รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 28 December 2021 00:22
- Hits: 4429
รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงแรงงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
พม. รายงานว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 และให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของไทยและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์ผู้สูงอายุ
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
||||||||||||||||||
สถานการณ์โลก |
ในปี 2563 โลกมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 7,795 ล้านคน โดยมีผู้สูงอายุ 1,050 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของประชากรทั้งหมด |
||||||||||||||||||
สถานการณ์ ในภูมิภาค |
- ทวีปยุโรปมีอัตราผู้สูงอายุ1สูงที่สุดในโลก คิดเป้นร้อยละ 25.7 - ทวีปแอฟริกามีประชากรเยาว์วัย2สูงที่สุด โดยมีอัตราผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 5.5 - อาเซียนมีประชากรสูงอายุ 73 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรอาเซียนทั้งหมด โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ที่เป็นสังคมสูงอายุแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา |
||||||||||||||||||
สถานการณ์ ในประเทศไทย |
- ประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2563 มีประชากรสูงอายุจำนวน 12 ล้านคน (ร้อยละ 18.1 ของประชากรไทยทั้งหมด 66.5 ล้านคน) อีกทั้งเป็นปีแรกที่มีจำนวนเด็กเกิดต่ำกว่า 600,000 คน จำนวนผู้เสียชีวิตสูงกว่า 500,000 คน นอกจากนี้ ประชากรรุ่นเกิดล้าน (คนที่เกิดในช่วงปี 2506-2526) ซึ่งเปรียบเสมือนสึนามิประชากรที่กำลังจะกลายเป็นกลุ่มประชากรสูงอายุกลุ่มใหญ่มาก ทำให้ในปี 2565 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์3 และปี 2576 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด4 - จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 12 ล้านคน แบ่งตามกลุ่มช่วงอายุ
- การอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
- การทำงานของผู้สุงอายุ มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนและได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 4.7 ล้านคน โดยผู้สูงอายุที่กำลังทำงานในช่วงอายุ 60-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.5 ของประชากรกลุ่มอายุนี้ และช่วงอายุ 65-69 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.1 ของประชากรกลุ่มอายุนี้ - สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 651,950 คน ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะติดเตียง จำนวน 43,520 และผู้สูงอายุที่ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดีมาก จำนวน 5.6 ล้านคน |
2. การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของภาครัฐที่สำคัญ
ประเด็น |
ผลการดำเนินงาน |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
1. ด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ |
- ดำเนินการให้ตำบลมีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน และการจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) |
||
- ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในทุกอำเภอทั่วประเทศ |
พม. |
|||
2. ด้านรายได้เพื่อยังชีพของผู้สูงอายุ |
- จ่ายเบี้ยยังชีพรายเดือนสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 9.7 ล้านคน เป็นเงิน 76,280 ล้านบาท |
กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา |
||
- จ่ายเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ จำนวน 803,293 คน เป็นเงิน 267,012 ล้านบาท |
กระทรวงการคลัง (กค.) |
|||
- จัดสวัสดิการกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้กับแรงงานที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม จำนวน 598,550 คน |
กระทรวงแรงงาน (รง.) |
|||
- พักชำระหนี้ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 41,665 คน |
พม. |
|||
- จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ มีจำนวนสมาชิก (สะสม) จำนวน 2,396,543 คน |
กค. |
|||
3. ด้านการทำงานของผู้สูงอายุ |
ส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาทักษะฝีมือ |
รง. |
||
4. ด้านที่อยู่อาศัยและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ |
- ปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย |
พม. |
||
- จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ |
กระทรวงคมนาคม (คค.) |
|||
5. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแผนเกี่ยวกับผู้สูงอายุ |
- คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุตามกฎหมาย โดยการยกร่างปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานผู้สูงอายุ |
รง. |
||
- จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) |
กระทรวงยุติธรรม |
|||
6. การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การกีฬาและนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ |
- จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุ |
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) |
||
- จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุและกิจกรรมด้านวัฒนธรรม |
3. ผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐต่อผู้สูงอายุในไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ในปี 2563 มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมในไทยทั้งหมด จำนวน 6,879 ราย เป็นผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 543 ราย (ร้อยละ 7.9 ของจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมทั้งหมด) และเสียชีวิต จำนวน 29 ราย (ร้อยละ 5.3 ของจำนวนผู้ป่วยสูงอายุยืนยันสะสมทั้งหมด) โดยในช่วงปลายปี 2563 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุในด้าน ต่างๆ ซึ่งภาครัฐได้มีการกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ผลกระทบ |
มาตรการการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ |
||
