WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

GOV8

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) .. ….

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้

          1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) .. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป

          2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ

          3. ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษารับความเห็นของกระทรวงการคลัง และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการดำเนินการตาม มติคณะรัฐมนตรี (7 เมษายน 2564) โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา .. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอาจให้ทุนการศึกษาแทนการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ ในกรณีของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และการชำระเงินคืนกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การชำระหนี้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นการเสริมสร้างคุณภาพของทรัพยากรบุคคลในประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้มีมติเห็นชอบในหลักการการขอจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้ว

 

QIC 720x100

 

          สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 

          แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา .. 2560 โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

          1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามและวัตถุประสงค์ของ กยศ. ดังนี้

                  1.1 แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่านักเรียนหรือนักศึกษา และ สถานศึกษาเพื่อให้รองรับการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างจากการศึกษาหลักสูตรในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และทำให้ผู้ซึ่งจะเข้าศึกษาในหลักสูตรอาชีพหรือเพื่อยกระดับทักษะ สมรรถนะ หรือการเรียนรู้ สามารถขอเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ได้

                  1.2 แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กยศ. โดยกำหนดให้คณะกรรมการ กยศ. อาจให้ทุนการศึกษาแทนการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ในกรณีของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

          2. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการ กยศ. และคณะอนุกรรมการ ดังนี้

                  2.1 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ กยศ. ให้มุ่งเน้นการกำหนดนโยบาย โดยกำหนดให้ กยศ. เป็นผู้มีหน้าที่ และอำนาจในการดำเนินการในเรื่องทางปฏิบัติต่างๆ แทน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดหลักการให้คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนดลักษณะของนักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้คำนึงถึงรายได้ และรายจ่ายของครอบครัวว่าเพียงพอต่อการให้การศึกษา แก่นักเรียน หรือนักศึกษามากน้อยเพียงใด และให้คณะกรรมการกองทุนฯ ต้องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินและสถานศึกษาประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจด้วย

                  2.2 ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนและคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน เพื่อลดการดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการซึ่งอาจซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความล่าช้า โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้เฉพาะตามที่เห็นสมควรและตามความจำเป็น

          3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังนี้

                  3.1 กำหนดระยะเวลาการประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาภายในเดือนมกราคมของทุกปี และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการเผยแพร่ประกาศดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งต้องการกู้ยืมเงินมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการสมัครเข้าศึกษา และขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

                  3.2 กำหนดให้ กยศ. มีหน้าที่และอำนาจดำเนินงานในบางเรื่องแทนคณะกรรมการ กยศ. เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน เช่น การยื่นคำขอเข้าร่วมดำเนินงานของสถานศึกษา การยื่นคำขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษา การทำสัญญากู้ยืมเงิน การแจ้งขอเบิกเงินกู้ยืมเงิน

                  3.3 กำหนดให้สำนักงาน กยศ. รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการมีงานทำและประเภทของงานที่ทำของผู้กู้ยืมเงินภายหลังที่สำเร็จการศึกษาแล้ว รวมทั้งคาดการณ์งานที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษา ใช้ประกอบการตัดสินใจกู้ยืมเงิน

                  3.4 กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมเงินให้แจ้ง กยศ. ทราบถึงการสำเร็จการศึกษา การเลิกการศึกษา หรือการพ้นสภาพการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ เมื่อผู้กู้ยืมเงินแจ้งกองทุนทราบแล้ว จะมีสิทธิได้รับประโยชน์จากระยะเวลาปลอดหนี้

                  3.5 กำหนดให้ กยศ. พิจารณาให้เงิน เพื่อการศึกษาเป็นจำนวนปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้

 

ais 720x100

 

          4. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินคืน กยศ. ดังนี้

                  4.1 แก้ไขเพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการชำระเงินคืน กยศ. โดยกำหนดวิธีการผ่อนชำระและระยะเวลาการผ่อนชำระเงินคืนกองทุนให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยให้ผู้กู้ยืมเงินมีสิทธิเลือกชำระเงินกู้ยืมคืนทั้งจำนวนหรือผ่อนชำระได้ กำหนดให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้ชำระ และกำหนดลำดับการตัดชำระโดยเรียงจากต้นเงิน ดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม และให้อำนาจคณะกรรมการ กยศ. ในการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้หรือชำระหนี้ครบถ้วนก่อนกำหนด รวมทั้งกำหนดให้ กยศ. อาจพิจารณาผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน การลดหย่อนหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หรือการระงับการชำระเงินคืนกองทุนไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินให้สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผัน ลดหย่อนหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หรือระงับการชำระเงินคืน กยศ

                  4.2 กำหนดหลักการในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนเพื่อให้การให้กู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนมีความเป็นธรรมและ ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ เช่น การผ่อนชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี และลำดับการตัดชำระซึ่งให้นำไปหักต้นเงินก่อนแล้วจึงไปหักดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม รวมทั้งมาตรการจูงใจอื่นๆ เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินไม่ผิดนัด

                  4.3 กำหนดให้ กยศ. พิจารณาขยายระยะเวลาการชำระเงินคืนกองทุนได้ในกรณีที่กองทุนบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน

                  4.4 แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดลักษณะที่ทำให้หนี้ที่มีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกัน เช่น ผู้กู้ยืมเงินตาย ล้มละลายแต่ไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้ เป็นโรคอันตรายร้ายแรงหรือมีเหตุอันไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้

                  4.5 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้ นายจ้างหักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น

          5. กำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ใช้บังคับบทบัญญัติในเรื่องเงินเพิ่มกับผู้กู้ยืมเงินและ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จนกว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในเรื่องดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ

          6. กำหนดบทเฉพาะกาล เพื่อนำบทบัญญัติซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่ ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันซึ่งกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12727

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100
NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!