WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

GOV1 copy copy

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) .. ….

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) .. …. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อว. รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

          1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี .. 2551 มาตรา 3 บัญญัติให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม หมายความว่า วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิวเคลียร์ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย และสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ประกอบกับมาตรา 6 บัญญัติให้การกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม .. 2563 บัญญัติให้มีวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขา ได้แก่ (1) สาขาธรณีวิทยา และ (2) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม

          2. ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาและขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม สมควรกำหนดให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขานิติวิทยาศาสตร์และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพื่อเป็นการส่งเสริมและควบคุมการประกอบวิชาชีพดังกล่าว รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน ทั้งนี้ การกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านนิติวิทยาศาสตร์ และด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ด้วยการควบคุมดูแลความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวให้ถูกต้องตามจรรยบรรณแห่งวิชาชีพ โดยใช้กลไกในการออก การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ในการจัดการควบคุมวิชาชีพดังกล่าวได้ครอบคลุมตามหลักวิชาการที่เป็นสากล และการดำเนินการต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินระยะยาวต่อไป

          3. ในคราวประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติม (1) วิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ และ (2) วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและปฏิบัติตามแนวทาง ในการกำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเพิ่มเติมตามกฎหมายต่อไป

          4. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ..) .. …. เพื่อกำหนดให้สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้น

          5. ในคราวประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2. แล้ว

          สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 

          กำหนดให้สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1448

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!