ก่อนเข้าปฏิบัติ งาน

 

1) ร้อยละของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการฝึกประสบ การณ์ในหน่วยงานวิจัย/ศูนย์ความเป็นเลิศ หรือในภาคอุตสาหกรรมก่อนสำเร็จการศึกษา

2) ระดับความพึงพอใจของหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตผู้มีความ สามารถพิเศษฯ และบัณฑิตต่อระบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าปฏิบัติงาน

 

1) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยระดับหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก (Postdoctoral Research) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

2) โครงการให้ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่รับทุนผูกมัดได้ฝึกประสบการณ์/การเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (Work - integrated

Learning) ก่อนสำเร็จการศึกษา

2) การเตรียมหน่วยงานรองรับเพื่อบรรจุผู้มีความสามารถ พิเศษฯ เข้าทำงาน เพื่อให้ได้ทำงานและประกอบอาชีพในหน่วยงานที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ โดยมีเส้นทางอาชีพ (Career Path) ที่ชัดเจน และมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการให้กับสังคมไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

1) ร้อยละของหน่วยงานผู้ใช้ที่ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้ฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการทำงานก่อนสำเร็จการศึกษาและมีความยินดีที่จะรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ นั้น เข้าปฏิบัติงาน

2) ระดับความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศสำหรับตำแหน่งรองรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ในหน่วยงานวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศ

3) ระดับความพึงพอใจของหน่วยงานในทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้มีความ สามารถพิเศษฯ นั้นที่ปฏิบัติงานระหว่างรอบรรจุในโครงการรองรับ (ระยะสั้น)

 

1) โครงการเสริมศักยภาพวิชาการ

2) การพัฒนาระเบียบหรือแนวปฏิบัติให้นักเรียนทุนมีอัตรา/ตำแหน่งติดตัว เมื่อได้รับทุนกรณีไปปฏิบัติงานภาครัฐ

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว.สอวช.) ศธ. (สสวท.)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างเส้นทางอาชีพ (Career Path) สภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุน (Ecosystem) ที่เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เป้าประสงค์ เช่น

1) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ทุนการศึกษา และทุนศึกษาวิจัยสำหรับบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

2) จัดทำแผนพัฒนาทักษะและมาตรฐานวิชาชีพด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้กับบุคลากรในระดับต่างๆ

3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ทุนการศึกษา และทุนศึกษาวิจัยสำหรับบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

1) การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือด้านการวิจัย โดยสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัย และสร้างระบบที่เอื้ออำนวยในการทำวิจัย ผลักดันให้มหาวิทยาลัยวิจัยไทยสร้างความเข้มแข็งในสาขาวิชาที่โดดเด่น และสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยมีรายได้จากการรับทำวิจัย โดยมีเป้าหมายให้ได้รับงบประมาณจากการทำวิจัยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 20 จากงบประมาณที่มหาวิทยาลัยได้รับภายใน 20 ปี ข้างหน้า สนับสนุนและเปิดโอกาสการทำอาชีพที่หลากหลายมากกว่าการทำในสายงานวิจัย

 

1) ร้อยละของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยที่กำหนดนโยบายและผลักดันให้เกิดระบบสิทธิประโยชน์สำหรับนักวิจัย

2) จำนวนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ และ/หรือรายได้ที่เกิดจากการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์ โดยผู้มีความสามารถพิเศษฯ

 

1) โครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตทรัพยากรบุคคล

2) โครงการฝึกอบรมวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย”(Training for the trainers)

3) โครงการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่

4) โครงการฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ หลักสูตรสำหรับวิทยากร

5) โครงการรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์และรางวัลผลงานประดิษฐ์

2) การบูรณาการศูนย์ความเป็นเลิศและสถาบันวิจัยและสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม โดยยกระดับมหาวิทยาลัยไทยที่มีศักยภาพสูงให้อยู่ในระดับโลก โดยใช้วิธีเสริมจุดแข็งที่มีอยู่แล้วให้มหาวิทยาลัยที่ต้องการเสนอตัว

