WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

GOV5 copy

ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 12 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโดยกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤศจิกายน 2564) เห็นขอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกียวข้อง 7 ฉบับ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองและลงนามเอกสารดังกล่าว] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญตามที่ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 51 และครั้งที่ 52 เสนอ โดยมีผลสำเร็จของการประชุม ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

1. ด้านการขนส่งทางอากาศ (การเสริมสร้างการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน)

 

รับทราบ ดังนี้

1) ข้อสรุปของการจัดทำพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียนซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีบริการเสริมด้านการขนส่งทางอากาศของอาเซียน

2) ความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนแม่บทการเดินอากาศอาเซียนซึ่งมีเป้าหมายในการจัดการจราจรทางอากาศไร้รอยต่อเพื่อส่งเสริมการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน

2. ด้านการขนส่งทางบก

(การบูรณาการการขนส่งที่ยั่งยืนและการวางแผนการใช้พื้นที่)

 

1) รับรองเอกสารด้านการขนส่งที่ยั่งยืน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) แนวทางการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาแผนการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืนในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียนและ (2) ชุดเครื่องมือสำหรับการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านการขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน

2) รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้ออกแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการขนส่งในเมืองที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนจัดทำและดำเนินการตามโมเดลของเอกสารทั้ง 2 ฉบับข้างต้น เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการขนส่งที่ยั่งยืนและการวางแผนการใช้พื้นที่ในภูมิภาคอาเซียน

3. ด้านการขนส่งทางน้ำ

(การเชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำอย่างบูรณาการ)

 

รับทราบ ดังนี้

1) ผลการศึกษาวิเคราะห์ตัวขี้วัดประสิทธิภาพของท่าเรือโครงข่ายอาเซียนซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกตัวชี้วัด ตั้งแต่ปี 2548 - 2562

2) ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าของโลกเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือเพิ่มขึ้น โดยอาเซียนมีความพยายามในการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อรับมือกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อบรรเทาผลกระทบ

4. ด้านการอำนวยความสะดวกการขนส่ง (การส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของสินค้า และการขนส่งข้ามแดนของผู้โดยสารในอาเซียน)

 

1) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันพิธีสาร 2 (ด่านพรมแดนที่กำหนด) ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนครบถ้วนและมีผลใช้บังคับแล้ว และจะให้สัตยาบันพิธีสาร 6 (สถานีรถไฟและสถานีชุมทาง) ต่อไป ซึ่งจะเป็นการให้สัตยาบันพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียนครบทุกฉบับ

2) รับทราบผลการดำเนินโครงการระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ซึ่งยังมีข้อจำกัดของการขนส่งข้ามพรมแดนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน

5. การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

 

รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สรุปได้ ดังนี้

1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (.. 2561 - 2580) และโครงการด้านการขนส่งที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เช่น ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (N-Flow) ระบบควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล และการจัดทำแผนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง อีกทั้งได้เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของแต่ละประเทศซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่การเติบโตที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และครอบคลุม

2) รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจากประเทศต่างๆ เช่น

- ราชอาณาจักรกัมพูชากล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับความเร็วรถบรรทุกและการใช้แอปพลิเคชันในการบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน

- สาธารณรัฐอินโดนีเซียเน้นย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยได้จัดทำแผนระดับชาติเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง

- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเน้นย้ำความโปร่งใสด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ

- มาเลเซียกล่าวถึงมาตรการในการใช้ดิจิทัล 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดการคลังสินค้าออนไลน์ การติดตามสถานะสินค้าในท่าเรือแบบเป็นปัจจุบัน (real time) และเขตการค้าเสรีดิจิทัล

- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้จัดให้การขนส่งเป็นงานที่จะเริ่มดำเนินการในลำดับต้น พร้อมทั้งได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ เลขาธิการอาเชียนได้เสนอแนวทางสำหรับการขนส่ง 2 ข้อ คือ การเปิดประเทศเพื่อการเดินทางและการใช้เทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเปิดประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

QIC 720x100

 

          2. การประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

                 1) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน ครั้งที่ 20 ที่ประชุมยืนยันความสำคัญของการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-จีน และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางอากาศระหว่างกันและสนับสนุนให้พิจารณาความเป็นไปใด้ในการเปิดเสรีการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งได้รับรองหลักการของแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ปี 2564 - 2568 ฉบับปรับปรุงซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียนและแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี 2559 – 2568 (แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน)

                 2) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 19 ญี่ปุ่นสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์กัวลาลัมเปอร์ฯ ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น อย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการและให้การรับรองรายงานฉบับสุดท้ายว่าด้วยการศึกษาการทดสอบระบบสาธิตการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเกินด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและแนวปฏิบัติอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการตรวจประเมินมาตรฐานการบริหารจัดการโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิโดยแผนงานดังกล่าวมีโครงการใหม่ 1 โครงการ คือ โครงการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการยกระดับการขนส่ง นอกจากนี้ ได้รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น

                 3) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 12 ที่ประชุมรับทราบผลการประชุมความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ซึ่งสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในด้านการขนส่งที่ยั่งยืนและโลจิสติกส์ดิจิทัลเพื่อช่วยฟื้นฟูการเชื่อมโยงทางการค้าและการฟื้นตัวจากโควิด-19 และรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ปี 2564 – 2568 โดยให้ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้มีการเปิดเสรี มากขึ้นและมีการแลกเปลี่ยนสิทธิการบินที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 มกราคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A1039

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!