WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ วาระปี 2565 – 2569

GOV4 copy

ร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ วาระปี 2565 – 2569

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ วาระปี 2565 – 2569 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่าง UNSDCF ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยก่อนการลงนาม อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม UNSDCF วาระปี 2565 – 2569 ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ร่วมกับผู้ประสานงานสหประชาชาติ (United Nations Resident Coordinator – UNRC) ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานของสหประชาชาติภายใต้ UNCT ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. เนื้อหาของร่าง UNSDFC วาระปี 2565 – 2569 เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ โดยทีมงานสหประชาชาติ (United Nations Country Team – UNCT) ประจำประเทศไทย จำนวน 21 หน่วยงาน ในช่วงระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยการจัดทำร่าง UNSDCF ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นกับการประกันให้เอกสารดังกล่าวสอดคล้องกับผลประโยชน์และแนวทางการพัฒนาของไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ของไทย โดยผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์และจุดเน้น (strategic outcomes and focus areas) ของร่าง UNSDCF ประกอบด้วย

 

EXIM One 720x90 C J

 

                ผลลัพธ์ที่ 1 : การผลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจที่ครอบคลุมบนฐานของการเร่งรัดการพัฒนา สีเขียว มีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตสูง ปล่อยคาร์บอนต่ำและมีความยั่งยืน โดยมีจุดเน้น 2 ด้าน ได้แก่ (1) สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและยั่งยืนบนพื้นฐานของโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular – Green (BCG) Economy Model) ของไทย และ (2) ส่งเสริมขีดความสามารถเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีภูมิคุ้มกัน สามารถฟื้นตัวจากภัยพิบัติ และมีขีดความสามารถปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้

                 ผลลัพธ์ที่ 2 : การพัฒนาทุนมนุษย์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาทางสังคมที่ครอบคลุมได้รับการยกระดับผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบัน ภาคีความร่วมมือ และการเสริมพลังประชาชน โดยมีจุดเน้น 2 ด้าน ได้แก่ (1) ปรับปรุงการเข้าถึง การตอบสนอง และคุณภาพของบริการสาธารณะ เพื่อให้เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และ (2) เสริมสร้างพลังของประชาชนผ่านความรู้และโครงสร้างด้านดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

                 ผลลัพธ์ที่ 3 : ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ โดยมีจุดเน้น 2 ด้าน ได้แก่ (1) สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน อยู่บนพื้นฐานของสิทธิ และเปิดกว้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียม และลดความยากจน และ (2) ส่งเสริมธรรมาภิบาล และนิติธรรม เพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

GC 720x100

 

          2. ภายหลังการลงนามเอกสาร UNSDCF วาระปี 2565 – 2569 หน่วยงานไทยสามารถร่วมดำเนินการและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานสหประชาชาติที่รับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีกลไกที่สำคัญ ได้แก่ (1) คณะกรรมการสามฝ่าย (Tripartite Committee) ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง และ UNCT โดยมีประธานร่วมของคณะกรรมการฯ และคณะอำนวยการขับเคลื่อน (Steering Group) ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ UNRCO (2) คณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนผลลัพธ์ (Outcome Groups) จำนวน 3 คณะ ซึ่งจัดตั้งขึ้นอย่างสอดคล้องกับผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ของ UNSDCF เพื่อนำ UNSDCF ไปสู่การปฏิบัติ โดยแต่ละคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนผลลัพธ์มีประธานร่วมประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย 2 – 3 หน่วยงาน ซึ่งจะหารือกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อวางแผนและรายงานผล รวมทั้งหารือร่วมกับคณะอำนวยการขับเคลื่อนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ (3) คณะประสานงานหลัก (Core Coordination Mechanisms) ภายในของสหประชาชาติ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะประสานงานด้านข้อมูลและติดตามผล (Data and Monitoring Group) คณะประสานงานด้านการสื่อสารของสหประชาชาติ (UN Communications Group) และคณะประสานงานด้านการบริหารจัดการ (Operations Management Team) นอกจากนั้น ยังกำหนดให้สามารถจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะเรื่อง (UN thematic groups) เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินงานในประเด็นเฉพาะ

          3. ร่าง UNSDCF กำหนดข้อผูกพันต่อรัฐบาลไทยในการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานสหประชาชาติ และการให้สิทธิ์และความคุ้นกันแก่เจ้าหน้าที่และทรัพย์สินของหน่วยงานสหประชาชาติ โดยงบประมาณในการดำเนินการภายใต้ร่าง UNSDCF จะได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยภายใต้แผนงานของแต่ละโครงการเป็นรายปี จึงมิได้ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณเพิ่มเติมหรือการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่เกินกว่าความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและหน่วยงานสหประชาชาติที่มีอยู่แล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12971

 Click Donate Support Web

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!