โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 – ปี 2570)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 13 November 2021 23:30
- Hits: 11068
โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 – ปี 2570)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอดังนี้
1. โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - ปี 2570) (โครงการสำคัญฯ) จำนวน 406 โครงการ
2. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญฯ
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ รายงานว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ได้พิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการสำคัญฯ ดังนี้
1. โครงการสำคัญฯ
1.1 สศช. ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - ปี 2570) (แผนแม่บทฯ) (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.1) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.2) และหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับแผนย่อย (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.3) รวมทั้งทุกหน่วยงานของรัฐในระดับกรมหรือเทียบเท่า ในฐานะหน่วยปฏิบัติซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำโครงการสำคัญฯ ตามแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในห้วงระยะเวลาที่เหลือของยุทธศาสตร์ชาติ เป็นการดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้อย่างแท้จริง ยึดหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล(Causal Relationship: XYZ) และวงจรนโยบาย (Policy cycle)1 นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำโครงการสำคัญในแต่ละปีงบประมาณในห้วงปี 2566 - 2570 ที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2570 ซึ่งเป็นห้วงที่ 2 ของการดำเนินการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยยึดแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย (1) การมองเป้าหมายร่วมกัน (2) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและจัดทำข้อเสนอโครงการสำคัญ (3) การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการ และ (4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Online) ในระหว่างช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2564
1.2 หน่วยงานของรัฐนำเข้าข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และผ่านการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (M7)2 จำนวนทั้งสิ้น 3,039 โครงการ โดย สศช. และหน่วยงานเจ้าภาพ จ.1 จ.2 และ จ.3 ประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญฯ3 ตามหลักเกณฑ์ที่ สศช. กำหนด ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทางสถิติ อาทิ การใช้เกณฑ์ค่าความเห็นพ้องของผู้ประเมิน การปรับคะแนนตามค่ามาตรฐาน และการถ่วงคะแนนด้วยค่าน้ำหนักของแต่ละเป้าหมายแผนแม่บทย่อยตามความสำคัญ/เร่งด่วน โดยได้โครงการสำคัญฯ ที่ผ่านการประเมินจำนวนทั้งสิ้น 406 โครงการ ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของโครงการสำคัญฯ จะต้องนำโครงการสำคัญฯ ไปบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานร่วมกับการดำเนินงานตามภารกิจปกติอื่นๆ และดำเนินการตามกระบวนการขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป นอกจากนี้ มีเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ไม่มีโครงการสำคัญฯ มารองรับจำนวนทั้งสิ้น 45 เป้าหมาย จาก 140 เป้าหมาย อาทิ เป้าหมายการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น เป้าหมายคุณภาพชีวิต ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และความเสมอภาคทางสังคมได้รับการยกระดับเพิ่มขึ้นจากผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม เป้าหมายสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตร และสหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานเจ้าภาพ จ.3 จะต้องพิจารณาจัดทำโครงการให้ครอบคลุมทั้ง 140 เป้าหมายต่อไป
2. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญ
สศช. ได้นำข้อสังเกตจากการดำเนินการตามแนวทางในข้อ 1 มาจัดทำเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง โดยแนวทางการขับเคลื่อนดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||||||
2.1 แนวทางที่ 1 การมองเป้าหมายร่วมกัน |
หน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานต่างๆ ต้องวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย จากภารกิจของหน่วยงานและข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่ผ่านมาภายใต้เป้าหมายแผนแม่บทย่อยในระบบ eMENSCR เพื่อไปสู่การมองเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันประสานและขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการในทิศทางเดียวกัน |
|||||||||||||||||
2.2 แนวทางที่ 2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย และการจัดทำข้อเสนอโครงการสำคัญฯ |
• สศช. จัดทำคู่มือโครงการสำคัญฯ และปฏิทินขับเคลื่อนกระบวนการจัดทำโครงการสำคัญฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ที่กำหนดให้ยึดแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป • หน่วยงานจัดทำและปรับข้อเสนอโครงการสำคัญฯ บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นไปตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) และสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยทั้ง 140 เป้าหมาย แผนแม่บทย่อยภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ฉบับแก้ไขปี 2566) และมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป • ทุกหน่วยงานของรัฐเสนอโครงการสำคัญฯ ผ่านระบบ eMENSCR ให้ทันกรอบระยะเวลาการดำเนินการ |
|||||||||||||||||
2.3 แนวทางที่ 3 การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการสำคัญฯ |
• หน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานต่างๆ และหน่วยงานผู้มีสิทธิ์ประเมินให้คะแนนโครงการสำคัญฯ ต้องดำเนินการ ดังนี้ (1) ศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการประเมิน (2) เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินให้คะแนนอย่างเที่ยงตรงและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ |
|||||||||||||||||
2.4 แนวทางที่ 4 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ |
• ทุกหน่วยงานดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ดังนี้ (1) จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (2) สิ้นปีงบประมาณให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี • ทุกหน่วยงานของรัฐต้องนำเข้าและรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการในระบบ eMENSCR ดังนี้
|
|||||||||||||||||
2.5 การจัดสรรงบประมาณ |
มอบหมาย สงป. ดำเนินการ ดังนี้ • พิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ ในลักษณะงบประมาณพิเศษ หรืองบประมาณแบบบูรณาการ • ใช้ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยฯ (ฉบับแก้ไขปี 2566) เพื่อประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป ซึ่งต้องครอบคลุมทุกปัจจัยและองค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย |
3. มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
เห็นชอบโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญฯ
_______________________
1เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ใด้อย่างเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง จัดทำและปรับปรุงข้อมูล สถิติ สถานการณ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดทำนโยบาย
2ลำดับการอนุมัติ (M7) ในระบบ eMENSCR โดยการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบดังกล่าวล้วนต้องผ่านการอนุมัติข้อมูลตามลำดับขั้น (M7) เพื่อยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
3มีหน่วยงานที่ไม่ได้ดำเนินการประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ได้แก่ สำนักงบประมาณ (สงป.) ในฐานะหน่วยงานผู้มีสิทธิ์ประเมินให้คะแนนโครงการสำคัญฯ และสำนักงาน ก.พ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพ จ.3
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11386
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