เป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ในด้านที่มีศักย ภาพ และรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ รวมถึงสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยระดับสูง ยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนางานวิจัยขั้นสูงเฉพาะด้านและเป็นแหล่งรองรับกำลังคนผู้มีความสามารถพิเศษฯ

 

1) ร้อยละของเงินสนับสนุนการวิจัย และนวัตกรรมภาค อุตสาหกรรม

2) มูลค่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น

3) ร้อยละของผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต

และสังคม

4) จำนวนเครือข่ายพันมิตรที่มีความร่วมมือทั้งในและต่าง ประเทศต่อศูนย์ความเป็นเลิศ

5) ร้อยละของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่เข้าร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven

Entrepreneurship : IDE)

 

1) โครงการศูนย์นวัตกรรมเพื่อชุมชน

2) จัดทำฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี

3) การสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยและนักเทคโนโลยีระดับสูงในภาครัฐมีผลตอบแทนที่สูงอย่างมีศักดิ์ศรี และส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยภาคเอกชน โดยส่งเสริม สนับสนุนให้นักวิจัยมีค่าตอบแทนอย่างเพียงพอ ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์วิจัยของภาคเอกชน พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ส่งเสริมการได้รับสิทธิประโยชน์จากการร่วมทำวิจัยกับภาคเอกชน

 

1) ร้อยละสถานประกอบการที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากการที่มีนักวิจัยภาครัฐไปทำวิจัย และพัฒนากลุ่มวิจัยฯ ให้กับสถานประกอบการต่อปี

2) มูลค่าเงินสนับสนุนจากภาครัฐ

ต่อการพัฒนาบุคลากรห้องปฏิบัติการวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม

 

1) การแก้ไขระเบียบ ออกแบบงาน และเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากรวิจัยและพัฒนา และบุคลากรที่มีบทบาทในกิจกรรมนวัตกรรม/ระบบสนับสนุนการพัฒนาของประเทศ

ผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ในภาครัฐให้เติบโตในสายอาชีพได้อย่างก้าวกระโดด (Fast-track) ที่อาจริเริ่มโดย อว.

2) โครงการส่งเสริมบุคลากรจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน (Talent Mobility)

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว. สอวช.)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 กลไกการบริหารการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่แผนพัฒนากำลังคนของประเทศ

เป้าประสงค์

ให้มีศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาและการส่งต่อปฏิบัติงานที่จะเห็นภาพรวมในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้มีสามารถพิเศษฯ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการให้การศึกษาแก่ผู้มีความสามารถพิเศษฯ และการสร้างกำลังคนผู้มีศักยภาพและทักษะขั้นสูงเข้าสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศตรงตามเป้าหมายและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศและโลก

1) การพัฒนาโครงสร้างการทำงานให้ครอบคลุมกลุ่ม เป้าหมาย โดยจัดทำโครงสร้างคณะกรรมการกำหนดนโยบายและคณะกรรมการชุดต่างๆ ให้ครอบคลุมการพัฒนาและส่งเสริม

ผู้มีความสามารถพิเศษฯ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ในเรื่องของบุคลากรและสาขาวิชาที่ต้องการ รวมถึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

 

มีคณะกรรมการการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่แผนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

 

แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการบูรณาการทุนการศึกษา และคณะกรรมการบริหารบูรณาการ ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2) การพัฒนาให้มีหน่วยงานประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่การเป็นกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดความเชื่อมโยงของแต่ละหน่วยงาน โดยมีศูนย์ประสาน งานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ของประเทศเป็น One Stop Service ที่สามารถเชื่อมการทำงานของหน่วยงาน

 

ระดับความสำเร็จของการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ

 

1) รูปแบบศูนย์ประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย

2) โครงสร้างการทำงานโดยคณะอนุกรรมการในระดับต่างๆ และประสานการส่งต่ออย่างต่อเนื่อง

3) ประสานงานการจัดทำงบประมาณและบูรณาการแผนในภาพรวมของประเทศด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความ สามารถพิเศษฯ โดยแต่ละหน่วยงานดำเนินการของบประมาณตามแผนของตนเอง และมีศูนย์ประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศูนย์ประสานงานฯ) ที่มีบทบาทหน้าที่สำหรับประสานงานการจัดทำงบประมาณ

