WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)

GOV 7

สรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ และมีผู้แทนในระดับรัฐมนตรี ผู้แทนระดับสูงจากทั้งภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กันยายน 2564) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียวและอนุมัติให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงพลังงานร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว] ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. การนำเสนอวิสัยทัศน์และนโยบายด้านพลังงานและการแสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคต สรปได้ ดังนี้

                 1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า ทุกประเทศจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่มีความหลากหลายและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่น การใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างกลไกการลงทุนและการเงิน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางพลังงานที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและมุ่งไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้จัดตั้ง Asia Transition Finance Study Group เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนทางด้านการเงินที่จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในเอเชีย

                 1.2 ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEAI ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคตว่าการผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนั้น ทวีปเอเชียซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจึงควรมีแนวทางในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น นอกจากนี้ IEA เห็นว่า เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาคพลังงานในทวีปเอเชีย ได้แก่ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และ การกักเก็บคาร์บอนในภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต

 

BANPU 580x400

 

          2. การกล่าวสุนทรพจน์ของรัฐมนตรีประเทศต่างๆ สรุปได้ ดังนี้

                 2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของประเทศไทย (ไทย) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน โดยได้นำเสนอเป้าหมายการจัดทำแผนพลังงานชาติเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำด้วยพลังงานสะอาด นโยบาย 30@30 ซึ่งเป็นนโยบายที่ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี .. 2030 หรือ .. 2573 เพื่อเพิมสัดส่วนการผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ รวมทั้งการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 – 2 องศาเซลเชียส ตามข้อตกลงปารีส และเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์สุทธิเป็นศูนย์ของไทยในปี .. 2065 - 2070 นอกจากนี้ ไทยยังเห็นพ้องกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเลือกแนวทางการเปลี่ยนผ่าน ทางพลังงานที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละประเทศ การสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและ ภาคการศึกษา รวมถึงการได้รับเงินทุนสนับสนุน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนโครงการด้านพลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นได้จริง ในอนาคต

                 2.2 รัฐมนตรีด้านพลังงานและผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมถึงการสนับสนุนข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานแห่งเอเชียเพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว โดยได้เห็นพ้องกับญี่ปุ่นว่าทุกประเทศต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่มีความหลากหลายและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยคำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ หลายประเทศยังคงมีการพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดดั้งเดิมในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด แต่ก็มีความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต รวมถึงการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนในประเทศและเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

TU720x100

 

          3. ข้อสรุปจากที่ประชุมและการดำเนินการในขั้นต่อไป

          ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่างๆ ควรหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการเพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในเอเชียอย่างเป็นรูปธรรมและจะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้กำหนดนโยบาย ภาคเอกชน และภาคการศึกษา รวมถึงแนวทางการใช้เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีทางพลังงานที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเติบโตสีเขียวในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำว่าจะส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆ ภายใต้นโยบายในการเติบโตสีเขียวต่อไปและกำหนดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว ครั้งที่ 2 ในปี 2565 อีกด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 ธันวาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12252

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

 

sme 720x100QIC 720x100

ais 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!