WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

หลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ

GOV9

หลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพาณิชย์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          หลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

          1. กำหนดลักษณะของค่าธรรมเนียมและจำแนกค่าธรรมเนียมออกจากค่าบริการเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังนี้

                  1.1 “ค่าธรรมเนียมเป็นกรณีที่รัฐจะใช้อำนาจทางปกครองฝ่ายเดียวในการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อควบคุมหรือกำกับดูแลในเรื่องต่างๆ ให้เป็นไปด้วยดี โดยกำหนดให้ประชาชนจะต้องได้รับอนุมัติ อนุญาต จากรัฐก่อนที่จะดำเนินการบางอย่างได้ ซึ่งรัฐอาจกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามอัตราที่กฎหมายกำหนดต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการดำเนินการให้บุคคลนั้น หากไม่จ่าย หน่วยงานจะไม่ดำเนินการให้ จึงมีลักษณะทำนองเดียวกันกับภาษี เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. 2522 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน .. 2535 เป็นต้น

                  1.2 “ค่าบริการเป็นกรณีที่รัฐจะให้บริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการในทำนองเดียวกับธุรกิจเอกชน การเรียกเก็บค่าบริการนี้มีลักษณะคล้ายกับค่าบริการของภาคเอกชนเพื่อตอบแทนสินค้าและบริการที่ได้ ซึ่งหากไม่ต้องการจะได้สินค้าหรือบริการนั้น ก็ไม่ต้องเสียค่าบริการ โดยผู้ใช้บริการมีทางเลือกที่จะใช้บริการภาครัฐหรือใช้บริการที่มีการดำเนินการโดยบุคคลอื่นก็ได้ รวมถึงการบริการในทำนองเดียวกัน เช่น การให้บริการถ่ายเอกสาร การให้บริการห้องสมุด การให้บริการทางด่วนหรือทางพิเศษ การให้บริการจอดรถในที่จอดรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น

 

GC 720x100

 

          2. กำหนดหลักการพื้นฐานว่า การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต้องมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้และต้องกำหนดอัตราขั้นสูงไว้ในกฎหมาย รวมทั้งกำหนดปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการที่รัฐจะกำหนดให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชน เช่น ภาระและความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน เป็นต้น

          3. กำหนดกรณีที่รัฐไม่พึงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชน เช่น กรณีที่ประชาชนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อให้ภาครัฐได้ข้อมูล กรณีที่ประชาชนขอรับสิทธิประโยชน์ที่รัฐให้ความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากสภาพร่างกายหรือฐานะทางเศรษฐกิจ

          4. กำหนดปัจจัยที่หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม เช่น ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการดำเนินการของรัฐ ประโยชน์ที่บุคคลนั้นจะได้รับ หรือผลกระทบทางลบที่บุคคลนั้นก่อให้เกิดขึ้น ความสามารถของประชาชนในการจ่ายค่าธรรมเนียม การเทียบเคียงกับอัตราเดิมที่เคยเรียกเก็บ การได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และอัตราเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          5. กำหนดกระบวนการสำคัญที่หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการในการกำหนดค่าธรรมเนียม เช่น การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง การทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าธรรมเนียมทุกครั้งที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

 

TU720x100

 

          6. กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการ ดังนี้

                  6.1 ค่าบริการสำหรับกิจการที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดของรัฐต้องไม่สูงเกินสมควรโดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิตหรือการให้บริการต่อหน่วย และเทียบเคียงกับอัตราที่เรียกเก็บกันในนานาประเทศ

                  6.2 ค่าบริการสำหรับกิจการที่มีลักษณะเป็นการกึ่งผูกขาดของรัฐต้องไม่สูงหรือต่ำเกินสมควร โดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิตหรือการให้บริการต่อหน่วย

                  6.3 ค่าบริการสำหรับกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกันโดยเสรีในตลาด ต้องไม่ต่ำเกินสมควรอันอาจกระทบต่อการแข่งขันทางการค้า เว้นแต่รัฐมีอำนาจแทรกแซงในเรื่องนั้นเพื่อรักษาราคาที่เหมาะสมในตลาด

          ทั้งนี้ ค่าบริการไม่พึงกำหนดไว้ในกฎหมาย และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรสูงสุดดังเช่นเอกชน

          7. กำหนดให้หลักเกณฑ์นี้ไม่ใช้บังคับแก่การเรียกเก็บเงินที่เกิดจากการเจรจาและการทำสัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น ค่าตอบแทนสิทธิตามสัญญาสัมปทาน ค่าตอบแทนสิทธิการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ หน่วยงานผู้พิจารณาทำสัญญาดังกล่าวควรคำนึงถึงแนวทางการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการตามหลักเกณฑ์นี้ด้วย

          8. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายหรือกฎที่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมต้องแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์นี้ในโอกาสแรก ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายนั้นครั้งแรกภายหลังจากหลักเกณฑ์นี้มีผลใช้บังคับ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12469

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!