WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง

GOV

ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมจาก 13 ประเทศสมาชิก ประเทศผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนจาก 4 องค์กรสมาชิก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการประชุมฯ

                 1.1 การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้งกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง และต้อนรับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ โดยที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

1. การบริหารจัดการน้ำ

 

ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และยินดีที่ MRCS เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทของกลุ่มฯ ในประเด็นดังกล่าว

2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข

 

3.1 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทันท่วงที รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขในอนุภูมิภาคฯ เช่น การแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติด้านการป้องกัน กักกัน และรักษาโรคติดเชื้อ

3.2 ไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดในอนาคต

4 ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

4.1 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคฯ การส่งเสริมความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมการฟื้นฟูของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย

การพัฒนาดิจิทัลและการสนับสนุนการดำเนินการผ่านกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน

4.2 ไทยได้นำเสนอรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

5. ด้านความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น

 

ไทยเสนอให้มีการจัดทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมและสอดประสานกับกรอบความร่วมมืออื่นๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะอาเซียนและยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ซึ่งที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับแนวทางการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือดังกล่าว

 

                  1.2 ที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงข่าวร่วมกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงโดยเปลี่ยนชื่อเอกสารจากเดิมคือ ถ้อยแถลงร่วมกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง

          2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มฯ ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ เช่น การสนับสนุนการวางแผนลุ่มน้ำเชิงรุกและข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในอนุภูมิภาคฯ เพื่อบรรลุการใช้น้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน การสนับสนุนบทบาทของ MRC ในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและความร่วมมือข้ามพรมแดน การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ BDS และการเดินหน้ากระชับความร่วมมือในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน จึงต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11929

Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J

GC 720x100TU720x100

 

 

sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!