สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 28 December 2021 01:09
- Hits: 13971
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบ การประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน. |
|||||||||||||||||||||||||||||
1) แผนงาน/โครงการการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง 1.1) การดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนข้อ 11 การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย ได้แก่ (1) มาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/2564 เช่น การเร่งกักเก็บน้ำได้ 2,947 ล้านลูกบาศก์เมตร และการจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ (2) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 เช่น การชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก และ (3) การจัดหาพื้นที่รองรับน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยมีแผนรับน้ำได้ 1,704 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำหลากมีปริมาณเกินกว่าแผน 392 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้พิจารณาวางแผนร่วมกับกรมชลประทานเพื่อปรับขอบเขตพื้นที่ทุ่งรับน้ำและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป 1.2) การดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เช่น (1) การจัดทำแผนการจัดหาแหล่งน้ำและแผนการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ โดย สทนช. จัดทำแผนหลักใน 6 เมืองหลักแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และภูเก็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำ เพิ่มความจุ และแก้ไขปัญหาระบบประปา (2) การพิจารณาแผนงาน/โครงการน้ำท่วม ในปี 2564 ได้รับการจัดสรรงบกลาง 6,203 รายการ วงเงิน 7,421.77 ล้านบาท คาดว่าจะได้ปริมาณน้ำ 51.40 ล้านลูกบาศก์เมตรครอบคลุมพื้นที่ 563,191 ไร่ ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 527,056 ครัวเรือน และ (3) การพัฒนาระบบ การติดตามการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในการติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลลุ่มน้ำ ได้แก่ เว็บไซต์ http://waterinfo.onwr.go.th/thaiwater30/ และการพัฒนาแอปพลิเคชัน National Thai Water |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ซึ่งอาจพิจารณาวางแผนการพร่องน้ำจากเขื่อนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ สทนช. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนและอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อสร้างเขื่อนทดน้ำแห่งใหม่ 2) ให้ สทนช.หารือร่วมกับกรมชลประทาน กรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ตลอดแนวแม่น้ำลำน้ำเจ้าพระยาทั้งในด้านการคมนาคมขนส่ง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพทั้งด้านการค้าขาย และการประมง มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ สทนช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะ ของที่ประชุมไปพิจารณา |
|||||||||||||||||||||||||||||
2) วิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน 2.1) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลข้อ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและความยากจน เช่น (1) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนินแผนงานวิจัย “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” โดยศึกษาโมเดลแก้ไขปัญหาความยากจนของจีน และขับเคลื่อนแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินโครงการวิจัยในปี 2564 จำนวน 24 โครงการ 17 หน่วยงาน เป็นเงิน 78.32 ล้านบาท เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและนโยบายสวัสดิการสังคมของประเทศ (3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) มีชุมชนต้นแบบวิชาการเกษตร : นวัตกรรมการผลิตพืชผักปลอดภัย ทำให้เกษตรกรต้นแบบมีรายได้จากเดิม 29,634 บาท/ไร่ เป็น 34,242 บาท/ไร่ 2.2) การดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหาแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาความยากจนให้ลงลึกถึงระดับรายครัวเรือน ได้แก่ (1) มท. จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับจังหวัด 76 ศูนย์ ศจพ. กทม. 1 ศูนย์ ศจพ. อำเภอ 878 ศูนย์ และ ศจพ. เขต 50 ศูนย์ (2) พม. จัดโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการให้ครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม และ (3) กระทรวงแรงงาน (รง.) แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน โครงการฯ รง. แรงงานกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม รวม 2.07 ล้านคน 2.3) ข้อเสนอแนะ เช่น อว. เสนอว่า ควรมีการขยายผลการใช้แพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดสู่แผนพัฒนาจังหวัดทั่วประเทศ กษ. เสนอว่า การขยายผลเทคโนโลยีเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างควรต้องมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมผลักดันและนำไปขยายผลสู่เกษตรกร มท. เสนอว่า ควรประสานความร่วมมือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ พม. เสนอว่า ควรมีการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างพม. กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม |
มติที่ประชุม : 1) รับทราบ 2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขของ อว. กษ. มท. และ พม. และความเห็น/ข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณา 3) ให้คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญ และเป็นรูปธรรม เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์เพื่อนำไปสู่การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||||||
3) แผนการดำเนินงานของ กตน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีแผนการดำเนินงานและระยะเวลาดำเนินการ ดังนี้
|
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : ให้พิจารณาลำดับความสำคัญของแผนการดำเนินงานในประเด็นติดตามการดำเนินงานให้สอดรับกับห้วงเวลาและทันต่อสถานการณ์เป็นการล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนและประกอบการตัดสินใจสั่งการของนายกรัฐมนตรีได้อย่างทันท่วงที มติที่ประชุม : 1) รับทราบแผนการดำเนินงานฯ 2) ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมฯ ไปพิจารณา |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12721