1. ด้านเศรษฐกิจ |
ร้อยละ 81 ของผู้สูงอายุที่ทำงาน ประสบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน เช่น สูญเสียอาชีพ ไม่มีพื้นที่ค้าขาย และถูกปรับลดเงินเดือน/ค่าตอบแทน โดยกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่เป็นผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจรุนแรงมากที่สุด |
- โครงการคนละครึ่ง - โครงการสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน |
||
2. ด้านสุขภาพ |
ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพแย่ลง และมีภาวะความเครียดสูงในช่วงที่มีการใช้มาตรการปิดเมือง5รวมทั้งมีความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น |
- ส่งยาทางไปรษณีย์ - สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ |
||
3. ด้านสังคม |
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับรู้และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันเชื้อโรคตามที่ภาครัฐส่งเสริมได้ค่อนข้างดี และผู้สูงอายุร้อยละ 83.6 ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการสัมผัส นอกจากนี้ ผู้สูงอายุประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารเพิ่มมากขึ้นในช่วงปิดเมือง ซึ่งพบมากที่สุดใน กทม. |
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำพื้นที่ต่างๆ ช่วยเหลือผู้สูงอายุในภาวะวิกฤติทั้งในรูปแบบการสอบถามสุขภาวะทางใจ และการนำอาหารไปแจกจ่ายให้ที่บ้านหรือชุมชนใกล้บ้านของผู้สูงอายุ - ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมีการแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านช่องทางต่างๆ |
4. สถานการณ์เด่นในรอบปี 2563 เช่น
4.1 สธ. ประกาศกฎกระทรวง 3 ฉบับ เพื่อให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุจะต้องมีมาตรฐานและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
4.2 กรมการแพทย์ได้จัดตั้ง “ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร” ในพื้นที่เขตสาธารณสุขครบทั้ง 13 เขต ของประเทศไทย
5. งานวิจัยเพื่อสังคมผู้สูงอายุ
งานวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) งานวิจัยผลกระทบของ COVID-19 ต่อผู้สูงอายุไทย 2) การสำรวจความเป็นอยู่และความความต้องการด้านบริการและการดูแลสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในช่วงระหว่างและหลังการใช้มาตรการปิดเมืองอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย 3) การจัดบริการสังคมทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์วิกฤติ : กรณีศึกษาช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 4) โครงการการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชนรายเขตกรุงเทพมหานคร และ 5) โครงการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และแนวโน้มด้านผู้สูงอายุ (Ageing Watch) ภายใต้โครงการ “จุฬาอารี”
6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ประเด็น |
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย |
1. ด้านเศรษฐกิจ |
- สร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจที่เป็น “มาตรการระยะยาว” สำหรับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาศึกษาการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต - ส่งเสริมและขยายโอกาสในการทำงานให้กับผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง โดยเป็นงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และพึ่งพาตนเองได้ให้มากที่สุด |
2. ด้านสุขภาพ |
- เร่งจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงจัดสรรชนิดวัคซีนให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายและเงื่อนไขทางสุขภาพของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ และกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรทุกเพศทุกวัย - พัฒนาระบบการส่งยาทางไปรษณีย์ให้มีความต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุในทุกสิทธิสุขภาพ รวมถึงต่อยอดไปสู่ระบบการรักษาทางไกล ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงการบริการโดยคุณภาพการรักษาต้องไม่ลดลง |
3. ด้านข้อมูลข่าวสาร |
- ปรับปรุงวิธีการในการเข้าถึงสวัสดิการและความช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและทั่วถึงเป็นพิเศษ (เช่น วิธีการลงทะเบียน) - ส่งเสริมให้การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนและผู้สูงอายุควรได้รับ |
4. ด้านที่อยู่อาศัย |
ผลักดันให้การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและการจัดบริการในระดับชุมชนสำหรับผู้สูงอายุเป็นนโยบายหลักในการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมแนวทาง “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” (Ageing in place) |
5. ด้านบริการทางสังคมทั่วไป |
พิจารณาเพิ่มกำลังคนในระบบอาสาสมัครและจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ จัดทำระบบข้อมูล และนำระบบรางวัลหรือค่าตอบแทนมาใช้ในทางปฏิบัติแก่อาสาสมัครหรือผู้ดูแล ทั้งในรูปแบบการดูแลที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. พม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. รง. กระทรวงศึกษาธิการ สธ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กทม. เมืองพัทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
หมายเหตุ : 1อัตราผู้สูงอายุ หมายถึงร้อยละของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด
2ประชากรเยาว์วัยหรือประชากรเด็ก คือ ประชากรตั้งแต่อายุ 0-14 ปี หรือประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด
3สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด
4สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
5มาตรการปิดเมือง คือ การปิดสถานที่บางประเภท ลดการเดินทางหรือออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาและระบุสิ่งที่ห้ามทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนดตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ห้ามคนทั้งหมายเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามแพร่ข่าวเท็จ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12716