การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 29 December 2021 12:33
- Hits: 11681
การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำและลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ประจำปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กก. รายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ฝ่ายจีน) ได้มีหนังสือแจ้งผลการอนุมัติโครงการของประเทศไทยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation Special Fund) (กองทุนฯ) ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 13 โครงการ ซึ่งประกอบด้วยโครงการของ กก. จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ “มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (“Mekong Destinations Standards for Sustainable Tourism Development”) และประสงค์ให้ กก. (ฝ่ายไทย) พิจารณาลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 ให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อให้ความร่วมมือล้านช้าง – แม่น้ำโขงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม |
หลักการเบื้องต้น |
เพื่อสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันให้เกิดสันติภาพและความมั่นคั่งในอนาคตต่อสมาชิกแม่โขง – ล้านช้าง และปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การร่วมมือกัน การช่วยเหลือกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ |
กรอบความร่วมมือ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนได้พิจารณาให้ทุนสนับสนุนโครงการประจำปี พ.ศ. 2564 ของฝ่ายไทยตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่ “มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” งบประมาณ 368,300 ดอลลาร์สหรัฐ |
หน่วยงานดำเนินการ |
ฝ่ายไทยได้กำหนดให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยมีหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินการ การพัฒนากิจกรรม และการจัดการกองทุนฯ ของโครงการที่ได้รับอนุมัติดังกล่าว |
การจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณ |
ฝ่ายจีนจะจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเต็มให้กับฝ่ายไทย (กก.) ภายใน 20 วันทำการ หลังจากที่ได้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 และฝ่ายไทยจะแจ้งการได้รับการจ่ายเงินอย่างเป็นทางการภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับการจ่ายเงิน และกำหนดความรับผิดชอบให้แนวทางหน่วยงานดำเนินโครงการตามแผน ระยะเวลา และงบประมาณของโครงการ |
การบริหารกำกับดูแลและประเมินผลโครงการ |
ฝ่ายไทยจะกำหนดแนวทางและดูแลการตรวจสอบหน่วยงานดำเนินโครงการในเรื่องความก้าวหน้าของโครงการ ประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ การใช้งบประมาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดและจะแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบ หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดปัญหาในระหว่างการดำเนินโครงการ รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานดำเนินโครงการส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลการดำเนินโครงการและกองทุนฯ ให้แก่สาธารณชน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะเร่งรัดหน่วยงานดำเนินโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการรวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หลังโครงการเสร็จสมบูรณ์ และนำส่งงบประมาณส่วนที่เหลือจ่ายให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ |
ระยะเวลา |
มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ลงนาม |
3. โครงการมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง (มาตรฐานฯ) เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mekong Destinations Standards for Sustainable Tourism Development) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงการ |
(1) ฝึกอบรมบุคลากร (2) สร้างพื้นที่ความร่วมมือ (3) สร้างความร่วมมือเชิงรูปธรรมและ (4) สร้างมาตรฐานร่วมกัน |
||||||||||||||||||||||
ประเทศร่วมดำเนินการ |
ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน |
||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
- ออกแบบมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยคำนึงถึงบริบทของภูมิภาคเอเซียเป็นหลัก - ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมผ่านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การท่องเที่ยวอาสาสมัคร เป็นต้น - เพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว หรือ Destination Management Organizations (DMOS) ที่มีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งโดยใช้แนวทางและเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในอนุภูมิภาค |
||||||||||||||||||||||
แผนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ระยะเวลา 2 – 3 ปี) |
|
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12974