WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2564

GOV

การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขงล้านช้าง ประจำปี .. 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำและลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ประจำปี .. 2564 ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี .. 2564 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กก. รายงานว่า

          1. สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ฝ่ายจีน) ได้มีหนังสือแจ้งผลการอนุมัติโครงการของประเทศไทยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation Special Fund) (กองทุนฯ) ประจำปี .. 2564 จำนวน 13 โครงการ ซึ่งประกอบด้วยโครงการของ กก. จำนวน 1 โครงการ ได้แก่มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (“Mekong Destinations Standards for Sustainable Tourism Development”) และประสงค์ให้ กก. (ฝ่ายไทย) พิจารณาลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี .. 2564 ภายในเดือนธันวาคม .. 2564

          2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี .. 2564 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ประจำปี .. 2564 ให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อให้ความร่วมมือล้านช้างแม่น้ำโขงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

หลักการเบื้องต้น

เพื่อสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันให้เกิดสันติภาพและความมั่นคั่งในอนาคตต่อสมาชิกแม่โขงล้านช้าง และปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การร่วมมือกัน การช่วยเหลือกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ

กรอบความร่วมมือ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนได้พิจารณาให้ทุนสนับสนุนโครงการประจำปี .. 2564 ของฝ่ายไทยตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนงบประมาณ 368,300 ดอลลาร์สหรัฐ

หน่วยงานดำเนินการ

ฝ่ายไทยได้กำหนดให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยมีหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินการ การพัฒนากิจกรรม และการจัดการกองทุนฯ ของโครงการที่ได้รับอนุมัติดังกล่าว

การจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณ

ฝ่ายจีนจะจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเต็มให้กับฝ่ายไทย (กก.) ภายใน 20 วันทำการ หลังจากที่ได้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี .. 2564 และฝ่ายไทยจะแจ้งการได้รับการจ่ายเงินอย่างเป็นทางการภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับการจ่ายเงิน และกำหนดความรับผิดชอบให้แนวทางหน่วยงานดำเนินโครงการตามแผน ระยะเวลา และงบประมาณของโครงการ

การบริหารกำกับดูแลและประเมินผลโครงการ

ฝ่ายไทยจะกำหนดแนวทางและดูแลการตรวจสอบหน่วยงานดำเนินโครงการในเรื่องความก้าวหน้าของโครงการ ประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ การใช้งบประมาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดและจะแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบ หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดปัญหาในระหว่างการดำเนินโครงการ รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานดำเนินโครงการส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลการดำเนินโครงการและกองทุนฯ ให้แก่สาธารณชน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะเร่งรัดหน่วยงานดำเนินโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการรวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หลังโครงการเสร็จสมบูรณ์ และนำส่งงบประมาณส่วนที่เหลือจ่ายให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ

ระยะเวลา

มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ลงนาม

 

 

BANPU 720x100

 

          3. โครงการมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง (มาตรฐานฯ) เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mekong Destinations Standards for Sustainable Tourism Development) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

ประเภทโครงการ

(1) ฝึกอบรมบุคลากร (2) สร้างพื้นที่ความร่วมมือ (3) สร้างความร่วมมือเชิงรูปธรรมและ (4) สร้างมาตรฐานร่วมกัน

ประเทศร่วมดำเนินการ

ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน

วัตถุประสงค์

- ออกแบบมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยคำนึงถึงบริบทของภูมิภาคเอเซียเป็นหลัก

- ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมผ่านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การท่องเที่ยวอาสาสมัคร เป็นต้น

- เพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว หรือ Destination Management Organizations (DMOS) ที่มีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งโดยใช้แนวทางและเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในอนุภูมิภาค

 

แผนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ระยะเวลา 2 – 3 ปี)

 

ระยะ

ผลผลิต

 

กิจกรรม

ระยะที่ 1

ร่างมาตรฐานฯ

 

- จัดตั้งคณะทำงานและคัดเลือกพื้นที่นำร่อง

- ศึกษามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว

สร้างความพร้อมให้แก่หน่วยงานจัดการแหล่งท่องเที่ยวและภาคีเครือข่าย

 

ฝึกอบรมและศึกษาดูงาน

ระยะที่ 2

มาตรฐานฯ ฉบับสมบูรณ์

 

- จัดทำแบบประเมินค่าเริ่มต้น (Baseline Assessment) ในพื้นที่นำร่อง

- วางแผนงานและงบประมาณ

- ปฏิบัติตามแผนและติดตามประเมินผล

ระยะที่ 3

แหล่งท่องเที่ยวได้การรับรองมาตรฐาน

 

- ดำเนินการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานฯ

ประชาสัมพันธ์และทำการตลาดเกี่ยวกับมาตรฐานฯ

 

- ออกร้านในงานส่งเสริมการข่ายการท่องเที่ยว (Travel Mart)

- เข้าร่วมงานประชุมที่เกี่ยวข้อง

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12974

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!