WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน

GOV8

การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ (กองทุนฯ) ตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ .. .... ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ และให้กระทรวงแรงงาน (สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการฯ รายงานว่า

          1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ที่ไม่เห็นควรให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (มติคณะรัฐมนตรี 20 เมษายน 2564) กระทรวงแรงงาน (รง.) ได้นำความเห็นของคณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ .. .... โดยกำหนดให้โอนกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมาอยู่ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ/กลุ่มแรงงานนอกระบบ1 ทุกกลุ่มอาชีพ และได้เปลี่ยนชื่อ จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบเป็นกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบและ รง. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ .. .... ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งกองทุนฯ ในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รง. ต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

sme 720x100

 

                 1.1 กองทุนฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

1. วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ โดยเงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) รณรงค์ส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

(2) ช่วยเหลือและอุดหนุนกลุ่มแรงงานนอกระบบ หรือองค์กรแรงงานนอกระบบที่จัดตั้งตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ .. .... 

(3) ว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชน หรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

(4) ให้แรงงานนอกระบบกู้ยืมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพ

(5) เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่แรงงานนอกระบบ

(6) ใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ รวมไปถึงค่าเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง

(7) เป็นแหล่งงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานตามความเหมาะสม

2. เป้าหมาย

(1) แรงงานนอกระบบ ซึ่งมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงิน มีทุนกู้ยืมสำหรับการประกอบอาชีพ

(2) มีงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและอุดหนุนหรือว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชนหรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ทั้งมิติโอกาสในการประกอบอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองสภาพการทำงานที่เหมาะสม และการสร้างหลักประกันทางสังคมที่มั่นคง

3. แหล่งเงินทุน

(1) เงินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน (จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน .. 2553 และดำเนินการบริหารกองทุนตามระเบียบกรมการจัดหางาน .. 2559)

(2) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้

(3) เงินอุดหนุนรัฐบาล

(4) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ .. .... 

(5) เงินค่าสมาชิก (สมาชิกกองทุนฯ จ่ายให้

(6) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้

(7) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ

(8) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน

(9) เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของกองทุนหรือที่ได้จากการจัดหารายได้

(10) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือกองทุนได้รับจัดสรรจากกฎหมายอื่น

(11) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด

 

BANPU 580x400

 

                  1.2 ข้อชี้แจงของ รง. ต่อคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับประเด็นความซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติของ รง. ทุนหมุนเวียนอื่น และความยั่งยืนของแหล่งรายได้ของกองทุนฯ

 

ประเด็น

(จากมติคณะรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564)

ข้อชี้แจงของ รง. ต่อคณะกรรมการฯ

1. ความซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติหน่วยงานในสังกัดของ รง.

     (1) สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ)

     (2) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ)

- ภารกิจในการรณรงค์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ ไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ) มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ) มีภารกิจสำคัญในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบเฉพาะกลุ่มที่กฎหมายกำหนดไว้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ กลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน กลุ่มลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม (ได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อมีนายจ้างหรือผู้จัดจ้างงานเท่านั้น)

- ภารกิจการช่วยเหลือและอุดหนุนกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือองค์กรแรงงานนอกระบบที่เสนอแผนงานหรือโครงการและการว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชน หรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านแรงงานนอกระบบจึงไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติ เนื่องจากทุกหน่วยงานในสังกัด รง. ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบจะดำเนินงานโดยหน่วยงานเองไม่มีการช่วยเหลือหรืออุดหนุนให้หน่วยงานอื่นไปดำเนินการหรือว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชนหรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

     (3) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน)

- ภารกิจการให้แรงงานนอกระบบกู้ยืมเพื่อส่งเสริมและสนับสุนนการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ มิใช่การพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่เป็นแรงงานในระบบกู้ยืมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือเท่านั้น

2. ความซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่น

     (1) กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

- ปัจจุบัน รง. ได้กำหนดให้โอนกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมาอยู่ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ .. .... และขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ และได้เปลี่ยนชื่อ จาก กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ เป็น กองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ

     (2) กองทุนประกันสังคม

- การจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นของกองทุนจะเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ตามความเหมาะสมกับความต้องการของแรงงานนอกระบบ และสถานะของกองทุน เช่น การประกันทรัพย์สิน การประกันอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยให้กับบุคคลในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 5 กรณี ได้แก่ ค่าทดแทนขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

3. แหล่งเงินทุน

 

     ประมาณการรายรับและรายจ่ายของกองทุน ดังนี้

     3.1 ประมาณการรายรับของกองทุน ประมาณ 481.95 ล้านบาท

 

รายรับ

จำนวน (ล้านบาท)

 

(1) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (จัดสรรให้ครั้งเดียว จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายในปีแรกที่ยังไม่มีรายได้อื่นเข้ากองทุน)

100.00

 

(2) เงินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

12.90

 

