WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การจัดทำแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023)

GOV4 copy

การจัดทำแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (.. 2021-2023)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (.. 2021-2023) โดยหากมีการแก้ไขร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (.. 2021-2023) ที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง พร้อมให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (.. 2021-2023) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. ร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส (.. 2021-2023) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสในระยะ 3 ปี โดยเน้นความร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้บริบทสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติของไทย การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ภายในปี 2566

 

BANPU 720x100

 

          2. ร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส (.. 2021-2023) ระบุความร่วมมือใน 4 ส่วนพร้อมภาคผนวกที่ระบุกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการ ได้แก่

                 2.1 ส่วนที่ 1 การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง โดยยึดมั่นในหลักการอธิปไตยและความเป็นเอกราช พหุภาคีนิยม และระเบียบระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎหมาย และมุ่งขยายความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะการต่อต้านภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ตลอดจนความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ทางถนน

                 2.2 ส่วนที่ 2 การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะในสาขาหลัก อาทิ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) เมืองอัจฉริยะ โครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม เศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม (innovative economy) และเศรษฐกิจดิจิทัล

 

QIC 720x100

 

                 2.3 ส่วนที่ 3 การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน โดยจะกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และเน้นความสำคัญที่การให้คนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อสร้างสังคมที่ฟื้นตัวได้เร็ว ยั่งยืนและเท่าเทียม

                 2.4 ส่วนที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับ ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศในประเด็นเร่งด่วน อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางสุขภาพ ความปลอดภัยอาหารและความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสมอภาคระหว่างเพศ

          ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดการลงนามร่างแผนการ (Roadmap) ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN-G7 Foreign Ministers’ Meeting) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2564 เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12156

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

TU720x100

sme 720x100

ais 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!