ผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 05 December 2021 21:20
- Hits: 3242
ผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ครั้งที่ 2 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 6 ประเทศและ 1 องค์กร
ผลการประชุมฯ
1. ที่ประชุมฯ เห็นว่าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายข้ามพรมแดน เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความท้าทายดังกล่าว โดยแผนปฏิบัติการฯ จะช่วยกำหนดทิศทางของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ในระยะเวลา 3 ปี และความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|
1. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข |
ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทันท่วงที และการเพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งปันข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ |
|
2. การฟื้นฟูเศรษฐกิจ |
ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาดิจิทัลและการส่งเสริมขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs) |
|
3. ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม |
ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนผ่านการใช้ประโยชน์จากหุ้นส่วนพลังงานลุ่มน้ำโขงญี่ปุ่น-สหรัฐฯ |
|
4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
ที่ประชุมฯ เห็นว่าเป็นความร่วมมือที่เป็นจุดเด่นและสนับสนุนให้สานต่อความร่วมมือดังกล่าวต่อไป รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทเยาวชนและสตรี |
|
5. ความมั่นคงรูปแบบใหม่ |
เมียนมา ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อรับมือกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและการลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมายข้ามพรมแดน |
|
และ 6. ความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น |
2. สหรัฐอเมริกาย้ำความประสงค์ที่จะเข้ามามีบทบาทในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยได้เปิดตัวโครงการสำคัญในแต่ละสาขาความร่วมมือของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ดังนี้
(๑) โครงการ USAID Mekong Safeguards (สาขาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ) เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(๒) โครงการ Mekong Water Data Initiative (สาขาทรัพยากรธรรมชาติ) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
(๓) โครงการ Mekong-U.S. Partnership Track 1.5 Policy Dialogue Series (สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและแบ่งปันข้อมูลความรู้ของทุกภาคส่วนในหัวข้อต่างๆ
(๔) โครงการ Pathfinder Health Program (สาขาความมั่นคงรูปแบบใหม่) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโรคระบาดในอนาคตด้วยการให้ทุนศึกษาวิจัยแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข
กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ เป็นการติดตามความคืบหน้าและพิจารณาแนวทางการดำเนินความร่วมมือร่วมกันในอนาคตของประเทศสมาชิก ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ เช่น การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ การสนับสนุนแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันในลุ่มน้ำโขงที่เหมาะสม การส่งเสริมความร่วมมือด้านการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และการสนับสนุนความร่วมมือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 พฤศจิกายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11928