WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชร์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสัง

GOV 5

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชร์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) .. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน .. .... รวม 2 ฉบับ

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ

          1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) .. ....

          2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคล ซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน .. ....

          รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาในคราวเดียวกัน

          ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็น การขยายระยะเวลาลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) .. 2558 โดยลดอัตราเงินสมทบลงเหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม และขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตน ซึ่งต้องไม่เกิน กึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ .. 2565 - 31 กรกฎาคม .. 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และช่วยให้แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มที่จะเลือกส่งเงินสมทบตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นแบบสมัครใจเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 13) ได้มีมติให้ความเห็นชอบกับการปรับลดอัตราเงินสมทบตามร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว

 

TU720x100

 

          สาระสำคัญของร่างกฎหมาย

          1. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) .. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) .. 2558 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) .. 2564 สรุปได้ดังนี้

                 1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม .. 2565 ดังนี้

                          1.1.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย จ่ายเงินสมทบในอัตรา เดิม 70 บาทต่อเดือน เป็น 42 บาทต่อเดือน

                          1.1.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพจ่ายเงินสมทบในอัตรา เดิม 100 บาทต่อเดือน เป็น 60 บาทต่อเดือน

                          1.1.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา เดิม 300 บาทต่อเดือน เป็น 180 บาทต่อเดือน

                 1.2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม .. 2565 เป็นต้นไป ดังนี้

                          1.2.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

                          1.2.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา เดิม 100 บาทต่อเดือน

                          1.2.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา 300 บาทต่อเดือน

 

sme 720x100

 

          2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน .. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน เพื่อให้สอดคล้องกับการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน .. 2564 สรุป ได้ดังนี้

                 2.1 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม .. 2565 ดังนี้

                          2.1.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา เดิม 30 บาทต่อเดือน เป็น 21 บาทต่อเดือน

                          2.1.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา เดิม 50 บาทต่อเดือน เป็น 30 บาทต่อเดือน

                          2.1.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนในอัตรา เดิม 150 บาทต่อเดือน เป็น 90 บาทต่อเดือน

                 2.2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม .. 2565 เป็นต้นไป ดังนี้

                          2.2.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา 30 บาทต่อเดือน

                 2.2.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา 50 บาทต่อเดือน

                 2.2.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนในอัตรา 150 บาทต่อเดือน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2064

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!