โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 26 December 2021 22:22
- Hits: 15013
โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดทำโครงการมอบของขวัญให้แก่เกษตรกรและประชาชน เพื่อแสดงออกถึงไมตรีจิต ความสัมพันธ์ และความร่วมมืออันดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรไปพร้อมกันทั้งภาคประชาชน เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เตรียมของขวัญปีใหม่ให้แก่เกษตรกรและประชาชนไทย โดยจัดทำโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 สรุปสาระได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้เพิ่ม และลดรายจ่ายครัวเรือน ให้กับเกษตรกรและประชาชน ในสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2) เพื่อส่งมอบความสุข จากการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรที่สวยงามพร้อมกับได้รับความรู้ทางด้านการเกษตร
2. กิจกรรม
1) เพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย :
1.1) เปิดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรให้ประชาชนเข้าชมฟรี/ลดค่าบริการในช่วงเทศกาล : ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 56,666 คน ประกอบด้วย เปิดศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต้อนรับนักท่องเที่ยว เปิดสถานที่ให้เกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้า เปิดให้เยี่ยมชมนิทรรศการวันดินโลก ชมสวนดอกไม้ และทุ่งทานตะวัน ลดค่าบริการเข้าชมฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ค จังหวัดสระบุรี เปิดพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ประชาชนเข้าชม และกิจกรรมฉายภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ พิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตร และเส้นทางสืบสาน รักษาต่อยอด Wisdom Farm เปิดแหล่งท่องเที่ยวสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประชาชนเข้าชมฟรี (สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจังหวัดพิจิตร สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรี สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดบึงบอระเพ็ด (อาคารแสดงพันธุ์ปลา) จังหวัดนครสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ปลาบึก จังหวัดพะเยา สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดภาคอีสาน จังหวัดสกลนคร และสถานแสดงพันธุ์เต่าน้ำจืด จังหวัดสตูล) เปิดสถานที่ศูนย์วิจัยการเกษตรให้เที่ยวชม จำนวน 12 แห่ง เช่น ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวางแม่จอนหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดจันทบุรี ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมและศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น แหล่งท่องเที่ยวด้านปศุสัตว์ จำนวน 6 แห่ง เช่น ชุมชนอุตสาหกรรมโคเนื้อ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ศูนย์เรียนรู้การสาธิตโครงการรักษ์น้ำฯ จังหวัดน่าน เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 95 แห่ง เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ วิสาหกิจชุมชนล่องแก่งบ้านเขาหลัก จังหวัดตรัง วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านทะเลน้อยระยองฮิ จังหวัดระยอง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
1.2) เปิดสถานที่ราชการ ปรับภูมิทัศน์รองรับนักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมช่วงเทศกาล และแจกพันธุ์ไม้ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 116,450 คน ตัวอย่างจุดบริการ ศูนย์วิจัยข้าว 3 แห่ง (จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และสกลนคร) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 2 แห่ง (จังหวัดพัทลุงและลำปาง) โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ 1 แห่ง (จังหวัดชุมพร) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 6 แห่ง (จังหวัดลำปาง (2 แห่ง) กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และสุพรรณบุรี) อ่างเก็บน้ำ 10 แห่ง (จังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สุรินทร์ นครนายก (3 แห่ง) ระยอง อุบลราชธานีและระนอง) โครงการชลประทาน 3 แห่ง (จังหวัดนครศรีธรรมราช (2 แห่ง) และบึงกาฬ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 39 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร อุดรธานี หนองคาย นครพนม ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี สมุทรปราการ ราชบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สุพรรณบุรี น่าน และลำพูน) สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปากช่อง คทช. จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ 2 แห่ง (จังหวัดยโสธรและหนองคาย) และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชกรุงเทพมหานคร สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขต 4 แห่ง (จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี จันทบุรี และชัยนาท) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยาน 2 แห่ง (จังหวัดเชียงราย 2 แห่ง) ศูนย์วิจัยพืชไร่ 2 แห่ง (จังหวัดขอนแก่น และสุพรรณบุรี) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง 2 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ 2 แห่ง) ศูนย์วิจัยพืชสวน 4 แห่ง (จังหวัดชุมพร ยะลา ศรีสะเกษ และตรัง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช 2 แห่ง (จังหวัดพิษณุโลก และเชียงใหม่) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร 22 แห่ง (จังหวัดแม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร หนองคาย เพชรบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร หนองคาย สุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ปราจีนบุรี และตรัง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจังหวัดขอนแก่น (2 แห่ง) ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 3 แห่ง (จังหวัดกระบี่ เชียงใหม่ และจันทบุรี) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง (จังหวัดชลบุรี ตรัง นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ พิษณุโลก มหาสารคาม ลำพูน สุพรรณบุรี และอุดรธานี) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (MILK LAND 2) จังหวัดสระบุรี และสำนักงาน อ.ส.ค. ภาค 4 แห่ง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุโขทัย เชียงใหม่ และขอนแก่น) สถานีเรดาร์ฝนหลวง 5 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี) และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2) เสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,445,969 คน จัดหาสินค้าดีมีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน และเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรราคาพิเศษ อาทิ สินค้าปศุสัตว์ ประมง พืช ผัก และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไข่ไก่ กาแฟพรีเมี่ยม มะคาเดเมียนัทอบเกลือ และน้ำผลไม้จาโบติกาบา เป็นต้น จำหน่ายชุดของขวัญด้วยสินค้าจากงานวิจัย (นวัตกรรมอาหาร และนวัตกรรมสุขภาพและความงาม) อาทิ เครื่องดื่มข้าวสินเหล็ก คอลลาเจนสกัดจากหอยเป๋าฮื้อ เซรั่มจากสารสกัดดอกไม้เหลือง และชุดบำรุงผิวหน้าจากสารสกัดจากข้าวหอมมะลิแดง และจำหน่ายสินค้าคุณภาพราคาพิเศษ จากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน บริการ ณ จุดจำหน่ายของหน่วยงาน (ในพื้นที่ส่วนกลาง และภูมิภาค) และจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ เช่น www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com, www.ortorkor.com, www.dgtfarm.com, www.coopshopth.com เป็นต้น
3. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565
4. งบประมาณ ใช้จ่ายจากงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12711