WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 1 ระหว่างไทยกับ OECD

GOV8

สรุปการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 1 ระหว่างไทยกับ OECD

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้

          1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้ Country Programme (CP) ระยะที่

          2. เห็นชอบมอบหมาย สศช. และกระทรวงต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการร่วมกันในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำโครงการภายใต้ CP ระยะที่ 2 โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของไทยและความคุ้มค่าด้านงบประมาณ ทั้งนี้ เห็นควรให้ กต. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับ CP ระยะที่ 2 ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องและความสอดคล้องกับนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงที่เกี่ยวข้องและ สศช. เป็นหน่วยงานหลักในการขอรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเงินอุดหนุนให้กับ OECD และงบดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยให้หารือกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 ตลอดจนดำเนินการติดตามผลการดำเนินโครงการและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

          3. เห็นชอบมอบหมาย กต. ศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ที่ไทยจะได้รับ เนื่องด้วยการมีส่วนร่วมกับ OECD จะช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่างๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถและปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. โครงการ CP ระยะที่ 1 มีระยะเวลาดำเนินการ 2-3 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่าง OECD กับไทยอย่างบูรณาการ เพื่อให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาแนวนโยบายภาครัฐของไทยที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถ และปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศ

          2. องค์ประกอบสำคัญของโครงการ CP ระยะที่ 1 ได้แก่

                 2.1 การสนับสนุนให้มีการรับรองตราสารทางกฎหมายของ OECD เพื่อยกระดับมาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล

                 2.2 การจัดทำรายงานการศึกษาและบทวิเคราะห์นโยบาย

                 2.3 การเพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานไทยใน OECD ในฐานะสมาชิกหรือ ผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี

                 2.4 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และการฝึกอบรมแก่หน่วยงานของไทย

                 2.5 การส่งเจ้าหน้าที่ของไทยไปประจำการที่สำนักงาน OECD ซึ่งประกอบด้วยประเด็นความร่วมมือ 4 สาขาความร่วมมือหลัก ได้แก่ (1) ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน (3) ประเทศไทย 4.0 และ (4) การเติบโตอย่างทั่วถึง เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (.. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2565) และนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) 

 

EXIM One 720x90 C J

 

          3. ผลการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 1

                 3.1 สาขาหลักที่ 1 ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส

 

โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

ผลการดำเนินการ

(1) โครงการ Improving Integrity and Governance in the Public Sector Designing Effective Anti-corruption Policies (Integrity Review of Thailand Phase 2) [สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ...)]

 

จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของไทย ระยะที่ 2 แล้วเสร็จ โดยครอบคลุม 3 เรื่อง ดังนี้ 1) การจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก 2) มาตรการทางวินัยและจริยธรรม และ 3) หลักประกันความซื่อตรงในกระบวนการตัดสินใจและความโปร่งใสในการกำหนดนโยบาย

(2) โครงการ Supporting Open and Connected Governance and Stakeholder Engagement : (Government at a Glance Thailand) (สำนักงาน ...)

 

จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสร้างความพร้อมในการบริหารงานภาครัฐให้เข้าสู่การเป็นระบบราชการไร้รอยต่อ เปิดกว้าง เชื่อมโยงกัน และเทียบเคียงมาตรฐานสากลโดยครอบคลุม 2 เรื่อง ได้แก่ 1) รัฐบาลดิจิทัลและ 2) รัฐบาลเปิด ซึ่งมุ่งเน้นการกำหนดกรอบนโยบายในทุกระดับให้เชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลเปิดที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและการสร้างขีดความสามารถและศักยภาพของข้าราชการไทย

(3) โครงการ Advancing Budget Reform (สงป.)

 

จัดทำรายงานระบบงบประมาณของไทยและแผนปฏิบัติการด้านการจัดทำงบประมาณที่เสริมสร้างความเสมอภาคทางเพศแล้วเสร็จ โดย OECD ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ช่องทางออนไลน์ในกระบวนการจัดทำงบประมาณเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

 

                  3.2 สาขาหลักที่ 2 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน

 

โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

ผลการดำเนินการ

(1) โครงการ Improving the Business Climate through an OECD Investment Policy Review (กต.)

