WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การติดตามการดำเนินนโยบายต่างๆ ของส่วนราชการโดยใช้กลไกประชารัฐ ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน

GOV 7

การติดตามการดำเนินนโยบายต่างๆ ของส่วนราชการโดยใช้กลไกประชารัฐ ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ... เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบให้ใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นระบบหลักในการรายงานและติดตามผลการดำเนินการของส่วนราชการตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาล รวมถึงการดำเนินนโยบายต่างๆ ของส่วนราชการ โดยใช้กลไกประชารัฐตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน ต่อไป

          2. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 (เรื่อง กลไกประชารัฐ) เฉพาะในส่วนของข้อ 2 ที่มอบหมายให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าการใช้กลไกประชารัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายต่างๆ ทุกเดือน โดยให้ทุกส่วนราชการส่งรายงานให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป

          3. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (เรื่อง การทบทวนภารกิจรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี) เฉพาะในส่วนของข้อ 1 ที่มอบหมายให้สำนักงาน ... รวบรวมและสรุปประมวลผลการรายงานความก้าวหน้าในเรื่องกลไกประชารัฐและการดำเนินงานไทยนิยม ยั่งยืน ต่อนายกรัฐมนตรี

และให้สำนักงาน ... และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สำนักงาน ... รายงานว่า

          1. สำนักงาน ... ได้จัดทำระบบการรายงานออนไลน์เพื่อให้ส่วนราชการใช้รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการใช้กลไกประชารัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล รวมถึงการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน โดยจัดทำสรุปและประมวลผลจากรายงานความก้าวหน้าของส่วนราชการในเรื่องดังกล่าว กราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว ทั้งนี้ ระบบการรายงานดังกล่าว ส่วนราชการสามารถรายงานผลในภาพรวมระดับกระทรวง ประกอบด้วย ข้อมูลรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม งบประมาณ และสรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ (รอบ 2 เดือน) ใน 12 ประเด็นตามกลไกการขับเคลื่อนประชารัฐ ได้แก่ 1) การยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ 2) การดึงดูดการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 3) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และธุรกิจใหม่ (Start-up) 4) การยกระดับคุณภาพวิชาชีพ 5) เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ 6) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและกลุ่ม MICE 7) การส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ 8) การพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมที่เป็น New S Curve 9) การแก้ไขกฎหมายและกลไกภาครัฐ 10) การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ 11) การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาความรู้ และ 12) การสร้างรายได้และกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศและกรอบหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืนตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

          2. เจตนารมณ์ของการให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินนโยบายต่างๆ โดยใช้กลไกประชารัฐและโครงการไทยนิยม ยั่งยืน คือการสร้างความตระหนักให้ส่วนราชการใช้กลไกประชารัฐเป็นกลไกกลางในการสร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มการจ้างงานสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถของภาคประชาชนและประชาสังคม และชุมชนอยู่ดี มีสุข ซึ่งต่อมายุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) ได้นำหลักการของกลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน มาเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบประชารัฐ” (เช่น ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ข้อ 4.4.3 เพิ่มพื้นที่เมืองและเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเป็นแรงขับเคลื่อนการยกระดับจังหวัดสำคัญเป็นเมืองเศรษฐกิจประจำภาคและยุทธศาสตร์ชาติด้านปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ) นอกจากนี้ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ได้มีการนำหลักการของกลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืนมาขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วย (เช่น แผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะทุกระดับและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน)

 

hino2021

 

          3. จากความเชื่อมโยงดังกล่าวข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นว่า ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศได้ดำเนินการบนพื้นฐานของการใช้กลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน ประกอบกับส่วนราชการได้ตระหนักในการนำกลไกประชารัฐมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจมากขึ้น รวมถึงใช้เป็นกลไกหลักสำคัญที่ทำให้การแก้ไขสถานการณ์วิกฤตต่างๆ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกที่มีการนำมาใช้อยู่เสมอจนเป็นแนวปฏิบัติปกติที่ส่วนราชการใช้ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกได้บรรลุผล นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีการประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2562) รับทราบ ซึ่ง มท. จะนำผลการประเมินดังกล่าวมาเป็นแนวทางขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป จึงถือได้ว่าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว

          4. ปัจจุบันได้มีระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)* ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งนโยบายรัฐบาล โดยส่วนราชการได้รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบดังกล่าวเป็นรายไตรมาสได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อมูลการดำเนินงานตามแผน/โครงการและสามารถแสดงความเชื่อมโยงและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และภาคประชาชน) ที่ครอบคลุมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินนโยบายต่างๆ โดยใช้กลไกประชารัฐตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน แล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรลดภาระในการรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถขับเคลื่อนปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อบูรณาการช่องทางในการรายงานผลของส่วนราชการในช่องทางเดียว โดยให้ใช้ระบบ eMENSCR เป็นระบบหลัก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

หมายเหตุ : * สำนักงาน ... ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า สศช. มีระบบ eMENSCR สำหรับการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งนโยบายรัฐบาล รวมทั้งได้มีการประมวลผลการดำเนินการที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่แล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11383

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!