ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง พ.ศ. 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 29 December 2021 12:15
- Hits: 11774
ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP)] ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง พ.ศ. 2564 (Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2021) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวกับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทยตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศตั้งกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง (MLC Special Fund) (กองทุนฯ) และกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับเงินสนับสนุนเมื่อปี พ.ศ. 2559 เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านต่างๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านข้าง ซึ่งที่ผ่านมาส่วนราชการของประเทศได้เสนอโครงการเพื่อขอรับกรสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนดังกล่าว และได้รับการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2564 มีโครงการของประเทศไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 13 โครงการ จาก 5 กระทรวง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1 โครงการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 7 โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 1 โครงการ และกระทรวงศึกษาธิการ 1 โครงการ) โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP)]” จำนวน 406,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13.70 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564) โดยจะต้องจัดทำร่างบันทึกความใจ ว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy (SEP)] ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง พ.ศ. 2564 เพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพและเอื้อให้ความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยระบุรายละเอียด เช่น กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ จีนจะชำระเงินเต็มจำนวนให้แก่ฝ่ายไทย จำนวน 406,700 ดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 20 วันทำการ ฝ่ายไทยจะเร่งให้มีการดำเนินโครงการฯ ตามแผน ระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบการขอรับเงินสนับสนุนจากจีนภายใต้กองทุนฯ แล้ว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 (แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ)
มท. ได้จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Integrated Sustainable Development of Quality of Life Based on Sufficiency Economy Philosophy) (โครงการฯ) เพื่อขอรับจัดสรรทุนจากกองทุนฯ ซึ่งโครงการฯ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศสมาชิกกรอบแม่โขง - ล้านช้าง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการแก้ปัญหาความยากจน และเพิ่มขีดความสามารถของคนในชุมชนโดยมีเป้าหมายในการบริหารจัดการชุมชนที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียดโครงการสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยใช้ SEP เป็นแนวทางในการดำเนินการ |
||||||||||||||||||
ประเทศที่ร่วมดำเนินการ |
ไทย จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม |
||||||||||||||||||
กิจกรรมหลัก |
1. การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน 3. การส่งเสริมภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เป้าหมาย |
||||||||||||||||||
แผนการดำเนินการ |
|
||||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง |
1. เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการขจัดความยากจนในกลุ่มประเทศแม่โขง – ล้านช้าง 2. แต่ละประเทศในกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง มีรูปแบบการขจัดความยากจนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในแต่ละประเทศ 3. คนในชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถจัดการชุมชนได้เอง |
ต่อมากองทุนฯ ได้อนุมัติโครงการฯ งบประมาณจำนวน 406,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13.70 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564) ซึ่งในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จะต้องจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่าง มท. กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการดำเนินโครงการฯ ภายใต้กองทุนฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพและเอื้อให้ความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม |
หลักการพื้นฐาน |
เพื่อสร้างสังคมที่มีอนาคตและเป้าหมายร่วมกันในการสร้างสันติภาพ และปฏิบัติตามเจตนารมณ์จากการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็น การประสานงาน การมีส่วนร่วมและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเคารพกฎหมายและข้อบังคับของทั้งประเทศ และร่วมกันจัดโครงการและงบประมาณจากกองทุนฯ |
โครงการที่ได้รับ การอนุมัติ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนได้พิจารณาให้ทุนสนับสนุน “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยงบประมาณจำนวน 406,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13.70 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564) |
หน่วยงานดำเนินโครงการ |
ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้ มท. (กรมการพัฒนาชุมชน) เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการฯ และรับผิดชอบในการวางแผน การดำเนินการ และกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการฯ |
การจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณ |
ฝ่ายจีนจะชำระเงินเต็มจำนวนให้แก่ฝ่ายไทย จำนวน 406,700 ดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 20 วันทำการ หลังจากที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ และฝ่ายไทยจะแจ้งยืนยันการรับเงินอย่างเป็นทางการภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับเงิน โดยหน่วยงานดำเนินโครงการฯ จะใช้เงินทุนอย่างเหมาะสมตามงบประมาณและแผนการดำเนินโครงการฯ ที่ได้รับอนุมัติ |
การดำเนินการโครงการฯ |
ฝ่ายไทยจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการระบุขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการฯ และเร่งให้ดำเนินโครงการฯ ตามแผน ระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด และจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการฯ จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ เป็นระยะและแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบตามความเหมาะสม |
การกำกับดูแลและการตรวจสอบ |
จะดำเนินการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการฯ ประสิทธิผลของการดำเนินการและการปฏิบัติตามมาตรการการใช้เงินทุน และอาจมีการสุ่มตรวจโครงการฯ ตามหลักฉันทามติ ทั้งนี้ปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากดำเนินโครงการฯ จะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นมิตรผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ |
การตอบรับโครงการ และการประเมินผล การปฏิบัติงาน |
- ฝ่ายไทยจะเร่งให้หน่วยงานดำเนินการส่งรายงานโครงการฯ ขั้นสุดท้าย สรุปบัญชีและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการฯ ภายใน 2 เดือนหลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ - ยอดเงินคงเหลือในบัญชีสุดท้ายของโครงการฯ จะถูกส่งคืนไปยังบัญชีที่ฝ่ายจีนกำหนดภายใน 3 เดือนหลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ |
การทบทวนและการแก้ไข |
ทั้งสองฝ่ายอาจเสนอให้มีการทบทวนหรือแก้ไขบันทึกความเข้าใจในรูปแบบลายลักษณ์อักษรเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ |
พันธะการปฏิบัติ |
ไม่เป็นการสร้างภาระผูกมัดทางกฎหมายใดๆ ต่อทั้งสองฝ่าย และไม่ถือเป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ |
ระยะเวลา |
มีผลบังคับใช้เป็นวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ลงนาม และขยายเวลาอีก 5 ปีโดยอัตโนมัติ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12972