WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล

GOV

ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion: GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) (การประชุมสุดยอดผู้นำฯ ครั้งที่ 7) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สศช. รายงานว่า การประชุมสุดยอดผู้นำฯ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานการประชุมและประธานธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมการประชุม ซึ่งในส่วนของไทยมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุม

          สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ 3 ฉบับ โดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้ ผู้นำ 6 ประเทศ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานต่อไปของแผนงาน GMS ดังนี้

 

ผู้นำประเทศ

 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

(1) นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา

 

1) เน้นย้ำการคว้าโอกาสภายใต้บริบทเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันบนฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาทักษะแรงงานในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

2) ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ และเห็นว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นแนวทางสำคัญในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาโครงการที่มีความสำคัญสูงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากโควิด-19 .. 2564-2566 จะส่งผลให้การเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และสาธารณสุขในอนุภูมิภาค GMS เป็นไปอย่างราบรื่นและกลับคืนสู่สภาวะปกติ

(2) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน)

 

1) เน้นย้ำเจตนารมณ์ของจีนในการกระชับและส่งเสริมความร่วมมือในทุกมิติกับประเทศเพื่อนบ้านใน GMS โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการหารือในทุกระดับ รวมทั้งการยกระดับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งรัดการให้สัตยาบันต่อความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของประเทศภาคีและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2) เน้นย้ำความสอดประสานของแผนงาน GMS และกรอบความร่วมมือต่างๆ เช่น ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง

(3) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

 

เน้นย้ำการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัดกุมเพื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงการยกระดับความร่วมมือเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมสำหรับการสร้างเศรษฐกิจฐานคุณค่าและการเตรียมอนุภูมิภาคให้พร้อมกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอนาคต

(4) ประธานสภาบริหารแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา)

 

เน้นย้ำความสำเร็จของแผนงานความร่วมมือ GMS ที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา นอกจากนี้ได้เน้นย้ำความพยายามของรัฐบาลในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงการเติมเต็มข้อตกลงต่างๆ ที่เมียนมาเป็นสมาชิกหรือภาคี

(5) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 

1) เน้นย้ำความร่วมมือของประเทศสมาชิกเพื่อขับเคลื่อน GMS ผ่านความร่วมมือหลากหลายสาขา การสร้างความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และดิจิทัล ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตกที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

2) เสนอให้มีการจัดตั้งเวทีระดับสูงระหว่างประเทศสมาชิก GMS และหุ้นส่วนการพัฒนาเพื่อกระชับความสัมพันธ์และระดมทรัพยากรทางการเงินในการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

(6) ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย

 

1) นำเสนอบทบาทสำคัญของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank: ADB) ในการขับเคลื่อนแผนงานความร่วมมือ GMS ผ่านการให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการต่างๆ จำนวน 27.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

2) ประเด็นสำคัญเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ เช่น การส่งเสริมการเติบโตด้านสุขภาพและการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน และการส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ

(7) นายกรัฐมนตรีไทย

 

1) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งเพื่อการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อทั้งในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอื่นๆ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งจะเป็นช่องทางส่งออกและนำเข้าสินค้าแห่งใหม่ของ GMS ทั้งนี้ ไทยมีความพร้อมในการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกับจีนและ สปป. ลาว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและขยายห่วงโช่มูลค่าในอนุภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก GMS และ ADB เร่งผลักดันการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดน GMS สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

2) เร่งพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อมุ่งสู่อนุภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ภาคธุรกิจทุกระดับปรับตัวเพื่อให้ GMS มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ไทยได้พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง

3) ผลักดันให้ GMS เป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน มีความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอนุภูมิภาคจากโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ทั้งนี้ ไทยได้จัดทำแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 .. 2564-2566 ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลการดำเนินงานใน GMS อีกทางหนึ่ง รวมทั้งความร่วมมือชายแดน GMS ปลอดภัยผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการเพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในระดับภูมิภาค รวมทั้งได้กำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) เป็นวาระแห่งชาติด้วย

 

BANPU 720x100QIC 720x100

 

          2.ผลลัพธ์ความสำเร็จของแผนงาน GMS มีดังนี้

                 2.1 ความเชื่อมโยง ได้พัฒนาโครงการในสาขาคมนาคมขนส่งแล้วเสร็จ จำนวน 11 โครงการ มีมูลค่ารวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 54 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ผลักดันการดำเนินงานในระยะแรกของความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน (Cross-Border Transport Agreement: CBTA) สู่การปฏิบัติแล้วเสร็จ ในส่วนของด้านพลังงาน ได้มุ่งสู่การเป็นแหล่งซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคโดยหลายประเทศได้เริ่มซื้อขายไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 3 ฝ่าย ไทย-สปป. ลาว-มาเลเซีย รวมทั้งบูรณาการการพัฒนา พลังงานหมุนเวียนใน GMS และจัดทำแผนแม่บทด้านพลังงานของ GMS ในระยะต่อไป

                 2.2 ความสามารถในการแข่งขัน ได้กำหนดมาตรฐานการเพาะปลูก ความปลอดภัยด้านปศุสัตว์ การประกันคุณภาพ และสนับสนุนการเกษตรที่ปรับตัวตามสภาพภูมิอากาศซึ่งดำเนินการตามหลักการการเกษตรยั่งยืนและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ธุรกิจ Startup เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ นอกจากนี้ ได้พัฒนาเมืองอัจฉริยะและผลักดันเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ที่ยั่งยืนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

                 2.3 ความเป็นประชาคม มุ่งดำเนินโครงการที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สนับสนุนการปรับภูมิประเทศที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ และใช้เทคโนโลยีสีเขียว และเครื่องมือทางการเงินสีเขียวในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำการสร้างประชาคม GMS ที่มีภูมิคุ้มกันต่อการแพร่ระบาดในอนาคตและพัฒนา BCG Economy

                 2.4 การพัฒนาพื้นที่และระเบียงเศรษฐกิจ ได้จัดทำการศึกษานำร่องการวางแผนเฉพาะส่วนเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้เชื่อมโยงเมียนมา-สปป. ลาว-จีน เพื่อเปิดรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ ได้ปรับเส้นทางใหม่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ และประเมินโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ต่อไป

                 2.5 กรอบการลงทุนในภูมิภาค .. 2565 ประกอบด้วยโครงการต่างๆ จำนวน 204 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการที่มีแหล่งเงินทุนและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 155 โครงการโครงการที่ได้รับความสนใจในการร่วมลงทุนจากภาคเอกชน จำนวน 15 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างรองบประมาณ 34 โครงการ

                 2.6 การจัดทำเอกสารเชิงยุทรศาสตร์ ได้แก่ (1) กรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง .. 2573 ซึ่งได้ประเมินกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนา GMS ในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการคว้าโอกาสภายใต้บริบทเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันบนฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัดกรรม และ (2) แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคควิด-19 .. 2564 – 2566 ซึ่งนำเสนอเสาหลักสุขภาพหนึ่งเดียวอันเป็นแนทางการพัฒนาสุขภาพของประชาชนและปศุสัตว์ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาการเพาะปลูกพืชผลเพื่อความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางการพัฒนาคุณภาพความเป็นเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1223

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!