WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย

GOV 7

ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,279.781 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,278.866 ล้านบาท (รวมเป็นภาระที่รัฐต้องรับชดเชยทั้งสิ้น 5,558.647 ล้านบาท) ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ ขสมก. และ รฟท. รายงานให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อ สศค. จะได้จัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงต่อไป และให้กระทรวงคมนาคม (ขสมก. และ รฟท.) รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

           สาระสำคัญของเรื่อง

           กค. รายงานว่า

           1. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ได้พิจารณาข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 (ข้อเสนอฯ) ของ ขสมก. และ รฟท. โดยมีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 (ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) สรุปได้ ดังนี้

 

ขสมก.*

รฟท.**

ข้อเสนอฯ

ของ ขสมก.

วงเงินที่คณะกรรมการฯ

เห็นชอบ

ข้อเสนอฯ

ของ รฟท.

วงเงินที่คณะกรรมการฯ

เห็นชอบ

4,653.446

2,279.781

- ประมาณการรายได้ 1,933.995 ล้านบาท

- ประมาณการค่าใช้จ่าย

4,213.776 ล้านบาท

4,246.742

3,278.866

- ประมาณการรายได้ 297.988 ล้านบาท

- ประมาณการค่าใช้จ่าย

3,576.854 ล้านบาท

รวมทั้งสิ้น

5,558.647

 

หมายเหตุ *ให้บริการรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนรถประจำการ 1,520 คัน โดยมีอัตรารถออกวิ่งร้อยละ 96 คิดเป็นรถโดยสารที่ให้บริการจริงจำนวน 1,460 คัน

**ให้บริการรถไฟเชิงสังคม1 ทั่วประเทศ 152 ขบวน/วัน ประกอบด้วย รถชานเมือง 65 ขบวน รถท้องถิ่น 51 ขบวนรถธรรมดา 32 ขบวน รถรวม 4 ขบวน

 

TU720x100

 

sme 720x100

 

           ทั้งนี้ เพื่ออุดหนุนทางการเงินโดยจ่ายชดเชยผลขาดทุนให้กับ ขสมก. และ รฟท. ในรูปของเงินงบประมาณตามจำนวนส่วนต่างของประมาณการรายได้และต้นทุนการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้ ขสมก. และ รฟท. สามารถให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของ ขสมก. และ รฟท. ในการดำเนินการตามภารกิจ รวมทั้งเป็นการลดค่าครองชีพด้านการเดินทางให้กับประชาชน และกรณีที่ ขสมก. และ รฟท. มีความประสงค์จะปรับปรุงการให้บริการสาธารณะระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ขอให้ ขสมก. และ รฟม. จัดส่งข้อเสนอการปรับปรุงการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาไม่ น้อยกว่า 5 เดือน ก่อนสิ้นปีงบประมาณตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ .. 2554 ข้อ 13 

           2. กรณีการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของ ขสมก. จำนวน 2,279.781 ล้านบาท และ รฟท. จำนวน 3,278.866 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 5,558.647 ล้านบาท เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการหรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 ซึ่งภาระที่รัฐต้องรับชดเชยจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อรวมกับยอดภาระคงค้างที่มีอยู่เดิม วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ยังคงอยู่ในกรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้ยอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

____________________

1รถไฟเชิงสังคม คือ ขบวนรถที่ให้บริการในลักษณะของการบริการสังคม โดยเป็นประเภทรถชั้น 3 และหยุดรับส่งทุกสถานีผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้รถไฟในชีวิตประจำวัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12178

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

 

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!