สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 28 December 2021 00:47
- Hits: 4613
สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 12 ด้าน
นโยบายหลัก |
มาตรการ/การดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
1.1) จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พิธีถวายพระพรชัยมงคลและการลงนามถวาย เด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2564 1.2) จัดกิจกรรมสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ชวนคนไทยใส่ผ้าไทย 1.3) โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” มีการอบรมให้แก่นักโทษในเรือนจำ/ แห่ง |
|||||||||||||||||||||||||||||||
2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 จำนวน 249 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น บ้าได้ 554.74 ล้านเม็ด และกัญชา 41,573.65 กิโลกรัม |
|||||||||||||||||||||||||||||||
3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม |
3.1) จัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2564 3.2) เปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยว |
|||||||||||||||||||||||||||||||
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก |
4.1) นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 ภายใต้หัวข้อ “การสร้างความยืดหยุ่นผ่านความหวัง โดยการฟื้นฟูจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การสร้างอย่างยั่งยืน ตอบรับความต้องการของโลก เคารพสิทธิของผู้คนและการฟื้นฟูของสหประชาชาติ” 4.2) นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 โดยยกระดับความร่วมมือเพื่อสานต่อความสำเร็จของ 3C ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของแผนงานความร่วมมือฯ ได้แก่ 4.2.1) Connectivity เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4.2.2) Competitiveness มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ภาคธุรกิจทุกระดับปรับตัว และ 4.2.3) Community เร่งส่งเสริมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ให้เป็นประชาคมที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีอนาคตร่วมกัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค |
โครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีผู้ได้รับการฝึกอบรม 3,810 คน |
|||||||||||||||||||||||||||||||
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก |
7.1) ลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP 94,103 กลุ่ม/ราย 9,112 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ มีผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2564 จำนวน 240,270.67 ล้านบาท 7.2) จัดกิจกรรมจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ 600 กลุ่ม 12,000 คน |
|||||||||||||||||||||||||||||||
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 |
|||||||||||||||||||||||||||||||
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
9.1) โครงการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มีผู้ได้รับเงินเยียวยา 5.63 28,168.01 ล้านบาท 9.2) แก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกองทุนฯ มีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง 2,896 คน เป็นเงิน 41.17 |
|||||||||||||||||||||||||||||||
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน |
จ ทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล อนุญาตแล้ว 170 พื้นที่ 777,362 ไร่ และคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการเพื่อออกหนังสืออนุญาต 422 พื้นที่ 2.62 ล้านไร่ |
|||||||||||||||||||||||||||||||
11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ |
ขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) พัฒนาแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 44 งานบริการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||
12) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม |
12.1) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี สำเร็จ 15,093 เรื่อง ทุนทรัพย์ 9,398.32 12.2) โครงการขับเคลื่อนแนวทางการเผยแพร่กฎหมายและสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เช่น ผลิตและประชาสัมพันธ์สื่อเสียง กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (Podcast ชาวบ้าน) 365 ตอน |
2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน |
มาตรการ/การดำเนินการ |
|
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย อนุมัติสินเชื่อ 393 ราย 278.91 ล้านบาท |
|
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
2.1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ 31,901.44 และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่น 97,050.43 ล้านบาท 2.2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท นถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,272,185 คน |
|
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก |
3.1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 6,668 ราย มูลค่า 27,532.92 ล้านบาท 3.2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 3,757 ราย มูลค่า 9,133.17 ล้านบาท |
|
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม |
4.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.2) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร้อ้อยตัดสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 โอนเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยแล้ว 122,613 ราย 933.83 ล้านบาท และโอนเงินให้เกษตรกรไร่อ้อยที่ตัดสดเพื่อผลิตเอทานอล 1,481 ราย 54.17 ล้านบาท |
|
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
5.1) โครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง มีผู้ได้รับการฝึกอบรม 4,869 คน 5.2) ส่งเสริมการมีงานทำ โดยให้บริการจัดหางานในประเทศ 957,980 คน และต่างประเทศ 29,500 คน |
|
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
6.1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนฯ 348 โครงการ 173,775 ล้านบาท 6.2) โครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านแรงงานต่างด้าวมีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 46,366 คน |
|
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการเรียนออนไลน์ มีประชาชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ 1,452 ราย |
|
8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ |
โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้ได้รับการฝึกอบรม 560 คน |
|
9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
9.1) โครงการแอปพลิเคชันบริการลูกค้าทางมือถือของการประปานครหลวง โดยประชาชนสามารถขอรับบริการและทำธุรกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานประปาสาขา เช่น การชำระค่าบริการ และการขอติดตั้งประปาใหม่ 9.2) โครงการการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินระยะที่ 2 พัฒนาระบบให้บริการทั้งหมดของสำนักงานที่ดินทั่วประเทศให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน |
|
10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
10.1) จัดหาเครื่องจักรกลเพื่อการเตรียมความพร้อมการเผชิญเหตุอุทกภัย ภัยแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน 10.2) ออกมาตรการรองรับสถานการณ์อุทกภัย เช่น 1) จัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย 76 จังหวัด และ 2) เตรียมความพร้อมสถานที่เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว 13,685 แห่ง รองรับผู้ประสบอุทกภัยได้ 6,170,651 คน |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12719