WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังวิกฤต COVID-19 ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา

GOV4 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังวิกฤต COVID-19 ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังวิกฤต COVID-19 ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังวิกฤต COVID-19 ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวเห็นว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพบปัญหาการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักและปัญหาข้อจำกัดของกฎหมายบางฉบับไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และได้มีข้อเสนอแนะ 2 ประเด็น ดังนี้ (1) ประเด็นเชิงนโยบาย 1) ควรกำหนดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดตั้งหน่วยงานของภาครัฐที่เป็นเจ้าภาพหลัก หรือหน่วยงานที่จัดตั้งเป็นพิเศษเฉพาะในการบูรณาการเชิงนโยบายและเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Thailand Medical Hub ในภาพรวมของประเทศ เป็นต้น 2) ควรกำหนดมาตรการการดำเนินงานเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ และปรับปรุงกฎหมายให้มีการสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาทิ ให้โรงแรมขนาดเล็กสามารถรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกำกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การประกอบกิจการสถานพยาบาล รวมทั้งควรทบทวนการจัดเก็บภาษีการประกอบธุรกิจที่สูงถึงร้อยละ 22 และมีการจัดเก็บซ้ำซ้อน 3) การใช้แพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) ประเด็นการพัฒนา 1) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีการประชาสัมพันธ์แผนการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการของประเทศ 2) ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นเจ้าภาพหลักเชื่อมโยงงานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ 3) ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness) ผนวกกับด้านอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เป็นต้น

 

GC 720x100

 

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ กก. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

TU720x100

 

          ข้อเท็จจริง

          กก. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ แล้ว โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณาศึกษา

1. ประเด็นเชิงนโยบาย

 

 

1.1 กำหนดให้การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นวาระแห่งชาติ จัดตั้งหน่วยงานของภาครัฐที่เป็นเจ้าภาพหลัก หรือมีหน่วยงานพิเศษเฉพาะในการบูรณาการเชิงนโยบายและเชิงกลยุทธ์ เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Thailand Medical Hub และควรเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์เชิงสุขภาพความงาม และแพทย์แผนไทยและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)   - ปัจจุบันได้มี คกก. อำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้าน Medical and Wellness Tourism เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ซึ่ง คกก. ดังกล่าวได้ร่วมกันสนับสนุนและผลักดันนโยบายให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของเอเชีย ส่วนการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์จะขอรับประเด็นนี้ไปพิจารณาดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.2 ควรกำหนดมาตรการการดำเนินงานเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ และปรับปรุงกฎหมายให้มีการสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาทิ ให้โรงแรมขนาดเล็กสามารถรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกำกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์การประกอบกิจการสถานพยาบาล รวมทั้งควรทบทวนการจัดเก็บภาษีการประกอบธุรกิจที่สูงถึงร้อยละ 22 และมีการจัดเก็บซ้ำซ้อน การใช้แพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ   - กก. ได้กำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) บริการที่พักเพื่อการท่องเที่ยว 2) บริการด้านการท่องเที่ยว 3) กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว 4) ด้านแหล่งท่องเที่ยว 5) ธุรกิจนำเที่ยว และ 6) มัคคุเทศก์ ส่วนการปรับปรุงกฎหมายให้โรงแรมขนาดเล็กสามารถรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวได้มีมาตรฐานที่พัก และนักท่องเที่ยวที่จะพำนักระยะยาวกรณีผ่านมาตรฐานการควบคุมการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถพำนักได้ 90 วัน และต่อได้อีก 2 ครั้งๆ ละ 90 วัน รวม 270 วัน โดยได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพความงามรวมถึงแพทย์แผนไทย ส่วนประเด็นการควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์การประกอบกิจการสถานพยาบาล และการจัดเก็บภาษีการประกอบธุรกิจที่สูงจะขอรับประเด็นนี้ไปพิจารณาดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.3 ควรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการใช้แพลตฟอร์มระบบออนไลน์เป็นช่องทางเชื่อมต่อกับช่องทางของแพลตฟอร์มต่างประเทศ   - กก. ได้พัฒนาการใช้แพลตฟอร์มอัจฉริยะกลาง (Smart Platform Application) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงให้เกิดระบบตลาด การลงทุน และดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวแบบ Real Time ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว
2. ประเด็นการพัฒนา    
2.1 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งผนวกการท่องที่ยวในด้านอื่นๆ ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีการประชาสัมพันธ์แผนการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการของประเทศ  

- กก. โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีการสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ รวมถึงการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งกรมการท่องเที่ยวมีมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น มาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long Stay) มาตรฐานสปาอาเซียน (ASEAN Spa Standard) เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น และได้ดำเนินการพัฒนาและเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เกี่ยวข้องยกระดับต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน โดยนำเอาภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณี และทรัพยากรของท้องถิ่นมาสร้างเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

- สำหรับการจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการภาคบริการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะสามารถนำฐานข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์และเชื่อมโยงระบบบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยทั้งหมดได้ในอนาคต

- เห็นด้วยกับการประชาสัมพันธ์แผนการท่องเที่ยว โดยให้เชื่อมโยงเข้ากับแผนการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดหรือเมือง อาทิ การท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์หรือทักษะใหม่ๆ สร้างจุดเด่นของทักษะหรือประสบการณ์ในแต่ละจังหวัดหรือเมืองในรูปแบบ New Normal และการหมุนเวียนจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในแต่ละภาคตลอดทั้งปี ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสนับสนุนให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าประเด็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

2.2 ควรให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นเจ้าภาพหลักเชื่อมโยงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของภาครัฐและภาคเอกชน   - กก. จะขอรับประเด็นนี้ไปพิจารณาดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12448

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!