WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม OECD SEARP ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2

GOV4 copy

การพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม OECD SEARP ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม Organisation for Economic Co - operation and Development (OECD) Southeast Asia Regional Programme (SEARP) [OECD SEARP1] ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารดังกล่าว โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. การประชุม SGM of OECD SEARP เป็นกลไกในการกำหนดทิศทางและติดตามผลการดำเนินงานของ SEARP ซึ่งประเทศไทยได้ดำรงตำแหน่งประธานการประชุมร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลี วาระ 3 ปี (.. 2561 - 2563) และได้ขยายวาระการดำรงตำแหน่งประธานร่วมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ไปจนถึงสิ้นสุดการประชุม OECD SEARP ระดับรัฐมนตรี (จะหมดวาระการเป็นประธานร่วมหลังการประชุม SGM of OECD SEARP ครั้งที่ 9 ซึ่งมีกำหนดจัดการประชุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565) โดยประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากกลไกนี้ในการผลักดันประเด็นที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธศาสตร์ต่อประเทศไทยและภูมิภาค เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การส่งเสริม SMEs การพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา OECD ได้ให้การสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ประเทศไทยและอาเซียนเพื่อขับเคลื่อนประเด็นเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง

 

TU720x100

BANPU 720x100

 

          2. OECD และสาธารณรัฐเกาหลีจะร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม OECD SEARP ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 - 10 กุมภาพันธ์ 2565 กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีในรูปแบบผสมผสาน (ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุม SGM of OCED SEARP) ภายใต้หัวข้ออนาคตที่มีคนเป็นศูนย์กลาง: ความเป็นหุ้นส่วนเพื่ออาเซียนที่อัจฉริยะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและครอบคลุมมากขึ้นเพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายด้านดิจิทัลสิ่งแวดล้อม และสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งในการประชุมจะมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) ระหว่างอาเซียนกับ OECD [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (24 มกราคม 2565) เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ OECD แล้ว (ตามข้อ 5.5)] รวมถึงพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานร่วม SEARP ให้แก่ออสเตรเลียและเวียดนามอย่างเป็นทางการ รวมทั้งจะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าว

          3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกภายใต้โครงการ SEARP เพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและทั่วถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การฟื้นฟูที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโครงการ SEARP กับอาเซียนและองค์กรระดับภูมิภาคอื่นๆ ตลอดจนการดำเนินการเพื่อจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างอาเซียนกับ OECD ในอนาคต (เช่น โครงการ Country Programme ระยะที่ 2) 

________________________

1 OECD SEARP ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง OECD กับอาเซียนด้วยการสนับสนุนการรวมตัวของภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมกระบวนการปฏิรูปภายในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มการมีส่วนร่วมประเทศสมาชิกอาเซียนในหน่วยงานและกลไกต่างๆ ของ OECD ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี โดยครอบคลุม 13 ประเด็นสาขาความร่วมมือ เช่น การลงทุน ภาษี นวัตกรรม การฟื้นตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และ MSMEs เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธาน SEARP ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีตั้งแต่ปี 2561 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2224

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!