 

1) ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนงบประมาณและแผนการบูรณาการทุนการศึกษาระดับประเทศที่สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานอย่างแท้จริง

2) การมีคณะกรรมการกลาง ซึ่งมีตัวแทนร่วมมาจากหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

1) ระบบฐานข้อมูลกำลังคนภาครัฐระดับปริญญาเอกของประเทศ

2) ระบบฐานข้อมูลนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

3) ระบบฐานข้อมูลนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโอลิมปิกวิชาการ

4) ระบบฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนผู้มีศักยภาพและทักษะขั้นสูงสำหรับการวิจัยและพัฒนา

4) การสร้างและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยศูนย์ประสาน งานฯ มีบทบาทในด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อเผยแพร่ สร้างองค์ความรู้ และสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรกิจกรรม และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียน

 

ระดับความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาคลังความรู้ในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ

 

1) หลักสูตรกิจกรรมต้นแบบและนำร่องระดับปฐมวัย

2) โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ

3) ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับปริญญาโท - เอก สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ศึกษาตรงตามสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรม

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว.สอวช.) ศธ. [สพฐ. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สสวท. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)]

 

TU720x100

 

                  2.3 แผนขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

วัตถุประสงค์

1) เพื่อพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้มีความรู้ความสามารถ ทันต่อความก้าวหน้าของโลก มีศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษฯ

2) เพื่อเร่งรัดพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ ที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักเทคโนโลยีและนักนวัตกรรม เป็นการเพิ่มปริมาณนักวิทยาศาสตร์ ภายในประเทศให้มากขึ้น สามารถเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศได้

3) เพื่อขยายฐานองค์ความรู้สู่การพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบให้ทั่วทั้งสถานศึกษา และเป็นศูนย์อบรมครูและขยายผลสู่สถานศึกษาในเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างฐานกำลังคนของประเทศในอนาคต

เป้าหมายการดำเนินงาน

เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่การพัฒนากำลังคนด้านการวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานหลักรวม 10 หน่วยงาน ได้แก่ อว. (สวทช. อพวช. สอวช. สป.อว.) ศธ. [สสวท. สพฐ. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สอศ. สกศ.] และสำนักงาน .. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เป็นต้น เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ นี้ และมีเป้าหมายการดำเนินงานในระยะ 10 ปี แบ่งเป็น 1) เป้าหมายระยะสั้น 1 ปี (การเตรียมความพร้อมของแผนการพัฒนา) 2) เป้าหมายระยะกลาง 5 ปี (สถานศึกษามีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน) 3) เป้าหมายระยะยาว 10 ปี (ผลผลิตอย่างยั่งยืนในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ)

แนวทางการดำเนินงาน/กิจกรรมที่สำคัญ

1) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้เกิดความเบ่งบานทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

2) การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาให้เกิดความเบ่งบานทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

3) การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยขยายฐานการพัฒนาในรูปแบบศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด

4) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในรูปแบบห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท.

5) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในรูปแบบห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

6) การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในรูปแบบโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์

7) การจัดหลักสูตรโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ หรือโปรแกรมการศึกษาเกียรตินิยม (Honor Program), หลักสูตร Advance Placement และ Dual-Degree Programs ในระดับปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับศักยภาพนักเรียน และความต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศ

8) การเพิ่มจำนวนทุนระดับปริญญาโท - เอก ให้เพียงพอต่อความต้องการ

9) การส่งเสริม สนับสนุนให้ศึกษาต่างประเทศ สำหรับผู้แทนนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ พสวท. และนักเรียนที่มีความสามารถโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

10) การพัฒนาและส่งเสริมผู้สำเร็จการศึกษาที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐ

11) การสร้างสิ่งแวดล้อมและระบบสนับสนุน (Ecosystem) ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือด้านการวิจัย

12) การพัฒนาระบบการเงินสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษให้เข้าถึงการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่

__________________

1สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

2เกษตรกรแม่นยำ คือ การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อการเกษตรยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อันนำไปสู่การแข่งขันในระดับสากล

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2421

 Click Donate Support Web

sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!