การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 13 November 2021 23:09
- Hits: 10199
การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอ และให้ สศช. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติรายงานว่า
1. เพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐสามารถบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่นๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องมีกลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ตามหลักวงจรนโยบาย (Policy Cycle)1 เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis)2 เชิงนโยบายและช่องว่างการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมาย การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปโดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
การดำเนินการ |
กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
|
กำกับให้การดำเนินงานส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม |
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 |
|
- จัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป็นแผนระยะ 5 ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี (ทุกปีงบประมาณ) |
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
|
- จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเมื่อสิ้นปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรี - รายงานผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR3) |
ระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 |
อย่างไรก็ตาม การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบันยังขาดการบูรณาการ และไม่ได้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเดียวกันอย่างเป็นระบบจึงยังไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ รวมทั้งแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยยึดหลักการบริหารงานคุณภาพ (PLAN DO CHECK ACT : PDCA) ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับขั้นตอนการตรวจสอบ (CHECK) และการปรับปรุงการดำเนินการ (ACT) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ ช่วยควบคุมและพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีการวางแผน ป้องกันการเกิดปัญหา เกิดการตรวจสอบอย่างเป็นระยะเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
2.1 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Check) อย่างบูรณาการเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 โดยใช้ระบบ eMENSCR เป็นเครื่องมือกลางในการดำเนินการซึ่งแนวทางการดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง [หน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจราชการระดับต่างๆ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ระดับต่างๆ คณะกรรมการระดับชาติ สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช.] สรุปได้ ดังนี้
1) การดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง |
การดำเนินการ |
||||||||||||
การจัดทำแผน |
การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (การติดตามฯ) โดยใช้ข้อมูล จากระบบ eMENSCR |
การจัดทำและรายงานผลสัมฤทธิ์ในระบบ eMENSCR (รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ) |
|||||||||||
1) หน่วยงานของรัฐ |
จัดทำแผนระดับที่ 3 โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี และรายปี |
• นำเข้าข้อมูลในระบบต่างๆ ดังนี้
• เร่งรัดกระบวนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน |
รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ • โครงการ/การดำเนินงาน (ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดไตรมาส) • แผนปฏิบัติราชการ - แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี : เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผน - แผนปฏิบัติราชการรายปี : ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณถัดไป • แผนหรือโครงการ/งานวิจัย (หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ) |
||||||||||
2) ผู้ตรวจราชการ ระดับต่างๆ - สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) - กระทรวง - กรม |
นร. : จัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากระบบ eMENSCR และรายงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ |
กระทรวง : ติดตามฯ โครงการ/การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนี้ - เป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ และแผนการตรวจราชการกระทรวง (ในฐานะหน่วยงานของรัฐ) - เป้าหมายแผนแม่บทฯ (ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ) กรม : การติดตามฯ ตามแผนปฏิบัติราชการกรม |
รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณถัดไป |
||||||||||
3) ค.ต.ป. ระดับต่างๆ - ค.ต.ป. - คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มกระทรวง (อ.ค.ต.ป.) - ค.ต.ป. กระทรวง |
ค.ต.ป. : จัดทำแผนการตรวจสอบและประเมินผลประจำปี4 |
ติดตามฯ การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน ดังนี้ - แผนการตรวจสอบ และประเมินผลประจำปี (อ.ค.ต.ป. และ ค.ต.ป. กระทรวง) - แผนปฏิบัติราชการ (ค.ต.ป. กระทรวง) โดยมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. ประสานงานกับ ค.ต.ป. ระดับต่างๆ ตามแนวทางการดำเนินการดังกล่าว |
รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณถัดไป |
||||||||||
4) คณะกรรมการ ระดับชาติ |
จัดทำแผนปฏิบัติการด้าน ... ตามที่กฎหมายกำหนด5 |
ติดตามฯ การดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการด้าน... ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการระดับชาติตามที่กฎหมายกำหนด |
