WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....

GOV5 copy copy

แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้

          1. เห็นชอบแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร .. .... ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ

          2. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับร่างพระราชบัญญัติ การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร .. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่าตามแนวทางในข้อ 1. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย .. 2562 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ

          ทั้งนี้ แนวทางการยกร่างฯ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และ 29 มิถุนายน 2564 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน โดยให้รับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม .. .... ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหลักการในข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ ไปประกอบการพิจารณา ยกร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ เป็นร่างพระราชบัญญัติ การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร .. ....” ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำหไร เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน รวมทั้งกำหนดกลไกใน การกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

 

เจนเนอราลี่

 

          สาระสำคัญของแนวทางการยกร่างฯ 

          เป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

1. บทนิยาม

องค์กรไม่แสวงหากำไรหมายความว่า คณะบุคคลภาคเอกชนซึ่งรวมกลุ่มกันจัดตั้งในรูปแบบ ใดๆ ที่มีบุคคลร่วมดำเนินงานเพื่อจัดทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม โดยไม่มุ่งแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แต่ไม่รวมถึงการรวมกลุ่มของคณะบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมเป็นการเฉพาะคราว หรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะเพื่อประโยชน์ของคณะบุคคลนั้น หรือพรรคการเมือง

2. ผู้รักษาการ ตามกฎหมาย

กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษา การตามพระราชบัญญัตินี้

3. ขอบเขตการใช้บังคับ

กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายโดยเฉพาะ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะนั้นแล้ว ให้อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย

4. การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร

- กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไรซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ และให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร การเสนอความเห็นและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อคณะรัฐมนตรี ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรไม่แสวงหากำไร การสนับสนุนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรทำหน้าที่ในด้าน ประชาสังคม เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เป็นต้น

- กำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ขององค์กรไม่แสวงหากำไร ได้แก่ (1) การสนับสนุนเงินทุน แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการฯ กำหนด โดย คณะกรรมการฯ จะทำหน้าที่ประสานงานด้านเงินทุนกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือแหล่งเงินทุนอื่น และ (2) องค์กรไม่แสวงหากำไรและผู้สนับสนุนองค์กรไม่แสวงหา

กำไรอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น

5. กลไกกำกับดูแลองค์กร

ไม่แสวงหากำไร

- กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อขององค์กร วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีดำเนินงาน แหล่งที่มาของเงินทุน และรายชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ให้หน่วยงานของรัฐและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย

- กำหนดข้อห้ามสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยต้องไม่ดำเนินงานในลักษณะดังต่อไปนี้

       (1) กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจหรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

       (2) กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม

       (3) กระทบต่อประโยชน์สาธารณะรวมทั้งความปลอดภัยสาธารณะ

       (4) เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมาย

       (5) เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุขของบุคคลอื่น

- กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้

       (1) ต้องแจ้งชื่อแหล่งเงินทุนต่างประเทศ บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้จ่ายต่อนายทะเบียน

       (2) ต้องรับเงินผ่านบัญชีของธนาคารตามที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแจ้งไว้ต่อนายทะเบียน

       (3) ต้องใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้ง ต่อนายทะเบียน

       (4) ต้องไม่ใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะการแสวงหาอำนาจรัฐ หรือเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง

- กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีรายได้จากการรับเงินบริจาคจากบุคคลทั่วไป หรือ จากแหล่งเงินทุนต่างประเทศมีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละรอบปีปฏิทิน และเปิดเผยบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย โดยต้องเก็บรักษาบัญชีรายรับรายจ่าย นั้นไว้ให้สามารถตรวจสอบได้เป็นเวลาสามปี

6. มาตรการบังคับและโทษ

- กรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรไม่ดำเนินการตามหน้าที่หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนแจ้งเตือนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรดำเนินการตามหน้าที่ หรือหยุดการดำเนินการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว หากองค์กรไม่แสวงหากำไรยังไม่ดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนดหรือยังคงดำเนินการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามต่อไป ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งให้องค์กรไม่แสวงหากำไรนั้นหยุดการดำเนินกิจกรรม หรือยุติการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรนั้นได้ แล้วแต่กรณี

- กำหนดโทษปรับทางอาญาสำหรับกรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรไม่หยุดการดำเนินกิจกรรม หรือไม่ยุติการดำเนินงานตามคำสั่งของนายทะเบียน และกำหนดให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องรับโทษเช่นเดียวกับองค์กร ไม่แสวงหากำไรด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1058

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!