WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26

GOV4 copy copy

ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนซ.) เสนอผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะประธานคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี 2564 เป็นประธานการประชุมและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุมฯ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมฯ และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน .. 2538] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ที่ประชุมฯ ได้มีมติอนุมัติประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานและความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโซง ภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนฯ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง .. 2564-2573 ซึ่งเป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) อนุมัติไว้ ได้แก่ 1) การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการร่วม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และ 2) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอย่างยั่งยืน .. 2564 ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

          2.  ไทยได้กล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกฯ ในการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้เน้นย้ำความสำคัญในเรื่อง 1) การบูรณาการความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในอนุภูมิภาค 2) การสนับสนุนประเทศสมาชิกในการเร่งรัดพัฒนาช่องทางการแบ่งปันข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกันใน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการผันผวนของสภาพภูมิอากาศ และ 3) การพัฒนาในมิติที่คำนึงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          3. ความสำเร็จของการประชุมฯ

                 1) ประเทศสมาชิกได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของกรอบความร่วมมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยมีความรับผิดชอบร่วมกันในการใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนฯ

                 2) ประเทศหุ้นส่วนการพัฒนาแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และแสดงข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ บนแม่น้ำโขง รวมทั้งเน้นย้ำการวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อให้มีการพิจารณาให้ครอบคลุมต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนา พร้อมทั้งชื่นชมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการดำเนินความร่วมมือเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือระหว่างลุ่มน้ำโขงตอนบนและตอนล่าง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1432

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!