WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3

GOV4 copy copy

ผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (รายงานประเทศฯ) ตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 และท่าทีของประเทศไทยต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการนำเสนอรายงานประเทศฯ รวมทั้งแผนการดำเนินการต่อไป โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ ในการร่วมกันพิจารณารับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถแจ้งผลต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญ 

          1. ในการนำเสนอรายงานประเทศฯ ตามกลไก UPR รอบที่ 3 หัวหน้าคณะผู้แทนได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน พร้อมแจ้งเกี่ยวกับกระบวนการยกร่างรายงานประเทศฯ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกภาคในประเทศ พัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในด้านต่างๆ ในช่วง 4 ปีครึ่งที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันความพยายามในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และยึดมั่นต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย

          2. ผู้แทน 106 ประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของไทย โดยมีทั้งชื่นชม แสดงความห่วงกังวล และให้ข้อเสนอแนะแก่ไทย โดยสรุป ดังนี้

                 1) คำชื่นชม อาทิ การจัดทำกฎหมายและนโยบายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิตลอดจนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง การให้บริการสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาคของ COVD-19 ความคืบหน้าในการคุ้มครองสิทธิและให้การยอมรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศผ่านการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. .... ความพยายามในการปราบปรามการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์และการส่งเสริมและหารือเรื่องความร่วมมือและการพัฒนาศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

 

EXIM One 720x90 C J

 

                 2) ข้อห่วงกังวล อาทิ การดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาต่างๆ การยกเลิกโทษประหารชีวิต การประกันเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสันติการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน .ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลความพยายามปรับยกระดับสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ได้สถานะ A ตามหลักการปารีส การขจัดความรุนแรงและการปกป้องสตรีและเด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ การขจัดการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศสภาพ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การยอมรับการแต่งงานระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน การคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และบริหารจัดการป่าและที่ดิน และการตอบรับคำขอเยือนของผู้ถืออาณัติของกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ

          3. คณะผู้แทนไทยได้ตอบชี้แจงคำถามจากประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็น อาทิ การปราบปรามการค้ามนุษย์ สิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความข้มแข็งของโครงสร้างสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สตรี คนพิการ คนชรา และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลของทุกกลุ่มโดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เสรีภาพในการแสดงความเห็น การรวมตัว และการชุมนุมโดยสันติ พัฒนาการของการพิจารณากฎหมายฉบับต่างๆ

          4. ประเทศต่างๆ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ไทยรวม 278 ข้อ โดยคณะผู้แทนไทยได้ตอบรับทันที 194 ข้อ (หรือร้อยละ 64.78) และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม 84 ข้อ รวมทั้งได้แจ้งคำมั่นโดยสมัครใจเพิ่มเติมอีก 8 ข้อ ทั้งนี้ เป็นไปตามกรอบการพิจารณาข้อเสนอแนะและคำมั่นโดยสมัครใจในช่วงการนำเสนอรายงานประเทศฯ ตามกลไก UPR ของไทย รอบที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรายละเอียด สรุป ดังนี้

 

GC 720x100

 

          ข้อเสนอแนะที่ได้ตอบรับโดยทันที ได้แก่ (1) การพัฒนากฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศของไทย รวมถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ..... (2) พิจารณาการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(4) การคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง (5) การคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (6) การคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น การทบทวนและการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้โทษประหารชีวิต (7) การอำนวยความยุติธรรม เช่น การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการสอบสวนข้อกล่าวหาการทรมานและการลงโทษผู้กระทำผิด และ (8) ประเด็นอื่นๆ เช่น การเร่งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และการขจัดการเลือกปฏิบัติ

          5. การดำเนินการต่อไป

                 5.1 กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ เพื่อแจ้งผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และการพิจารณาตอบรับข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งเริ่มหารือเตรียมการจัดทำแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้ตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจ อีกทั้งจัดการหารือกลุ่มย่อยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประมวลท่าทีต่อข้อเสนอแนะที่ไทยได้นำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนแจ้งต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกับกระทรวงยุติธรรมจัดเวทีเผยแพร่ผลการนำเสนอรายงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนในทุกภูมิภาคต่อไป

                 5.2 ไทยจะต้องเข้าร่วมการรับรองรายงานผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ ของไทยในช่วงการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ สมัยที่ 49 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 ที่นครเจนีวา ซึ่งในการประชุมดังกล่าว คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ จะเปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอรายงานประเทศฯ ของไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12700

 Click Donate Support Web

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!