(3) เงินค่าสมาชิก (เก็บปีละ 1 ครั้ง) คนละ 360 บาท/ปี

(ประมาณการจากการเก็บค่าสมาชิกจำนวน 1 ล้านคน)

360.00*

 

(4) เงินดอกผลจากการกู้ยืมกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ร้อยละ 3 ต่อปี)

(ประมาณการจากกลุ่มแรงงานนอกระบบ จำนวน 700 กลุ่ม เงินกู้ยืม 50,000 บาท/กลุ่ม/ปี เงินดอกผล 1,500 บาท/ปี)

1.05

 

(5) เงินดอกผลจากการกู้ยืมแรงงานนอกระบบ (ร้อยละ 3 ต่อปี)

(ประมาณการจากแรงงานนอกระบบ จำนวน 5,000 คน เงินกู้ยืม 20,000 บาท/กลุ่ม/ปี เงินดอกผล 600 บาท/ปี)

3.00

 

(6) เงินค่าปรับ (ประมาณการจาก 100 คดี คดีละ 50,000 บาท)

5.00

 

     3.2 ประมาณการรายจ่ายของกองทุน ประมาณ 247.59 ล้านบาท

 

รายจ่าย

จำนวน (ล้านบาท)

 

(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

(เช่น ค่าสนับสนุนโครงการหน่วยงานต่างๆ เงินกู้ยืมกลุ่มแรงงานนอกระบบ/แรงงานนอกระบบ เงินค่าประกันกลุ่ม เป็นต้น)

245.00

 

(2) ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

2.08

 

(3) ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารกองทุน

0.51

 

* ในการประมาณการเงินค่าสมาชิกซึ่งเป็นรายได้หลักของกองทุนฯ เดิม รง. ได้คาดการณ์ว่าจะมีสมาชิก จำนวน 1 ล้านราย โดยกำหนดเก็บเงินค่าสมาชิกเป็นรายปี คนละ 100 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 100 ล้านบาท และเงินทุนประเดิม จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 พิจารณาแล้วเห็นว่า เงินค่าสมาชิกจำนวนดังกล่าวที่เก็บได้อาจไม่ยั่งยืนทำให้ต้องใช้เงินงบประมาณเป็นรายได้หลัก ต่อมา รง. ได้ปรับเงินค่าสมาชิกเข้ากองทุนและประมาณการเงินค่าสมาชิกอีกครั้ง โดยกำหนดเก็บเงินสมาชิกรายปีคนละ 360 บาท (เป็นราคาที่สำรวจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว เห็นว่ามีความเหมาะสม) รวมเป็นเงิน 360 ล้านบาท ประกอบกับเงินทุนที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านอีกจำนวน 12.90 ล้านบาท และเงินทุนประเดิม จำนวน 100 ล้านบาท พร้อมเงินดอกผลและเงินค่าปรับต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการรายจ่ายของกองทุนฯ ประมาณ 247.59 ล้านบาทแล้ว เห็นว่า เงินรายได้จากค่าสมาชิกจำนวนดังกล่าวสามารถทำให้แผนการดำเนินงานของกองทุนสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

 

หมายเหตุ : แรงงานนอกระบบจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการกู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพและสิทธิประโยชน์อื่นใด ก็ต่อเมื่อแรงงานนอกระบบจ่ายเงินค่าสมาชิกเข้ากองทุนฯ เป็นรายปี

 

 

ais 720x100

 

          2. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ได้พิจารณาวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและแหล่งรายได้ของกองทุนฯ ตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ .. .... แล้วเห็นว่า หากกองทุนฯ สามารถบริหารจัดการแรงงานนอกระบบได้ ก็จะทำให้ไม่เป็นภาระของหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และสวัสดิการสำหรับแรงงานนอกระบบ จึงเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกองทุนฯ โดยมีข้อสังเกต ดังนี้

                 2.1 แผนรายรับของกองทุนฯ ควรมีความชัดเจนและมีแหล่งรายได้ที่แน่นอน พร้อมทั้งจัดทำแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อหาสมาชิกให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

                 2.2 แผนการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จะต้องมีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่น

          3. ไม่ควรกำหนดให้กองทุนฯ เป็นแหล่งเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ ควรดำเนินงานผ่านงบประมาณปกติของหน่วยงาน สำหรับกรณีสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนก็สามารถขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้อยู่แล้ว รวมทั้งการกำหนดให้จ่ายเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เปิดกว้างมาก จึงเห็นควรระบุสิทธิประโยชน์ดังกล่าวให้ชัดเจนจะเหมาะสมกว่า

___________________________

1แรงงานนอกระบบหมายถึง ผู้มีงานทำแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน โดยมีลักษณะการจ้างงานไม่เป็นระบบ ไม่มีสวัสดิการ รายได้ไม่แน่นอนและไม่ต่อเนื่อง กลุ่มแรงงานนอกระบบหมายถึง แรงงานนอกระบบที่รวมกลุ่มตามลักษณะอาชีพ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12172

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

TU720x100

QIC 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!