WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

GOV2 copy copy

สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ดังนี้ 

          ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 1.68 หลังจากที่หดตัว ร้อยละ 0.02 ในเดือนก่อน โดยปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัวยกเว้นสินค้ากลุ่มอาหารสดที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไขไก่ที่ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมากแต่แนวโน้มราคาเริ่มลดลงตามลำดับ

          เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน อาทิ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้ามูลค่าการส่งออกสินค้า รายได้เกษตรกร ดัชนีผลผสิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งยังสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ชี้ว่าราคาสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในระยะต่อไป ยังมีแรงส่งจากราคาสินค้าในภาคการผลิตบางชนิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป

          เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY) เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 0.07 ในเดือนก่อน

          เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.59 (MoM) ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.70 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (QQ) และเฉลี่ย 9 เดือน (..- ..) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (AoA)

 

sme 720x100

เจนเนอราลี่

 

          2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564

          เงินเฟ้อในไตรมาสสุดท้ายของปี หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มเติม จะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสำคัญจาก 1) แนวโน้มราคาน้ำมันยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราเพิ่มที่น้อยกว่าช่วงที่ผ่านมา 2) แนวโน้มสถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามลำดับ และ 3) แนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดอาหารสดบางชนิด โดยเฉพาะ ข้าว ผักสดและผลไม้สด ยังคงมีแนวโน้มต่ำกว่าปีก่อนและมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ขณะที่สถานการณ์โควิดยังคงเป็นความเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการพื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ

          ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดกรณ์เงินเฟ้อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 + 0.2 หรืออยู่ในช่วงร้อยละ 0.8-1.2

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12170

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!