WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes

GOV3 copy copy

ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement: PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes โดยมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ (Lead Service Provider) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ข้อตกลงความร่วมมือฯ และเอกสารโครงการดังกล่าว ในประเต็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบผูกพันเชิงนโยบายให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          ทั้งนี้ จะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการฯ (PCA) ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เสนอโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) รอบที่ 6 (GEF-6) โดยมีโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เป็นหน่วยบริหารโครงการ (GEF Agency) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้มีหนังสือถึง สผ. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 แจ้งว่าประธานบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Chief Executive Officer) ให้การอนุมัติข้อเสนอโครงการดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          โครงการฯ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

เพื่อบูรณาการต้นทุนธรรมชาติสู่การจัดทำนโยบายและการดำเนินการของภาคเศรษฐกิจหลักทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองและบรรเทาผลกระทบจากภาคการผลิตที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการของระบบนิเวศ

เป้าหมาย

 

มีแนวทางการจัดทำนโยบายเพื่อสนับสนุนการบูรณาการต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม

และบูรณาการต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปในระบบบัญชีประชาชาติ

ขอบเขตและพื้นที่ดำเนินการ

 

โครงการฯ มุ่งเน้นใน 2 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการจัดการน้ำและได้คัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในการเป็นแหล่งน้ำลำธารครอบคลุมจนถึงพื้นที่ชายฝั่งและทะเล ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

องค์ประกอบโครงการ

 

ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำนโยบายและการสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการบูรณาการต้นทุนธรรมชาติในระดับชาติ โดยจะเป็นการพัฒนากรอบแนวคิด แผนที่นำทาง (Road map) เพื่อนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาคการท่องเที่ยว ภาคการจัดการน้ำกับการให้บริการของระบบนิเวศ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลต้นทุนธรรมชาติกับนโยบาย แผน และงบประมาณด้านการจัดการน้ำและการท่องเที่ยวของประเทศ สำหรับจัดทำเครื่องมือกลไกทางการตลาด สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลบัญชีต้นทุนธรรมชาติในนโยบายระดับชาติ

องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการบัญชีต้นทุนธรรมชาติสู่แผนพัฒนาระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เป็นการดำเนินการในระดับจังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ มุ่งเน้นภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำของจังหวัดครอบคลุมตั้งแต่ระบบนิเวศของพื้นที่ต้นน้ำจนถึงพื้นที่ชายฝั่งและทะเลการดำเนินงาน ประกอบด้วยการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในระดับจังหวัด การเสริมสร้างสมรรถนะให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้สามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเล

องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำข้อมูล การเสริมสร้างความรู้ความตระหนัก การสร้างเครือข่ายเพื่อการบูรณาการบัญชีต้นทุนธรรมชาติ และการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับบัญชีต้นทุนธรรมชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 1 และ 2 ทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด

ผลสัมฤทธิ์

 

บัญชีต้นทุนธรรมชาติในภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำที่จะนำไปบูรณาการสู่การจัดทำนโยบายระดับชาติและระดับท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาแผนการจัดการ กลไกการตัดสินใจ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระดับจังหวัด บนพื้นฐานของการให้ความรู้ การสร้างกลไกและนโยบาย และข้อมูลการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งและแหล่งน้ำสะอาด รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับต้นทุนธรรมชาติแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

1. สผ. เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ (The Executing Agency)

2. โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารโครงการ

3. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการ (Lead Service Provider)

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งให้ความร่วมมือและร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (In-kind) ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดกระบี่

งบประมาณและแหล่งที่มา

 

รวมทั้งสิ้น 8.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นทุนที่ได้รับจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) จำนวนเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีเงื่อนไขในการให้การสนับสนุน คือ ผู้เสนอโครงการจะต้องสนับสนุนงบประมาณสมทบ (co-financing) ในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) เป็นจำนวน 3 เท่าของวงเงินที่ได้รับ โดย สผ. ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ (The Executing Agency) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร มูลค่าทรัพยากรการดำเนินงาน ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม รวมมูลค่าทั้งสิ้น 6.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

 

54 เดือน นับจากวันที่มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือโครงการ

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนอื่น

 

1. ในระดับชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่องการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีแนวทางการประเมินมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560 - 2564)

2. ในระดับโลก เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งเสริมให้มีการประเมินมูลค่าทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเพื่อจัดทำมาตรการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1225

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!