 

- จัดทำรายงานผลการประเมินกรอบนโยบายการลงทุนและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย

- วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและนโยบายที่จำเป็นเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งจะสนับสนุนให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

(2) โครงการ Implementing Regulatory Reform and Mainstreaming Good Regulatory Practice [สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)]

 

จัดทำรายงาน Thailand Regulatory Management and Oversight Refoms : A Diagnostic Scan 2020 ซึ่งได้ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบกฎหมายของไทยในด้านการจัดการและกำกับดูแลด้านกฎหมายแล้วเสร็จ โดย OECD ได้เสนอแนวทาง 3 ประการ ได้แก่ 1) เร่งดำเนินการตามบทบัญญัติและหลักการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย .. 2562 2) จัดทำและเผยแพร่แนวปฏิบัติเรื่องการมีกฎหมายที่ดีให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เสนอนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย และ 3) ประเมินและพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบกฎหมายเชิงโครงสร้างอย่างต่อเนื่องในระยะกลางและระยะยาว

(3) โครงการ Developing Competition Policy (สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า)

 

- จัดทำรายงานการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการรวมธุรกิจแล้วเสร็จ

- จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร

- พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) โครงการการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ (Fostering Responsible Business Conduct: RBC) (กต.)

 

- จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับ RBC 

- จัดทำร่างนโยบาย RBC และแนวปฏิบัติพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

- จัดทำคู่มือตรวจสอบ วิเคราะห์สถานะ และประเมินทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในภาคการเกษตร

- จัดทำโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาธุรกิจภาคการเกษตรของไทยแล้วเสร็จ

(5) โครงการ Supporing SME Policy: Strengthening Regional Innovation Clusters [สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)]

 

ศึกษาแนวทางพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์นวัตกรรมในระดับท้องถิ่นและแนวทางพัฒนาระบบผู้ให้การบริการทางธุรกิจและการเชื่อมโยงให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) โดยเลือกจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นพื้นที่เก็บข้อมูล รวมทั้งได้จัดทำรายงาน Entrepreneurship in Regional Innovation Clusters: Case Study of Chiang Mai and Chiang Rai, Thailand แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564

(6) โครงการ Supporting SME Policy: the ASEAN SME Policy Index (สสว.)

 

จัดทำรายงาน Micro Enterprises in Thailand แล้วเสร็จซึ่งเป็นการศึกษาวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านนโยบายการส่งเสริม SME ของอาเซียนที่ OECD จัดทำเพิ่มเติม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงนโยบายและการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs) ของไทยให้เป็นรูปธรรมใน 3 มิติการพัฒนาได้แก่ 1) การเงินระดับจุลภาค 2) การเข้าสู่ระบบของ MSME และ 3) มาตรการที่เหมาะสมกับ MSME

 

GC 720x100

 

                  3.3 สาขาหลักที่ 3 ประเทศไทย 4.0 

 

โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

ผลการดำเนินการ

(1) โครงการ Enhancing Science, Technology and Innovation Policies (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ)

 

- รวบรวมข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ในฐานข้อมูลของ OECD โดยไทยสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนเรียนรู้นโยบายการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประเทศต่างๆ

- จัดทำรายงาน A Biorefining Sector in Thailand ซึ่งมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี โดยเน้นการขยายโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs

(2) โครงการ Developing Teaching and Learning (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

 

- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 การออกแบบหลักสูตรโดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงการปฏิรูประดับชาติกับแนวปฏิบัติที่ดีด้านการออกแบบหลักสูตรระดับสากล ครั้งที่ 2 การฝึกอบรมครูขั้นต้นและพัฒนาวิชาชีพให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ครั้งที่ 3 การประเมินและทดสอบโดยมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในการประเมินผลสำเร็จของผู้เรียน

- แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและจัดทำหลักสูตรและการจัดทำแนวปฏิบัติในการประเมินผล เพื่อเพิ่มทักษะและความเข้าใจของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรสมัยใหม่

