WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การป้องกันและตรวจสอบการบุกรุกที่ดินของรัฐและแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

GOV 5

ผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การป้องกันและตรวจสอบการบุกรุกที่ดินของรัฐและแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ภายใต้ประเด็นปัญหาหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ประเด็นปัญหาการป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐเพื่อทำการเกษตร จำนวน 3 แนวทาง (2) ประเด็นปัญหาการทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิหรือไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 3 แนวทาง และ (3) ประเด็นปัญหาการบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร (ภายหลังจากการจัดที่ดินหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายแล้ว) จำนวน 6 แนวทาง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          แนวทางการแก้ไขปัญหาการทำเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

 

ประเด็นปัญหา

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1. การป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐเพื่อทำการเกษตร

 

(1) กำชับผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมายในการควบคุมกำกับดูแล ได้แก่ นายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการบุกรุก พร้อมทั้งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

(2) จัดการประชุมในพื้นที่เพื่อเข้าพบประชาชน สร้างความรู้ความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์หารือการแก้ไขปัญหา การบุกรุกที่ดินของรัฐ

(3) ความชัดเจนของแนวเขตที่ดินของรัฐจากการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (One Map)

2. การทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิหรือไม่ได้รับอนุญาต

 

(1) นำที่ดินของรัฐที่ถูกบุกรุกเข้าสู่กระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน โดยอนุญาตให้ทำกินและอยู่อาศัยในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ตามแนวทางของ คทช. หรือดำเนินการตามแนวทางตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ เช่น การรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยการจัดให้เช่าตามกฎหมายที่ราชพัสดุ

(2) ดำเนินการรังวัดออก/ตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับแนวเขตใช้ร่วมกัน (ที่สาธารณประโยชน์) และที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ (ที่ราชพัสดุ) ให้มีแนวเขตที่ชัดเจน

(3) การแก้ไขปัญหาการครอบครองในพื้นที่ป่าไม้ให้ดำเนินการตามกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ป่าไม้ทุกประเภท) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ดังนี้

     (3.1) พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

          (3.1.1) อนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน

          (3.1.2) อนุญาตให้อยู่อาศัยและทำกินในลักษณะแปลงรวมโดยออกแบบการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานของรัฐ

          (3.1.3) จัดระเบียบการใช้ที่ดินทำกิน และรับรองการอยู่อาศัยทำกินในลักษณะแปลงรวม ภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่

          3.1.4) วางแผนร่วมกับราษฎรและกรรมการหมู่บ้านประชาคม/ออกแบบ/คัดเลือกสายพันธุ์ไม้ ตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง

     (3.2) พื้นที่ป่าอนุรักษ์

          3.2.1) หลักการจัดการพื้นที่ ชุมชนที่ได้รับการพิจารณาต้องเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยเดิม ไม่มีบุคคลภายนอก มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ทำกินที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันและเป็นการให้สิทธิทำกินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ

          (3.2.2) แนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ การสำรวจการครอบครองที่ดิน และการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้ได้ขอบเขตที่ชัดเจนของพื้นที่อยู่อาศัยหรือทำกิน กำหนดเป็นเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ในรูปแบบการประชาคมของชุมชน

          (3.2.3) นำแนวเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้ตกลงยอมรับร่วมมือกันมาจัดทำเป็นโครงการอนุรักษ์และดูแล ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบแล้วจึงอนุญาตโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้ราษฎรสามารถอยู่อาศัยหรือทำกินอย่างเกื้อกูลธรรมชาติได้ตามกฎหมาย

     (3.3) พื้นที่ป่าชายเลน

          (3.3.1) จัดตั้งชุดลาดตระเวน กำหนดเส้นทางการลาดตระเวนให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ และพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ติดตามควบคุมพื้นที่ที่ตรวจยึดคดีแล้ว

          (3.3.2) การพบผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลการป้องกันรักษาป่าชายเลน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนร่วมรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนท้องถิ่น

          (3.3.3) จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง กระบวนการเรียนรู้และพึ่งตนเองของชุมชน

3. การบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร (ภายหลังจากการจัดที่ดินหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายแล้ว)

 

(1) การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภายใต้การดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนของ คทช.

(2) การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การขุดลอกแหล่งน้ำ ก่อสร้างฝายพร้อมระบบส่งน้ำ

(3) การพัฒนาลักษณะทางกายภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในพื้นที่

(4) การจัดการระบบผลผลิตทางการเกษตร การขึ้นทะเบียนเกษตรกร การพัฒนาสินค้าตามมาตรฐานสินค้าเกษตร การได้รับความช่วยเหลือค่าชดเชยแก่ผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร และระบบประกันภัยพืชทางการเกษตร

(5) การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพและดำรงชีพของเกษตรกร

(6) การส่งเสริมด้านการตลาด การขยายช่องทางการจำหน่ายพืชผลการเกษตรแบบออนไลน์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12458

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!