ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Friday, 10 December 2021 12:48
- Hits: 7060
ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โดยในส่วนค่าชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ให้ กษ. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
- เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในกรณีที่ราคายางตกต่ำ ในช่วงวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 - เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง |
||||||||||||
เป้าหมาย |
เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน1,880,458 ราย (พื้นที่สวนยางกรีดได้ 19.16 ล้านไร่) แบ่งได้ ดังนี้
|
||||||||||||
หลักเกณฑ์ และข้อกำหนด ของโครงการ |
1) เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ 2) กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ 2.1) ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ [ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดีและน้ำยาง (DRC 100%)] 2.2) ผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ [ได้แก่ ยางก้อนถ้วย (DRC 50%)] 3) กำหนดเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = [ราคายางที่ประกันรายได้ (ก) - ราคากลางอ้างอิงการขาย (ข)] X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง (ค) (ก) ราคายางที่ประกันรายได้ ดังนี้ 1) ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม 2) น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม 3) ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม (ข) ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนด ราคากลางอ้างอิง ประกาศทุก 1 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SGX, TOCOM, เซี่ยงไฮ้และปัจจัยอื่นๆ (ค) ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง หมายถึง ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) 4) แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด |
||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินการ |
วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 (ประกันรายได้เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565) |
||||||||||||
งบประมาณ |
กษ. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้ 1) งบประมาณสำหรับประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 9,783.61 ล้านบาท 2) งบประมาณสำหรับชดเชยต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาส บวก 1 (ปัจจุบันอัตราต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาสเท่ากับ 1.0) ภายในวงเงินไม่เกิน 195.68 ล้านบาท 3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมโอนเงิน ธ.ก.ส. ให้เกษตรกรชาวสวนยาง 5 บาทต่อราย จำนวน 9.4 ล้านบาท 4) งบบริหารโครงการ จำนวน 77 ล้านบาท (ทุกรายการถัวจ่ายตามจริง) |
||||||||||||
แหล่งที่มางบประมาณ |
1) งบประมาณประกันรายได้ใช้เงินทุน ธ.ก.ส. สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน และให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีถัดๆ ไป ตามขั้นตอนต่อไป โดยรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการทั้งหมดภายใน 5 ปี ปีละ 1,900 ล้านบาท ยกเว้นปีที่ 5 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมด (2,183.61 ล้านบาท) 2) ค่าบริหารจัดการโครงการ โดยให้ กยท. เสนอขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ 2565 |
2. มอบหมายให้ กษ. โดย กยท. หารือกับกระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ให้ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤศจิกายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12166