(3) โครงการ Supporting the Digital Economy (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

 

- เข้าร่วมเป็นหนึ่งในประเทศที่ OECD จะสำรวจเพื่อจัดทำรายงาน Digital Economy Outlook 2020 เพื่อวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

- การดำเนินโครงการ Thailand Digital Outlook เพื่อเปรียบเทียบสถานะการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการพัฒนานโยบายด้านดิจิทัลของประเทศ

- โครงการวัดมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ทราบมูลค่าเพิ่มที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล

(4) โครงการ Modernising Education and Skills Development (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

 

จัดทำรายงานการศึกษาและทบทวนการเรียนการสอนและระบบอาชีวศึกษาและสายอาชีพของไทยแล้วเสร็จ ซึ่ง OECD ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอาชีวศึกษาและอบรมวิชาชีพ (Vocation Education and Traing: VET ดังนี้ 1) การยกระดับและพัฒนาการเข้าถึง VET 2) การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและคุณภาพของ VET 3) การประยุกต์ใช้ข้อมูลทักษะที่เป็นความต้องการของตลาดในการจัดทำนโยบาย และ 4) การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและถ่ายทอดองค์ความรู้ VET

 

                  3.4 สาขาหลักที่ 4 การเติบโตอย่างทั่วถึง

 

โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

ผลการดำเนินการ

(1) โครงการจัดทำรายงานประเทศไทยเชื่อมโยงหลายมิติ (Multi-Dimensional Country Review: Thailand’s MDCR) (สศช.)

 

จัดทำรายงานทบทวนและประเมินสถานการณ์ประเทศโดยรวมในหลายมิติ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับศักยภาพในระดับภูมิภาคและการบริหารจัดการน้ำและความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดย OECD ได้เสนอแนะการพัฒนาศักยภาพในภาคเหนือ เช่น การจัดตั้งห้องทดลองอัจฉริยะเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ และการยกระดับการบริหารจัดการความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในภาคเหนือของไทย

(2) โครงการ Thailand’s Economic Assessment (สศช.)

 

จัดทำรายงานการศึกษาเพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจของไทยแล้วเสร็จ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และข้อเสนอแนะในการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี 2) การพัฒนาทักษะที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่งคั่ง โดยเสนอให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต และ 3) การใช้ประโยชน์จากการค้าภาคบริการระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

(3) โครงการ Strategic Co-ordination and Monitoring (สศช. และ กต.)

 

- ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการย่อยทั้ง 16 โครงการภายใต้ MoU CP เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้

- จัดการประชุมเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ CP ระหว่างไทยกับ OECD ภายใต้หัวข้อ “The Concludind Event of the OECD Thailand Country Programme” ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ CP ร่วมกับ OECD รวมทั้งแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานและแนวปฏิบัติที่ดีในการยกระดับแนวทางการพัฒนามาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล

- การหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับเลขาธิการ OECD เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกับ OECD อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาของไทยตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และได้กำหนดทิศทางความร่วมมือกับ OECD ในระยะต่อไปให้สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาประเทศในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566-2570) และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญในปี 2565 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค

 

TU720x100

 

          4. สศช. มีความเห็น สรุปได้ ดังนี้

                 4.1 การดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 กับ OECD จะทำให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับแนวทางการพัฒนาและมาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส และการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การแปลงผลจากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ OECD ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จะสามารถฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

                 4.2 ความร่วมมือระหว่างไทยกับ OECD ในระยะต่อไปควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะประเด็นการต่างประเทศที่มุ่งเน้นส่งเสริมสถานะและบทบาทของไทยในประชาคมโลก รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในทุกมิติและสามารถมีบทบาทเชิงรุกในการร่วมกำหนดมาตรฐานสากลมากขึ้น ดังนั้น จึงควรพิจารณาสนับสนุนการดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 เพื่อให้ไทยมีการพัฒนาตามมาตรฐานสากลในทุกมิติ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2414

 Click Donate Support Web

sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!