ผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 03 February 2022 21:39
- Hits: 3235
ผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union: UPU) สมัยที่ 27 เมื่อวันที่ 9 - 27 สิงหาคม 2564 ณ กรุงอานีจานสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (โกตดิว้วร์) [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มกราคม 2563) อนุมัติให้ไทยสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ของ UPU สมัยที่ 27 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กรกฎาคม 2564) เห็นชอบการมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติ และลงนามในกรรมสารสุดท้ายของการประชุมฯ สมัยที่ 27 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (17 สิงหาคม 2564) เห็นชอบการมอบอำนาจให้ประเทศมาเลเซียทำหน้าที่แทนประเทศไทยในการลงคะแนนเสียงและข้อมติต่างๆ แบบการลงคะแนนแบบลับ (Secret Vote) เฉพาะในกรณีการลงมติเลือกตั้งในตำแหน่งสำคัญในการประชุมฯ สมัยที่ 27] โดยคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีประเทศสมาชิก UPU เข้าร่วมประชุมฯ 165 ประเทศ ซึ่งการประชุมฯ ประกอบด้วย การประชุมเต็มคณะและการประชุมคณะกรรมการ 6 คณะ สรุปได้ ดังนี้
การประชุม |
ผลการประชุม/มติที่ประชุม |
||||||||||||
1. การประชุมเต็มคณะ |
- เห็นชอบการแก้ไขกฎในการเข้าร่วมประชุมใหญ่ UPU สมัยที่ 27 โดยให้แต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมแบบทางไกลและลงมติผ่านการลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voting) ในประเด็นทั่วไป ยกเว้นการลงคะแนนแบบลับสำหรับการเลือกตั้งตำแหน่งต่างๆ ซึ่งจะทำการเลือกตั้ง ณ กรุงอาบีจานโกตดิวัวร์ - เห็นชอบให้ UPU ดำเนินการรับรองกิจกรรม UPU หมู่เกาะซากอสที่ให้เป็นดินแดนของมอริเชียส และปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร - ผลการเลือกตั้งตำแหน่งต่างๆ ของสำนักงานระหว่างประเทศ UPU ระหว่าง ปี ค.ศ. 2022 - 2025 ดังนี้
- พิจารณาข้อเสนอการแก้ไข/เพิ่มเติมรายละเอียดในเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ธรรมนูญ ข้อบังคับทั่วไป และอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ โดยไทยได้ลงนามในกรรมสารสุดท้ายภายหลังจากจบการประชุมใหญ่ฯ [ตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กรกฎาคม2564)] |
||||||||||||
2. การประชุมคณะกรรมการภายใต้ UPU |
|||||||||||||
2.1 คณะกรรมการที่ 1: การแต่งตั้งคณะผู้แทน |
- รับทราบการแต่งตั้งผู้ทำการแทนของประเทศสมาชิก 45 ประเทศ เนื่องจากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ฯ และทำการเลือกตั้ง ณ สถานที่ประชุมใหญ่ฯ (physical) ณ กรุงอาบีจาน โกตดิวัวร์ ซึ่งไทยได้แต่งตั้งให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ทำการแทนสำหรับการลงคะแนนเสียงแบบ Secret Vote เฉพาะในกรณีการลงมติเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่างๆ เช่น เลขาธิการ UPU รองเลขาธิการ UPU [ตามมติคณะรัฐมนตรี (17 สิงหาคม 2564)] |
||||||||||||
2.2 คณะกรรมการที่ 2 : การเงิน |
- เห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานการเงินในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาและข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณประจำปีของ UPU ในการทยอยจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสหประชาชาติ - อนุมัติเพดานงบประมาณประจำปีของ UPU ระหว่างปี ค.ศ. 2022 – 2025 จำนวน 38.89 ล้านฟรั่งก์สวิส และการจ่ายค่าบำรุงสมาชิก UPU |
||||||||||||
2.3 คณะกรรมการที่ 3 : นโยบายทั่วไปและการบริหารจัดการสหภาพ |
- เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์อานีจาน 4 ปีข้างหน้าและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้สัตยาบันยอมรับ และอนุมัติกรรมสาร - เห็นชอบข้อเสนอให้กำหนดโควต้าสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ อย่างละ 1 ที่นั่งของภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ให้กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปชิฟิก - ห็นชอบรายงานของคณะทำงานการขยายบทบาทไปรษณีย์ไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากภาคไปรษณีย์ และการจัดการประชุมใหญ่ วาระพิเศษ ครั้งที่ 3 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในปี ค.ศ. 2023 |
||||||||||||
2.4 คณะกรรมการที่ 4 : อนุสัญญา |
- รับทราบการพิจารณากำหนดระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยปรับแก้ไขระเบียบปฏิบัติต่างๆ เช่น การปรับปรุงคุณภาพบริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ |
||||||||||||
2.5 คณะกรรมการที่ 5: บริการทางการเงินไปรษณีย์ |
- รับทราบบทบาทของบริการทางการเงินในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการให้บริการทางการเงิน การขยายบริการให้เข้ากับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะประชาชนภาคสังคมและการพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขมาตราต่างๆ ในข้อตกลงบริการการเงินไปรษณีย์ |
||||||||||||
2.6 คณะกรรมการที่ 6 : ความร่วมมือและการพัฒนา |
- รับทราบกิจกรรมความร่วมมือและการพัฒนาต่างๆ ระหว่างปี ค.ศ. 2017-2020 การจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือและพัฒนา ประจำปี ค.ศ. 2021 นโยบายความร่วมมือและพัฒนาสำหรับปี ค.ศ. 2022 – 2025 และการปรับปรุงนโยบายกองทุนคุณภาพบริการในการจัดสรรเงินทุนให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด |
นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะว่า ไทยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาบริหารในภูมิภาคที่ 4 : เอเชียและโอเชียเนีย ทำให้ไทยสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ UPU ได้โดยตรง ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นต้องแสดงบทบาทและการมีส่วนร่วมใน UPU อย่างแข็งขันและเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมบทบาทผู้นำและการมีส่วนร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 กุมภาพันธ์ 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A2042