WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565

GOV3 copy

มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และให้สำนักกงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          สทนช. รายงานว่า สนทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตรการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทัน นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สทนช. ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 ด้วย ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 ในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/2565 จำนวน 9 มาตรการ โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินการที่สำคัญภายใต้มาตรการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้

 

การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มาตรการ 1 เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท โดยการสูบทอยน้ำ (เป็นการสูบน้ำเป็นช่วงๆ จากแหล่งน้ำมากไปสู่แหล่งน้ำน้อย) ไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำใต้ดิน

เช่น (1) เก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำและอาคารชลประทานเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน (2) สูบน้ำเติมแหล่งน้ำ/สูบทอยน้ำบรรเทาแล้ง 146 แห่ง ปริมาณน้ำ 2.36 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี 51,518 ครัวเรือน 102,108 ไร่ (3) เติมน้ำใต้ดินระดับตื้น/บ่อวงคอนกรีต 1,040 แห่ง เติมน้ำได้ 6.63 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี (4) ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ 1,707 แห่ง และปรับปรุงและพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน และ (5) สูบน้ำส่งสมรรถนะสูง 7.12 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือได้ 24,618 ครัวเรือน

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)

มาตรการ 2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่ที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองได้ จัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร จัดทำแผนวางท่อน้ำประปา และจัดทำทะเบียนผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งวางแผนผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำเพื่อบรรเทาภาวะน้ำแล้ง โดยควรพิจารณาจัดสรรน้ำอย่างรอบคอบและให้ความสำคัญกับการใช้น้ำภายในลุ่มน้ำ

เช่น (1) สำรองปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 จัดทำข้อมูลความต้องการใช้น้ำภาคการเกษตรในเขตชลประทาน (2) อนุรักษ์ฟื้นฟู ปรับปรุง ซ่อมแซม แหล่งน้ำ 11 แห่ง (3) พัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน 2,214 แห่ง (4) พัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ 19 แห่ง ปริมาณน้ำ 10.98 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี พัฒนาน้ำบาดาล เพื่อการเกษตร 264 แห่ง ขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ 1 แห่ง และจัดหาแหล่งน้ำระยะไกล 16 แห่ง และ (5) จัดหาแหล่งน้ำสำรอง เช่น บ่อบาดาล แหล่งน้ำดิบเอกชน

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มาตรการ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม

จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ที่จังหวัดนครสวรรค์ 2 ชุด

 

กษ.

มาตรการ 4 กำหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ได้แก่ กำหนดแผนปริมาณน้ำจัดสรรในฤดูแล้งให้ชัดเจน ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการน้ำต้องคำนึงถึงระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ

เช่น (1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งที่ชัดเจนและแจ้งจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ (2) จัดทำแผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศในเขตชลประทาน 11.34 ล้านไร่ รวมทั้งกำหนดมาตรการการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและการรับน้ำเข้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของคลอง และ (3) ตรวจสอบสายทางบริเวณเลียบคันคลองชลประทาน

 

กษ. คค. ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) และ มท.

มาตรการ 5 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยจัดทำทะเบียนเกษตรกร ระบุพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจนเพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยสนับสนุนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นอันดับแรก

เช่น (1) ประกาศใช้แผนพื้นที่เพาะปลูก กำกับติดตามแผน รวมทั้งวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และ (2) ส่งเสริมพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รองรับน้ำหลากในฤดูฝนปี 2564 ประมาณ 1.20 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อย รวมทั้งส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 57,366 ไร่

 

อว. กษ. ทส. และ มท.

มาตรการ 6 เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อสนับสนุนน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี)

สำรองปริมาณน้ำสนับสนุนพื้นที่ลุ่มต่ำเตรียมแปลง 11 ทุ่ง 1,388 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

กษ.

มาตรการ 7 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สายรอง และเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหา เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ รวมทั้งควบคุมและขึ้นทะเบียนการเลี้ยงปลากระชังในแหล่งน้ำและลำน้ำ

เช่น (1) สำรวจและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ 4 แม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา และ (2) ติดตามสถานการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ

 

กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม

มาตรการ 8 ติดตามและประเมินผลเพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผน โดยรายงานเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำต่อกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) รวมทั้งติดตาม ควบคุมการจัดสรรน้ำ และการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง [นารอบที่ 2 (นาปรัง)] ให้เป็นไปตามแผน

เช่น (1) ควบคุมการระบายน้ำตามแผนการระบาย (2) ติดตามสถานการณ์เพาะปลูกพืชฤดูแล้งรายสัปดาห์ และ (3) กรณีเกิดภัยแล้ง ให้รายงานสถานการณ์และการช่วยเหลือต่อ กอนช.

 

อว. กษ. ทส. พน. มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มาตรการ 9 สร้างการรับรู้สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กำหนด ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุได้ทันที

เช่น (1) ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ 9 มาตรการ (2) ให้ความรู้ รณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และ (3) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ

 

ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

BANPU 720x100QIC 720x100

 

          2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ หรือเสี่ยงภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง

2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

พื้นที่เป้าหมาย

พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ หรือเสี่ยงภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ตามที่ กอนช. กำหนด ในพื้นที่ทั่วประเทศ หรือจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อการแก้ไข/บรรเทาปัญหาโดยเร่งด่วน หรือที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

ระยะเวลาดำเนินการ

120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

กิจกรรมและประเภทแผนงานโครงการ

1) โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง โดยซ่อมแซมอาคารที่ชำรุดเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยหรือจากการใช้งานเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ซ่อมแซมอาคารบังคับน้ำ คันกั้นน้ำ และประตูระบายน้ำ

2) โครงการการสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เช่น ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปา และก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการอุปโภคบริโภค

3) โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น คลองส่ง/ระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ

4) โครงการเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น เช่น งานขุดลอกคลอง งานก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อการเกษตร ธนาคารน้ำใต้ดิน งานระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร งานบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร และสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

แหล่งงบประมาณ

จะขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1236

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!