ฝ่ายเลขานุการรายงานผลสัมฤทธิ์ฯ การดำเนินงานของแผนปฏิบัติการด้าน... เป็นรายปีให้สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนแม่บทฯ |
||||||||||
5) สงป. |
- |
ติดตามฯ การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงานรัฐ โดยใช้ข้อมูลความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของหน่วยงานแต่ละไตรมาสจากระบบ eMENSCR |
รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ รายไตรมาส |
||||||||||
6) สศช. |
- |
ติดตามฯ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและพัฒนาระบบ eMENSCR ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) รองรับการรายงานผลสัมฤทธิ์ |
รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ประจำปี |
2) กลไกตาม 1) ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (CHECK) เพื่อให้การดำเนินการในแต่ละระดับบรรลุตามเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และแผนอื่นๆ ดังนี้
การขับเคลื่อนประเทศ |
หน่วยงานรับผิดชอบ |
ยุทธศาสตร์ชาติ |
• สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ : รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและประเมินสถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย |
กลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล + รายงานผลสัมฤทธิ์ผ่านระบบ |
|
แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ |
• ผู้ตรวจราชการ นร. • สศช. : รายงานสรุปผลฯ • ค.ต.ป./อ.ค.ต.ป. และประเมินสถานการณ์ • สงป. การบรรลุเป้าหมาย |
แผนระดับที่ 3 |
• คณะกรรมการระดับชาติ (แผนปฏิบัติการด้าน...) • ผู้ตรวจราชการ นร. • อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวงคณะต่างๆ |
โครงการ/พื้นที่ |
• ผู้ตรวจราชการกระทรวง/กรม • ค.ต.ป. ประจำกระทรวง • หน่วยงานของรัฐ |
2.2 การปรับปรุงการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Act) โดยวิเคราะห์และประมวลผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของกลไกระดับต่างๆ เพื่อนำไปทบทวน ปรับปรุงแก้ไข แนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล รวมถึงพัฒนาและยกระดับกระบวนการการดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง |
แนวทางการดำเนินการ |
|
1. หน่วยงานของรัฐ |
นำรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาวิเคราะห์ช่องว่าง ของการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมายระดับต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และแผนอื่นๆ |
|
2. สศช. |
วิเคราะห์ช่องว่างและประเมินสถานการณ์ของการดำเนินงานต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวม เพื่อเป็นข้อมูลและกรอบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลของกลไกต่างๆ |
|
3. สงป. |
นำรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนาต่างๆ |
|
4. กลไกการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการทุกระดับ |
วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การดำเนินการตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติจากระบบ eMENSCR และรายงานสรุปผล เพื่อทบทวน ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล |
________________________
1ประกอบด้วย 1) การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) 2) การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) 3) การตัดสินนโยบาย (Policy Decision) 4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) และ 5) การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)
2Gap analysis คือ การประเมินสถานการณ์ของหน่วยงาน ณ ปัจจุบันกับเป้าหมายของแผนที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานจะต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) : องค์ประกอบ/ปัจจัย/กิจกรรม/กระบวนการ ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงาน (ต้นทาง) ไปจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการการดำเนินงาน (ปลายทาง) ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท ฯ และแผนอื่นๆ ได้ตามที่กำหนด ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญ (Key Factors) ในบริบทของการขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนที่เกี่ยวข้อง
3Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform (eMENSCR)
4ใช้ข้อมูลช่องว่างการพัฒนาของห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand : FVCT) ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทฯ ย่อย (Y1) สถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย รายงานประจำปีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และข้อมูลจากระบบ eMENSCR
5แผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน... จำแนกออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ (1) แผนที่ไม่ได้จัดทำขึ้นตามมติคณะกรรมการระดับชาติที่มีกฎหมายรองรับ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดให้จัดทำแผน : การจัดทำแผนจะต้องมีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น (2) แผนที่จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีมติคณะกรรมการระดับชาติรองรับ : หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมีการทบทวนกฎหมายที่กำหนดให้จัดทำแผน และมีการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเป็นแผนปฏิบัติการเดียวอย่างบูรณาการ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน... ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 อย่างเคร่งครัด
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11384
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